เที่ยวระนอง แวะชิมอาหารปักษ์ใต้แท้ๆ กับร้านชื่อแปลก ‘ร้านโรงกลวง ถอดรองเท้า’

ไปเที่ยวระนอง ต้องห้ามพลาดชิมอาหาร ร้านถอดรองเท้า เห็นบ้านๆแต่ร้านดังเมืองระนองนะจ๊ะ มีความเก๋คือเมื่อก่อนต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าไปกิน เลยกลายมาเป็นชื่อร้าน เมื่อเดินผ่านเข้าไปหลังบ้านจะเจอที่นั่งกิน เหมือนทะลุมาอีกโลกนึงเลย

เห็นหน้าร้านบ้านๆ แต่ขอบอกว่าร้านดังนะจ๊ะ
ลูกค้าต้องเดินทะลุร้าน ผ่านครัวกันแบบนี้เลย
ที่นั่งกินหลังร้าน บรรยากาศปลอดโปร่ง
เห็นหน้าร้านแบบนั้น ใครจะคิดว่าหลังร้านจะเป็นแบบนี้!!

อาหารปักษ์ใต้แท้ๆ อร่อยทุกอย่าง รสมือจัดจ้าน จานเด็ดคือสะตอผัดกุ้ง ใครไปแล้วต้องลอง ค่าเสียหายก็ย่อมเยาว์ สรุปเลยว่าทั้งอร่อยและถูก!

สะตอผัดกุ้ง เมนูเด็ดที่สั่งกันแทบทุกโต๊ะ อร่อยลืมกลิ่นไปเลย
ยำผักกูด น้ำยำดีมาก ผักสดมาก
ปูนิ่มผัดพริกไทยดำ ปูสดมาก เครื่องเทศก็จัดจ้าน ถึงเครื่อง
ปลาผัดคื่นช่าย เนื้อปลาสด หวาน อร่อย
ปลานึ่ง
สั่ง 5 อย่างรวมข้าว+เครื่องดื่ม ค่าเสียหายแค่ 1300฿

 

ใครไปเที่ยวระนอง อย่าลิมไปชิมความอร่อยกันที่ร้าน พิกัด ชุมชนโรงกลวง อยู่ริมกำแพงจวนเมืองเก่าระนอง ถ.กิจผดุง ต.เขานิเวศน์ เทศบาลเมืองระนอง

 

คำเตือน!! ไปแรกๆก็จะงงๆหน่อย เอ๊ะ!นี่บ้านคนหรือยังไง หรือมาผิดร้านหรือเปล่า เอ๊ะปิดหรือยัง แต่นี่แหละเสน่ห์ของร้านเขาล่ะ

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก -มะลิแม่แก้วแก้ว-

แคสเปอร์สกี้ แลป เผยคู่รักยุคดิจิทัล 55% ทะเลาะกันเรื่องการใช้งานดีไวซ์มากเกินไป

ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน คู่รักใช้ดีไวซ์ในการติดต่อสานสัมพันธ์รักเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ดี จากการค้นคว้าล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง A Digital Kingdom for Two: Securing a Shared Online World พบว่า การพึ่งพาดีไวซ์ไม่ได้มีแต่ข้อดีเท่านั้น หากยังมีข้อเสียอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น คู่รักจำนวน 55% ทะเลาะกันเรื่องการใช้งานดีไวซ์มากเกินไป แสดงให้เห็นว่า นอกจากดีไวซ์จะช่วยให้คู่รักใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนผลักไสให้ความสัมพันธ์สั่นคลอนได้อีกด้วย

 

การค้นคว้าระบุว่า ผู้ใช้จำนวน 8 ใน 10 คนมักติดต่อสื่อสารกับคู่รักออนไลน์อยู่เสมอเมื่อต้องอยู่ห่างกัน ผู้ใช้จำนวน 62% เห็นด้วยว่าการสื่อสารผ่านดีไวซ์และอินเทอร์เน็ตช่วยให้รู้สึกใกล้ชิดกับคู่รักมากขึ้น โดยเฉพาะคู่รักที่ไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน (75%)

 

คู่รักยุคดิจิทัลยังเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยการใช้ดีไวซ์ร่วมกัน ผู้ใช้จำนวน 53% ระบุว่าความสัมพันธ์ดีขึ้นตั้งแต่มีกิจกรรมออนไลน์ร่วมกัน เช่น ใช้แอคเค้าท์ร่วมกัน เป็นต้น แต่การค้นคว้าพบว่า การใช้งานดีไวซ์สามารถทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งได้ ซึ่งเกิดจากการใช้งานมากไป หรือเกิดเหตุร้ายเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์

 

ยกตัวอย่างเช่น คู่รัก 51% ทะเลาะกันเรื่องใช้ดีไวซ์ระหว่างรับประทานอาหารหรือระหว่างที่พูดคุยกัน ผู้ใช้มากกว่าครึ่ง (55%) ทะเลาะกันเรื่องให้เวลากับดีไวซ์มากเกินไป ซึ่งชี้ให้เห็นว่า คู่รักไม่อยากถูกละเลยและต้องการให้อีกฝ่ายสนใจเมื่อใช้เวลาอยู่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังโต้เถียงกันเรื่องการสลับกันใช้งานดีไวซ์ (25%) การลืมชาร์จไฟ (45%) และการทำดีไวซ์สูญหาย (28%)

 

สำหรับประเด็นเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ คู่รักจำนวน 24% ระบุว่าทะเลาะกันเมื่ออีกฝ่ายทำดีไวซ์ติดมัลแวร์ คู่รัก 19% โต้เถียงกันเมื่ออีกฝ่ายสูญเงินออนไลน์จากมัลแวร์หรือจากความผิดพลาดของตัวเอง

 

ดีมิทรี เอลชิน รองประธานฝ่ายการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ บริษัท แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ความสามารถของดีไวซ์สมัยใหม่ได้สร้างโอกาสให้คู่รัก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ หรือการสร้างความสัมพันธ์แม้ว่าจะอยู่ห่างกัน แต่ก็ต้องไม่ลืมนึกถึงข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น จึงควรใช้งานดีไวซ์โดยนึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายด้วย”

ICDL เข้าพบหารือ TPQI เดินหน้าต่อเนื่อง หลังประเมินทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL ให้แก่ภาครัฐ 12,000 คน

ทีน่า วู ผู้จัดการทั่วไป ICDL ภูมิภาคเอเชีย  ตัวแทน The International Computer Driving License (ICDL) หรือวุฒิบัตรรับรองความสามารถด้านทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล เข้าพบ นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อกระชับการทำงานร่วมมือกันอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง   ตามรอยนโยบายยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลด้านการพัฒนากำลังคน สำหรับภาครัฐ การศึกษาและเอกชน ด้วยการประเมินสมรรถนะความสามารถในการด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) ด้วยวุฒิบัตรมาตรฐานสากล ICDL เพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล

 

ระบบการทดสอบออนไลน์วุฒิบัตรมาตรฐานสากล ICDL เป็นเครื่องมือประเมินทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สำนักงาน กพ.และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล  ซึ่งได้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 บัดนี้ได้ดำเนินการประเมินทักษะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ให้แก่ข้าราชการ บุคลากรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน กว่า 12,000 คน และได้รับการตอบรับที่ดีประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยมีบุคลากรเข้าร่วมจากกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสากิจและองค์การมหาชน จากกว่า 300 หน่วยงาน และจะมีการดำเนินการประเมินอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

ทั้งนี้ในระยะต่อไปปี 2561 นี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นอกจากจะสนับสนุนให้กับบุคลากรภาครัฐเช่นที่ผ่านมาแล้ว ยังได้ขยายการสนับสนุนการสอบประเมินทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL  ให้แก่นักเรียน นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ อีกด้วย

 

ผลจากการประเมินทักษะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ทำให้องค์กรและสถาบันต่างๆทราบว่าสมรรถนะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรในองค์กรอยู่ในระดับใด และนำไปวางแผนในการพัฒนาบุคลากรต่อไป อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้แต่ละบุคคลเกิดการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัลอย่างถูกวิธีต่อไป วุฒิบัตรมาตรฐานสากล ICDL มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วยในการพัฒนายกระดับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับคนไทย ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศไทย สู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน

ร้านเด็ดสิงคโปร์ ฟินปูก้ามโต Chilli crab ที่ Jumbo Seafood

ไปเยือนสิงคโปร์ทั้งที จะพลาดของอร่อยได้อย่างไร! วันนี้ Thailandindy ขอพาไปชิมสุดยอดเมนูที่ต้องไปกินบนเกาะสิงคโปร์ เพราะนอกจากข้าวมันไก่แล้ว ก็ต้องลอง ปูผัดพริก หรือ Chilli crab ที่เป็นของเด็ดของดี ที่คนรักปูไม่ควรพลาด ว่าแล้วก็ไปชิมกันเลย!!

Jumbo Seafood @The Riverwalk

ที่ตั้ง: 20 Upper Circular Road #B1-48 The Riverwalk, Singapore 058416

เบอร์โทรศัพท์: +65 6534 3435

การเดินทาง: นั่ง MRT มาลงสถานี Clarke Quay ออก Exit The Central ร้านอยู่ริมแม่น้ำที่ Clark Quay

ขอแนะนำว่าต้องจองล่วงหน้าผ่านเว็บของร้านกันไปก่อนนะจ๊ะ ไม่งั้นไปแล้วอาจพลาดเพราะโต๊ะเต็ม โดยเฉพาะมื้อเย็น

ถึงแล้วววว Jumbo Seafood
หน้าร้านเป็นแบบนี้
ฮอตจริง ฮอตจัง ลูกค้าเต็มร้านเลย
วิวช่วงเย็นๆหลังเลิกงาน

ช่วงกลางคืน เต็มทุกโต๊ะ วิวริมแม่น้ำ บรรยากาศชิลล์ๆ

 

เมื่อได้โต๊ะแล้ว พนักงานก็จะเตรียมอุปกรณ์การกิน ผ้ากันเปื้อน และมาเล่นมายากล อ้าว ไม่ใช่ จะมีการนำผ้าแดงมาคลุมกระเป๋าให้เรา เพราะป้องกันการกระเด็นนั่นเอง เพราะการกินปูแบบนี้ต้องแกะกันเมามัน แล้วต้องกระเด็นถึงจะอร่อย

ผ้าแดงคลุมกระเป๋าแบรนด์เนมสำเพ็งของเรา ไม่ให้ปูกระเด็น

 

ผ้ากันเปื้อนลายปู ยิ่งลักษณ์ เอ๊ย ไม่ใช่ ปูก้ามโตใหญ๊ใหญ่ โลโก้ร้าน
จาน ชาม ตะเกียบ อุปกรณ์การโซ้ย พร้อมผ้าเย็น และน้ำล้างมือ

เตรียมตัวกันพร้อมแล้ว ก็มาชิมอาหารกันเลยดีกว่า เริ่มจากเบาๆ

ผัดผักโขม ก็ถือว่ารสชาติไม่เลว
เต้าหู้หน้าสาหร่าย จานนี้อร่อยสำหรับคนชอบเต้าหู้ น้ำเหมือนน้ำราดหน้า อร่อยเข้มข้น

มาถึงจานเด็ด ปูผัดพริก signature ของร้าน เนื้อปู แน่น กล้ามใหญ่ กรรเชียงแน่นมาก รสหวาน ชุ่มฉ่ำ สดมาก กัดไปตรงไหนก็เนื้อๆๆๆ น้ำซอสจริงๆอร่อยน่ะ กลมกล่อม เผ็ดนิดหน่อย จานนี้ 10 เต็ม 10
ก้ามใหญ่มากกกก

 

ฟินถึงก้ามสุดท้าย

เห็นรีวิวอย่างนี้แล้ว ถือว่าแค่เรียกน้ำย่อย บอกเลยใครไปสิงคโปร์ห้ามพลาด!

