ดีจริงหรือ? เมื่อพ่อแม่สวมบท ‘ตำรวจคุมเข้ม’ หวังให้ลูกหลานพ้นอันตรายเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต

ความเสี่ยงในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่จะก่อความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่บรรดาผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเวลาที่บุตรหลานใช้ไปกับการออนไลน์ก็น่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงพบว่าผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย (หนึ่งในสาม) เลือกที่จะจำกัดเวลาใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันอันตรายจากการท่องโลกออนไลน์ แต่ก็ยังมีวิธีอื่นที่ผู้ปกครองอีกไม่น้อยเลือกที่จะนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยง และยังเป็นการเปิดทางให้เด็กๆ ได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากสิ่งดีๆ ที่โลกดิจิทัลมีให้เลือกสรรได้

 

การที่คนรุ่นใหม่พึ่งพาการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากนั้นทำให้หนึ่งในสามของผู้ปกครอง (33%) ที่เข้าร่วมการสำรวจข้อมูลกังวลใจอย่างมากว่าลูกหลานของตนจะเป็นคนติดเน็ต ซึ่งสอดประสานกับตัวเลขที่แคสเปอร์สกี้ แลปร่วมกับบีทูบีอินเตอร์เนชั่นแนลได้ทำการสำรวจข้อมูลไว้ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวนหนึ่งในสิบ (12%) ติดการใช้อินเทอร์เน็ต และผู้ปกครอง (36%) กังวลการดูเนื้อหาไม่เหมาะสม และ (32%) กังวลเรื่องการติดต่อกับคนแปลกหน้า ดูเหมือนว่าการที่เยาวชนติดโลกออนไลน์ได้กลายมาเป็นข้อกังวลอันใหญ่หลวงของผู้ปกครองยุคนี้ไปเสียแล้ว

ผู้ปกครองจำนวนเกินครึ่ง (51%) ที่รู้สึกถึงการคุกคามของภัยทางออนไลน์ต่อบุตรหลานของพวกเขา เด็กๆ มักใช้เวลาส่วนมากในโลกออนไลน์ จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องสร้างเกราะป้องกันคุ้มภัยให้แก่เด็กๆ เวลาที่พวกเขาออนไลน์ ทำให้ผู้ปกครอง 33% เลือกที่จะใช้วิธีตั้งกฎเกณฑ์เรื่องเวลาที่เด็กๆ สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้

 

อย่างไรก็ตาม การจำกัดเวลาก็มิใช่เงื่อนไขด้านความปลอดภัยของเด็กๆ เสียทีเดียว ในช่วงเวลา 12 เดือน เยาวชน 44% เผชิญภัยคุกคามทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง และเด็กจำนวนหนึ่งในสิบ (12%) ดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับวัย และ (10%) ได้เข้าถึงซอฟต์แวร์ไวรัสอันตราย

 

ดังนั้น ทางเลือกสำหรับผู้ปกครองคือ ควรสนับสนุนบุตรหลานของตนให้มีทางเลือกอื่นๆ เช่น การศึกษา การเรียนรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น พบว่า ผู้ปกครองจำนวนกว่าหนึ่งในสาม (37%) ใช้วิธีพูดคุยกับเด็กๆ เป็นประจำ เพื่อจะได้สอนความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่มาทางออนไลน์ และผู้ปกครอง 31% พยายามที่จะอยู่กับเด็กๆ ด้วยในเวลาที่พวกเขาออนไลน์ เพื่อจะได้มีโอกาสชี้ให้เห็นถึงรูปแบบข้อมูลอันตราย สิ่งล่อแหลมยั่วยุต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมา

 

พ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องการปกป้องลูกหลายให้ปลอดภัย แต่การกีดกันการเข้าสู่โลกออนไลน์นั้นก็ไม่น่าที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในทางกลับกัน การให้การศึกษา สร้างความเข้าใจ สื่อสารข้อมูลต่างๆ น่าที่จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าเด็กๆ ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทันและปลอดภัยในระดับหนึ่งดมิทรี อะเลชิน รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ แคสเปอร์สกี้ แลป ให้ความเห็น การลงซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยเพื่อการป้องกันอีกชั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่พึงกระทำเช่นกัน การจำกัดการท่องโลกออนไลน์เป็นส่วนสำคัญ หากคุณอยู่กับพวกเขาตลอดเวลา แต่วิธีจะใช้ไม่ได้เลยถ้าเด็กๆ อยู่คนเดียว แต่เทคโนโลยีสามารถเป็นผู้ช่วยผู้ปกครองในการลดความเสี่ยงได้ เด็กๆ ยังได้ท่องโลกออนไลน์ สรรหาข้อมูล ความรู้ต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย และมีพัฒนาการทักษะดิจิทัลโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภัยคุกคามทางออนไลน์

 

