โรงเรียนเตรียมทหาร นำร่องเสริมสร้างต้นกล้ากำลังพลดิจิทัลรุ่นแรกรองรับไทยแลนด์ 4.0

โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยพลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร จัดงานพิธีมอบประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)

สำหรับนักเรียนเตรียมทหารจำนวน 876 นาย ณ โรงเรียนเตรียมทหาร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่มอบหมายให้ พล.ท.ปริพัฒน์ ผลาสินธุ์ รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด มาเป็นประธานในพิธีพร้อมมอบประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัลให้กับนักเรียนเตรียมทหารที่สามารถสอบผ่านเกณฑ์

รวมทั้งได้รับเกียรติจาก นางเมธินี เทพมณี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์  รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.ศักดิ์  เสกขุนทด  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)  นาวาอากาศเอก ศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ ประณีตพลกรัง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อาจารย์วลีพร จิตรพงษ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ นางสาวกฤษฏิ์กัญญา กานต์จิรธันย์ ตัวแทน ICDL ประเทศไทย มาร่วมเป็นเกียรติในพิธีและเป็นผู้ร่วมมอบประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัลให้กับนักเรียนเตรียมทหารในครั้งนี้

ทั้งนี้ เป็นการย้ำถึงความสำคัญในการพัฒนากำลังพลดิจิทัลของกองทัพตั้งแต่วัยเยาว์ซึ่งเป็นการสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลตามแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ยุคของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว อีกทั้งยังสามารถขับเคลื่อนไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และดิจิทัลไทยแลนด์ได้ในอนาคต

– โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล สร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับนักเรียนเตรียมทหารจำนวน 1202 นาย โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อพัฒนาทักษะด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ ปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล 2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลของนักเรียนเตรียมทหารให้ได้ตามมาตรฐานสากล  3. เพื่อให้นักเรียนเตรียมทหารสามารถเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (Digital Transformation) ไปสู่โรงเรียนเตรียมทหารดิจิทัลที่สมาร์ตและยั่งยืนได้ในอนาคต

การเตรียมกำลังพลให้เข้มแข็งด้านดิจิทัลที่พร้อมมุ่งสู่โรงเรียนเตรียมทหารดิจิทัลที่มีความสมาร์ตนั้นยังเป็นการรองรับยุทธศาสตร์กองทัพและดิจิทัลไทยแลนด์ของรัฐบาลอีกด้วย  โรงเรียนเตรียมทหารได้ทำการประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามมาตรฐานสากลให้กับนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 เมื่อวันที่ 21 ถึง 25 กันยายน พ.ศ. 2561 และนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

หลังจากนั้นได้ทำการเประเมินผลซึ่งเป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการทดสอบที่เป็นสากล นักเรียนเตรียมทหารทั้งสองชั้นปีสามารถสอบผ่านการประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นจำนวนมากถึง 876 นาย หรือคิดเป็น 73% ของจำนวนผู้เข้ารับการทดสอบทั้งหมด  ผลการสอบผ่านอยู่ในระดับที่ดีมาก ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของการนำนโยบายจากภาครัฐและกองทัพไปสู่การปฎิบัติด้านการพัฒนาต้นกล้ากำลังพลของกองทัพให้มีความสามารถและเข้มแข็งด้านทักษะดิจิทัล

นอกจากนั้น ในการดำเนินการจัดฝึกอบรมภาคปฎิบัติด้านทักษะดิจิทัล ทางโรงเรียนเตรียมทหาร ยังได้รับความร่วมมือให้การสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่เน้นการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่กำหนดยุทธศาสตร์ดิจิทัลไทยแลนด์และแนวทางการสร้างพลเมืองดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างกลไกที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐให้พร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล  และ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ที่กำหนดมาตรฐานด้านทักษะการใช้ดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