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก -คุณเต้บางแค-

แคสเปอร์สกี้ แลป สุดปลื้ม หลังผู้นำกลุ่มโจรไซเบอร์ด้านการเงิน “Carbanak” ถูกจับ

เร็วๆ นี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้ร่วมมือกันจนสามารถจับกุมหัวหน้ากลุ่ม Carbanak ซึ่งใช้มัลแวร์ถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็ม ทำให้เกิดความเสียหายหลายพันล้านมาแล้วทั่วโลก

“ความสำเร็จล่าสุดในการต่อสู้กับกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ Carbanak นับเป็นข่าวที่ดีมากของวงการ และชี้ให้เห็นว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยให้ต่อกรกับภัยไซเบอร์ได้” เซอร์เจย์ โกโลวานอฟ นักวิจัยด้านความปลอดภัย ทีมวิเคราะห์และวิจัย แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว

Carbanak เป็นภัยคุกคามที่โจมตีแบบ APT (Advanced Persistent Threat) ใช้ทูลเล็งเป้าโจมตีเหยื่อที่เป็นสถาบันการเงินทั่วโลกโดยเฉพาะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการขโมยเงิน

 

Carbanak ถูกเปิดโปงขึ้นในปี 2015 โดยแคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับตำรวจสากล (INTERPOL) ตำรวจยุโรป (Europol) และหน่วยงานบังคับกฎหมายอื่นๆ ที่สืบสวนเหตุการณ์ในปี 2013 ร่วมกัน ในครั้งนั้น กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ใช้ทูลหลายอย่าง รวมถึงโปรแกรมที่ชื่อ Carbanak ในปี 2015 หลังจากที่แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศเรื่องการค้นพบนี้ กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ก็ได้ปรับเปลี่ยนทูลและใช้มัลแวร์ Cobalt-strike รวมถึงเปลี่ยนชื่อเซิร์ฟเวอร์และปรับปรุงโครงสร้างไอทีอีกด้วย

 

กลุ่มนี้ใช้เทคนิคโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง เช่น การส่งอีเมลฟิชชิ่งที่มีไฟล์แนบอันตรายไปยังพนักงานสถาบันการเงิน เมื่อคอมพิวเตอร์เหยื่อติดมัลแวร์แล้ว ผู้โจมตีจึงติดตั้งแบ็กดอร์ที่ออกแบบสำหรับการจารกรรม การขโมยข้อมูล และการจัดการระบบระยะไกล เพื่อสอดส่องดูธุรกรรมการเงิน

 

ในตอนที่ค้นพบกลุ่มนี้ นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ประเมินไว้ว่า กลุ่ม Carbanak น่าจะขโมยเงินไปแล้วมากถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยกลุ่มนี้ได้โจมตีธนาคาร ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ และสถาบันการเงินต่างๆ ไปมากกว่า 100 แห่ง ใน 30 ประเทศในทวีปยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือและใต้ และภูมิภาคอื่นๆ

 

ในปี 2016 แคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า มีกลุ่มอาชญากรไซเบอร์อีก 2 กลุ่ม ที่ทำงานคล้ายกับ Carbanak นั่นคือ Metel และ GCMAN ซึ่งโจมตีสถาบันการเงินโดยใช้มัลแวร์และแผนการร้ายสุดล้ำเพื่อขโมยเงินออกมา นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ใช้เทคนิคคล้ายกัน นั่นคือ Lazarus และ Silence

เที่ยวสงกรานต์ไทยเก๋ไก๋ สไตล์ย้อนยุค…งาน ‘มหาสงกรานต์ ตะปอน จันทบุรี’

สงกรานต์นี้ใครไม่รู้จะไปไหน…ลองแวะไปเมืองจันทบุรีสิจ๊ะ!

เที่ยวสงกรานต์ไทยเก๋ไก๋ สไตล์ย้อนยุค

“มหาสงกรานต์ ตะปอน ตำนานแห่ เกวียนพระบาทจันทบุรี”

วันที่ ๑๓-๑๗ เมษนยน ๒๕๖๑ ณ วัดตะปอนน้อย – วัดตะปอนใหญ่ – วัดเกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี

ร่วมพิถีแห่เกวียนผ้าพระบาท แห่งเดียวในประเทศไทย

สนุกกับกิจกรรม ณ ตลาดโบราณย้อนตำนานบ้าน ตะปอน ๒๗๐ ปี ร่วมขอพรก่อ พระเจดีย์ ทราย ๒๕๖๑ กอง

“อย่าลืมแต่งชุดไทย สไตล์ย้อนยุค กันนะออเจ้า”