Kaspersky Safe Kids ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นผู้ช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองในการเป็นเกราะป้องกันบุตรหลานจากอันตรายทางโลกออนไลน์ โซลูชั่นนี้มีฟีเจอร์ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกแอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ให้บุตรหลานของตนได้ หรือเตือนให้เด็กๆ รู้ว่าสิ่งใดไม่ปลอดภัยได้ด้วยตัวเอง ผ่านการเตือนว่าแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ที่เด็กๆ กำลังจะเข้าไปนั้นมีความเสี่ยงหรือตอนเท้นท์ที่ไม่ดีงาม เป็นต้น โซลูชั่น Safe Kids มีฟีเจอร์รองรับได้ตั้งแต่การกำหนดหรือจำกัดช่วงเวลา ไปจนกระทั่งติดตามเก็บข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เด็กๆ ดำเนินการเมื่อออนไลน์ และโซลูชั่น Safe Kids ยังสามารถจัดการดูแลป้องกันได้อีกหลายระดับขั้นตามความต้องการของผู้ปกครองเพื่อให้ความคุ้มครองบุตรหลานให้พ้นจากภัยคุกคามออนไลน์ที่มีอยู่ดาษดื่นและที่มาใหม่อีกมากมาย

 

  • ข้อมูลเกี่ยวกับโซลูชั่น Kaspersky Safe Kids เวอร์ชั่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายได้

https://www.kaspersky.com/safe-kids?redef=1&reseller=gl_acq-freekasp_leg_ona_oth__onl_b2c__lp-button_kl______

  • อ่านรายงานฉบับเต็ม การสำรวจความเสี่ยงของผู้บริโภคด้านความปลอดภัยปี 2017 : “Not logging on, but living on”

https://cdn.press.kaspersky.com/files/2017/11/4114_B2C_Report_2017_WEB.pdf?_ga=2.19715388.587194899.1517308386-525507166.1447406956

แคสเปอร์สกี้ แลป เผยคู่รักยุคดิจิทัล 55% ทะเลาะกันเรื่องการใช้งานดีไวซ์มากเกินไป

ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน คู่รักใช้ดีไวซ์ในการติดต่อสานสัมพันธ์รักเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ดี จากการค้นคว้าล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง A Digital Kingdom for Two: Securing a Shared Online World พบว่า การพึ่งพาดีไวซ์ไม่ได้มีแต่ข้อดีเท่านั้น หากยังมีข้อเสียอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น คู่รักจำนวน 55% ทะเลาะกันเรื่องการใช้งานดีไวซ์มากเกินไป แสดงให้เห็นว่า นอกจากดีไวซ์จะช่วยให้คู่รักใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนผลักไสให้ความสัมพันธ์สั่นคลอนได้อีกด้วย

 

การค้นคว้าระบุว่า ผู้ใช้จำนวน 8 ใน 10 คนมักติดต่อสื่อสารกับคู่รักออนไลน์อยู่เสมอเมื่อต้องอยู่ห่างกัน ผู้ใช้จำนวน 62% เห็นด้วยว่าการสื่อสารผ่านดีไวซ์และอินเทอร์เน็ตช่วยให้รู้สึกใกล้ชิดกับคู่รักมากขึ้น โดยเฉพาะคู่รักที่ไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน (75%)

 

คู่รักยุคดิจิทัลยังเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยการใช้ดีไวซ์ร่วมกัน ผู้ใช้จำนวน 53% ระบุว่าความสัมพันธ์ดีขึ้นตั้งแต่มีกิจกรรมออนไลน์ร่วมกัน เช่น ใช้แอคเค้าท์ร่วมกัน เป็นต้น แต่การค้นคว้าพบว่า การใช้งานดีไวซ์สามารถทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งได้ ซึ่งเกิดจากการใช้งานมากไป หรือเกิดเหตุร้ายเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์

 

ยกตัวอย่างเช่น คู่รัก 51% ทะเลาะกันเรื่องใช้ดีไวซ์ระหว่างรับประทานอาหารหรือระหว่างที่พูดคุยกัน ผู้ใช้มากกว่าครึ่ง (55%) ทะเลาะกันเรื่องให้เวลากับดีไวซ์มากเกินไป ซึ่งชี้ให้เห็นว่า คู่รักไม่อยากถูกละเลยและต้องการให้อีกฝ่ายสนใจเมื่อใช้เวลาอยู่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังโต้เถียงกันเรื่องการสลับกันใช้งานดีไวซ์ (25%) การลืมชาร์จไฟ (45%) และการทำดีไวซ์สูญหาย (28%)

 

สำหรับประเด็นเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ คู่รักจำนวน 24% ระบุว่าทะเลาะกันเมื่ออีกฝ่ายทำดีไวซ์ติดมัลแวร์ คู่รัก 19% โต้เถียงกันเมื่ออีกฝ่ายสูญเงินออนไลน์จากมัลแวร์หรือจากความผิดพลาดของตัวเอง

 