แคสเปอร์สกี้ แลป เผยคู่รักยุคดิจิทัล 55% ทะเลาะกันเรื่องการใช้งานดีไวซ์มากเกินไป

ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน คู่รักใช้ดีไวซ์ในการติดต่อสานสัมพันธ์รักเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ดี จากการค้นคว้าล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง A Digital Kingdom for Two: Securing a Shared Online World พบว่า การพึ่งพาดีไวซ์ไม่ได้มีแต่ข้อดีเท่านั้น หากยังมีข้อเสียอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น คู่รักจำนวน 55% ทะเลาะกันเรื่องการใช้งานดีไวซ์มากเกินไป แสดงให้เห็นว่า นอกจากดีไวซ์จะช่วยให้คู่รักใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนผลักไสให้ความสัมพันธ์สั่นคลอนได้อีกด้วย

 

การค้นคว้าระบุว่า ผู้ใช้จำนวน 8 ใน 10 คนมักติดต่อสื่อสารกับคู่รักออนไลน์อยู่เสมอเมื่อต้องอยู่ห่างกัน ผู้ใช้จำนวน 62% เห็นด้วยว่าการสื่อสารผ่านดีไวซ์และอินเทอร์เน็ตช่วยให้รู้สึกใกล้ชิดกับคู่รักมากขึ้น โดยเฉพาะคู่รักที่ไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน (75%)

 

คู่รักยุคดิจิทัลยังเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยการใช้ดีไวซ์ร่วมกัน ผู้ใช้จำนวน 53% ระบุว่าความสัมพันธ์ดีขึ้นตั้งแต่มีกิจกรรมออนไลน์ร่วมกัน เช่น ใช้แอคเค้าท์ร่วมกัน เป็นต้น แต่การค้นคว้าพบว่า การใช้งานดีไวซ์สามารถทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งได้ ซึ่งเกิดจากการใช้งานมากไป หรือเกิดเหตุร้ายเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์

 

ยกตัวอย่างเช่น คู่รัก 51% ทะเลาะกันเรื่องใช้ดีไวซ์ระหว่างรับประทานอาหารหรือระหว่างที่พูดคุยกัน ผู้ใช้มากกว่าครึ่ง (55%) ทะเลาะกันเรื่องให้เวลากับดีไวซ์มากเกินไป ซึ่งชี้ให้เห็นว่า คู่รักไม่อยากถูกละเลยและต้องการให้อีกฝ่ายสนใจเมื่อใช้เวลาอยู่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังโต้เถียงกันเรื่องการสลับกันใช้งานดีไวซ์ (25%) การลืมชาร์จไฟ (45%) และการทำดีไวซ์สูญหาย (28%)

 

สำหรับประเด็นเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ คู่รักจำนวน 24% ระบุว่าทะเลาะกันเมื่ออีกฝ่ายทำดีไวซ์ติดมัลแวร์ คู่รัก 19% โต้เถียงกันเมื่ออีกฝ่ายสูญเงินออนไลน์จากมัลแวร์หรือจากความผิดพลาดของตัวเอง

 

ดีมิทรี เอลชิน รองประธานฝ่ายการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ บริษัท แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ความสามารถของดีไวซ์สมัยใหม่ได้สร้างโอกาสให้คู่รัก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ หรือการสร้างความสัมพันธ์แม้ว่าจะอยู่ห่างกัน แต่ก็ต้องไม่ลืมนึกถึงข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น จึงควรใช้งานดีไวซ์โดยนึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายด้วย”

ICDL เข้าพบหารือ TPQI เดินหน้าต่อเนื่อง หลังประเมินทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL ให้แก่ภาครัฐ 12,000 คน

ทีน่า วู ผู้จัดการทั่วไป ICDL ภูมิภาคเอเชีย  ตัวแทน The International Computer Driving License (ICDL) หรือวุฒิบัตรรับรองความสามารถด้านทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล เข้าพบ นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อกระชับการทำงานร่วมมือกันอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง   ตามรอยนโยบายยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลด้านการพัฒนากำลังคน สำหรับภาครัฐ การศึกษาและเอกชน ด้วยการประเมินสมรรถนะความสามารถในการด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) ด้วยวุฒิบัตรมาตรฐานสากล ICDL เพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล

 

ระบบการทดสอบออนไลน์วุฒิบัตรมาตรฐานสากล ICDL เป็นเครื่องมือประเมินทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สำนักงาน กพ.และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล  ซึ่งได้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 บัดนี้ได้ดำเนินการประเมินทักษะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ให้แก่ข้าราชการ บุคลากรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน กว่า 12,000 คน และได้รับการตอบรับที่ดีประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยมีบุคลากรเข้าร่วมจากกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสากิจและองค์การมหาชน จากกว่า 300 หน่วยงาน และจะมีการดำเนินการประเมินอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

ทั้งนี้ในระยะต่อไปปี 2561 นี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นอกจากจะสนับสนุนให้กับบุคลากรภาครัฐเช่นที่ผ่านมาแล้ว ยังได้ขยายการสนับสนุนการสอบประเมินทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL  ให้แก่นักเรียน นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ อีกด้วย

 

ผลจากการประเมินทักษะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ทำให้องค์กรและสถาบันต่างๆทราบว่าสมรรถนะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรในองค์กรอยู่ในระดับใด และนำไปวางแผนในการพัฒนาบุคลากรต่อไป อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้แต่ละบุคคลเกิดการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัลอย่างถูกวิธีต่อไป วุฒิบัตรมาตรฐานสากล ICDL มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วยในการพัฒนายกระดับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับคนไทย ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศไทย สู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน

วัดทักษะดิจิทัลพร้อมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่บูธ ICDL งาน Digital Thailand Big Bang เมืองทองธานี 21-24 ก.ย. ฟรี!

คนไทยเก่งดิจิทัลจริงป่ะ?

อย่ามโนว่าเก่งดิจิทัล! ร่วมทดสอบวัดระดับทักษะด้านดิจิทัลของคุณ ด้วย ICDL Digital Skills Check Up Station โดย The International Computer Driving Licence (ICDL) หรือวุฒิบัตรบัตรรับรองความสามารถคอมพิวเตอร์สากล เรานำระบบออนไลน์การสอบทักษะดิจิทัลมาให้ลองเล่นกันในงานเลยทีเดียว! ตรวจสอบวัดระดับทักษะดิจิทัลของคุณ! รู้ผลทันที! ว่าพร้อมเข้าไทยแลนด์ 4.0 กันหรือยัง? ทดสอบฟรี ของรางวัลเพียบ งานนี้ใครมั่ว ใครตัวจริงได้รู้กัน !!!  ที่บูธ ICDL Digital Skills Check Up Station บริเวณ Digital Playground Challenger Hall 1 เมืองทองธานี วันที่ 21-24 กันยายน ที่งาน DIGITAL THAILAND BIG BANG 2017

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/GlobalDigitalLiteracyStandard/

เอ็นซีอาร์เปิดตัวสุดยอดเทคโนโลยี ช่วยธุรกิจธนาคาร-สถาบันการเงินไทย ก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจ 4.0

ด้วยโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกช่องทางและแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของ NCR ช่วยให้ธนาคารสถาบันการเงินสามารถสร้างความยืดหยุ่นจากการนำเอาเทคโนโลยียุคใหม่มาใช้ พร้อมลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

 

กรุงเทพฯ – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560 NCR Corporation (NYSE: NCR) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการบริการทางการเงินแบบหลากหลายช่องทาง (omni-channel solutions) เปิดตัวโซลูชั่นสวีทแบบครบวงจร CxBanking สำหรับให้การสนับสนุนธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน (FIs) ในไทยในการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลและสู่รูปแบบการบริการทางเงินผ่านการบริการแบบหลากหลายช่องทาง  การใช้งานโซลูชั่น CxBanking ของเอ็นซีอาร์จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถนำเสนอช่องทางในการทพธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าผ่านอุปกรณ์หลากหลายประเภท ได้อย่างลื่นไหล เพิ่มความรวดเร็วให้กับการให้บริการ และลดช่วงเวลาการหยุดทำงานของระบบ แถมด้วยประสิทธิภาพการทำงานในสำนักงานสาขา และวางแผนการใช้ทรัพยากรบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

ในงานการเปิดตัวโซลูชั่น มีการสาธิตข้อมูลรายละเอียดและการทำงานของพอร์ตโฟลิโอ CxBanking จากเอ็นซีอาร์ที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจากกว่า 70 สถาบันการเงินชั้นนำทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลูกค้าของเอ็นซีอาร์ในงานได้สัมผัสโซลูชั่นการเงินแบบหลากหลายช่องทางในเวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งได้ออกแบบบนหลักการที่เน้นการสร้างประสบการณ์ชั้นเลิศให้แก่ผู้ใช้บริการ  โดยโซลูชั่นสวีทนี้ประกอบด้วยโซลูชั่นการเงินในรูปแบบดิจิทัล และตู้การใช้บริการด้วยตัวเองที่ทันสมัย สามารถสร้างความได้เปรียบสำหรับอนาคตซึ่งจะเป็นยุคของการเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด

“เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีนั้น สถาบันการเงินต่างมองหาทางเลือกในการให้บริการ และไปสู่ช่องทางการบริการในแบบดิจิทัล  ซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปสู่รูปแบบการให้บริการทางการเงิน ‘แบบดิจิทัลเท่านั้น’” จอร์จ แมคริยานนิส หัวหน้าฝ่ายขายโซลูชั่น ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เอ็นซีอาร์ กล่าว “โซลูชั่น CxBanking ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางการเงินผ่านช่องทางที่มีความหลากหลาย รวมถึงรูปแบบการทำงานของสาขาที่จะมีความแตกต่างออกไป โดยที่เอ็นเตอร์ไพร้ซ์แอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์มของเราจะให้ความมั่นใจได้ว่าธุรกรรมทางการเงินของธนาคารนั้นจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบนโครงสร้างระบบที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน”

 

เอ็นซีอาร์ได้แสดงการสาธิตเทคโนโลยีเพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานของสาขา Branch Transformation  รวมถึง NCR Interactive Teller นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ลูกค้าสามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ธนาคารจากทางไกลได้ผ่านระบบวิดีโอและเสียงที่มีคุณภาพสูง นอกเวลาทำการ  ด้วยการย้ายธุรกรรมที่เกิดอยู่เป็นประจำไปสู่ช่องทางการใช้บริการด้วยตนเอง  ในส่วนของเครื่อง Interactive Teller ของเอ็นซีอาร์นั้นก็จะเป็นส่วนที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ธนาคารสามารถให้เวลาในการบริการลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น  อำนวยความสะดวกแก่ธุรกรรมที่มีมูลค่าทางการเงินสูงกว่า และสร้างความประทับใจในการให้บริการกับลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น

“พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากเทคโนโลยี และเอ็นซีอาร์คือผู้นำในการเปลี่ยนแปลงนั้น”  จอย แยพ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฝ่ายการบริการทางการเงิน เอ็นซีอาร์ กล่าว “เทคโนโลยีล้ำยุคสำหรับบริการทางการเงินทั้งออนไลน์และบนอุปกรณ์ไร้สายที่เปิดตัวในวันนี้ ผสานสภาพแวดล้อมของการมีปฏิสัมพันธ์ตัวต่อตัวแบบดั้งเดิมเข้ากับการสร้างบริการทางการเงินที่พร้อมเสมอในทุกช่องทาง  สร้างความยืดหยุ่นคล่องตัวในการให้บริการแก่ผู้บริโภค  และยังสามารถที่จะควบคุมธุรกรรมตามความต้องการของลูกค้า ตามรูปแบบแพลตฟอร์มการใช้งานที่เลือกใช้ได้เปนอย่างดี”

 

เอ็นซีอาร์ยังได้เปิดตัวโซลูชั่นประมวลผลธุรกรรมอัจฉริยะ ที่ทำงานได้รวดเร็วและปลอดภัยที่สุดในชื่อ Authentic ซึ่งถือว่าเป็นแพลตฟอร์มระบบชำระเงินเจ้าแรกที่รองรับมาตรฐาน PA-DSS 3.1 และออกแบบมาเพื่อรองรับธุรกิจรับขำระเงินที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว  นี่คือระบบรับชำระเงินบนเทคโนโลยีล้ำหน้าสำหรับธุรกิจธนาคารรายย่อย, บริษัทบัตรเครดิต, บริษัทจัดซื้อ, บริษัทผู้ให้บริการรับชำระเงิน รวมถึงบริษัทห้างร้านที่ต้องผ่านมาตรฐาน ISO ที่มีอยู่ทั่วโลก

การสาธิตการทำงานที่นำมาแสดงในงานเปิดตัวประกอบไปด้วย

  • NCR APTRA Connections – โซลูชั่นที่เปลี่ยนรูปแบบช่องทางสื่อสารกับลูกค้าที่ครบวงจรการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และสร้างบริการที่สามารถเพิ่มมูลค่า ไม่ว่าลูกค้าจะเลือกติดต่อผ่านช่องทางใดก็ตาม
  • NCR Connected Payments เทคโนโลยีที่มาในรูปแบบของโซลูชั่นแบบ software-as-a-service (SaaS) ที่ให้ทั้งความปลอดภัยและแม่นยำพร้อมทั้งปกป้องในการส่งผ่านให้กับข้อมูลในการทำธุรกรรม ตั้งแต่การใส่รหัสไปจนถึงขั้นตอนการประมวลผลการชำระเงิน
  • SelfServ ATMs ตู้เอทีเอ็มสำหรับการใช้บริการด้วยตัวเอง ทั้งการฝากเงินและการให้บริการต่างๆ
  • บริการการถอนเงินผ่านทางอุปกรณ์มือถือ
  • จุดให้บริการทางการเงินสำหรับการเปิดบัญชีหรือบัตรเครดิต
  • NCR Fractals โซลูชั่นการตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกง
  • NCR Payment Platform แพลตฟอร์มระบบรับชำระเงิน ที่เป็นสะพานสำหรับช่วยให้กระบวนทำงานแบบดั้งเดิมนั้นสามารถผสานเข้ากับช่องทางการชำระเงินทั้งแบบดิจิทัลและในแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

เกี่ยวกับเอ็นซีอาร์คอร์ปอเรชั่น (NCR Corporation)

เอ็นซีอาร์ คอร์ปอเรชั่น ( NYSE: NCR ) เป็นผู้นำด้านโซลูชั่นการบริการทางการเงินแบบหลากหลายช่องทาง ที่เปลี่ยนรูปโฉมของการติดต่อสื่อสารเชิงธุรกิจในทุกๆ วัน ให้เป็นประสบการณ์ชั้นยอดอันน่าประทับใจ ด้วยซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และพอร์ตโฟลิโอของการให้บริการด้านต่างๆ เอ็นซีอาร์ให้การรองรับการดำเนินธุรกรรมทางการเงินถึงกว่า 700 ล้านธุรกรรมต่อวัน ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การค้ารายย่อย การเงิน การเดินทาง การบริการต้อนรับ โทรคมนาคมและเทคโนโลยี รวมไปถึงวิสาหกิจขนาดย่อม โซลูชั่นของเอ็นซีอาร์ขับเคลื่อนธุรกรรมในแต่ละวัน เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้น

เอ็นซีอาร์มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ เมืองดูลูธ รัฐจอร์เจีย ด้วยพนักงานกว่า 30,000 คน ดำเนินธุรกิจใน 180 ประเทศ
NCR เป็นเครื่องหมายการค้าของ เอ็นซีอาร์คอร์ปอเรชั่น ( NCR Corporation ) ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ  เอ็นซีอาร์ขอเชิญชวนให้นักลงทุนได้เข้าเยี่ยมเว็บไซต์ของเราเพื่อติดตามข้อมูลที่ได้รับการอัพเดทอยู่เป็นประจำ เพื่อรับรู้ข่าวสารด้านการเงินหรือข้อมูลสำคัญของบริษัทเอ็นซีอาร์

Web site: www.ncr.com

Twitter: @NCRCorporation

Facebook: www.facebook.com/ncrcorp

LinkedIn: www.linkedin.com/company/ncr-corporation

YouTube: www.youtube.com/user/ncrcorporation