ดีมิทรี เอลชิน รองประธานฝ่ายการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ บริษัท แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ความสามารถของดีไวซ์สมัยใหม่ได้สร้างโอกาสให้คู่รัก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ หรือการสร้างความสัมพันธ์แม้ว่าจะอยู่ห่างกัน แต่ก็ต้องไม่ลืมนึกถึงข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น จึงควรใช้งานดีไวซ์โดยนึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายด้วย”

แคสเปอร์สกี้ แลป สุดปลื้ม หลังผู้นำกลุ่มโจรไซเบอร์ด้านการเงิน “Carbanak” ถูกจับ

เร็วๆ นี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้ร่วมมือกันจนสามารถจับกุมหัวหน้ากลุ่ม Carbanak ซึ่งใช้มัลแวร์ถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็ม ทำให้เกิดความเสียหายหลายพันล้านมาแล้วทั่วโลก

“ความสำเร็จล่าสุดในการต่อสู้กับกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ Carbanak นับเป็นข่าวที่ดีมากของวงการ และชี้ให้เห็นว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยให้ต่อกรกับภัยไซเบอร์ได้” เซอร์เจย์ โกโลวานอฟ นักวิจัยด้านความปลอดภัย ทีมวิเคราะห์และวิจัย แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว

Carbanak เป็นภัยคุกคามที่โจมตีแบบ APT (Advanced Persistent Threat) ใช้ทูลเล็งเป้าโจมตีเหยื่อที่เป็นสถาบันการเงินทั่วโลกโดยเฉพาะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการขโมยเงิน

 

Carbanak ถูกเปิดโปงขึ้นในปี 2015 โดยแคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับตำรวจสากล (INTERPOL) ตำรวจยุโรป (Europol) และหน่วยงานบังคับกฎหมายอื่นๆ ที่สืบสวนเหตุการณ์ในปี 2013 ร่วมกัน ในครั้งนั้น กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ใช้ทูลหลายอย่าง รวมถึงโปรแกรมที่ชื่อ Carbanak ในปี 2015 หลังจากที่แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศเรื่องการค้นพบนี้ กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ก็ได้ปรับเปลี่ยนทูลและใช้มัลแวร์ Cobalt-strike รวมถึงเปลี่ยนชื่อเซิร์ฟเวอร์และปรับปรุงโครงสร้างไอทีอีกด้วย

 

กลุ่มนี้ใช้เทคนิคโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง เช่น การส่งอีเมลฟิชชิ่งที่มีไฟล์แนบอันตรายไปยังพนักงานสถาบันการเงิน เมื่อคอมพิวเตอร์เหยื่อติดมัลแวร์แล้ว ผู้โจมตีจึงติดตั้งแบ็กดอร์ที่ออกแบบสำหรับการจารกรรม การขโมยข้อมูล และการจัดการระบบระยะไกล เพื่อสอดส่องดูธุรกรรมการเงิน

 

ในตอนที่ค้นพบกลุ่มนี้ นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ประเมินไว้ว่า กลุ่ม Carbanak น่าจะขโมยเงินไปแล้วมากถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยกลุ่มนี้ได้โจมตีธนาคาร ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ และสถาบันการเงินต่างๆ ไปมากกว่า 100 แห่ง ใน 30 ประเทศในทวีปยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือและใต้ และภูมิภาคอื่นๆ

 

ในปี 2016 แคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า มีกลุ่มอาชญากรไซเบอร์อีก 2 กลุ่ม ที่ทำงานคล้ายกับ Carbanak นั่นคือ Metel และ GCMAN ซึ่งโจมตีสถาบันการเงินโดยใช้มัลแวร์และแผนการร้ายสุดล้ำเพื่อขโมยเงินออกมา นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ใช้เทคนิคคล้ายกัน นั่นคือ Lazarus และ Silence

แคสเปอร์สกี้ แลป ชี้ผลวิจัย คู่รัก 21% สอดส่องผ่านช่องทางออนไลน์ หวังแก้แค้นอีกฝ่ายยามรักคุด

แนะทำข้อตกลงก่อนใช้บัญชีออนไลน์ร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคล

 

ดูจะเป็นการยากยิ่งขึ้นทุกวันๆ สำหรับบรรดาคู่รักทั้งหลายที่จะขีดเส้นความเป็นเธอกับฉัน และความเป็นส่วนตัว ในโลกที่เต็มไปด้วยออนไลน์แอ็คเคาท์และอุปกรณ์สื่อสารเชื่อมโยงกันได้เกือบทุกรูปแบบ เรื่องยุ่งยากจึงมาอยู่ที่ว่า หากคู่รักเหล่านี้เกิดรักคุด รักไม่เวิร์ก จนถึงขั้นเลิกรากัน แล้วจะทำอย่างไร? จากรายงานการวิจัยโดยแคสเปอร์สกี้ แลปร่วมกับบริษัทโทลูนา (Toluna) พบว่าผู้ใช้ 21% มักใช้ช่องทางสอดส่องติดตามความเคลื่อนไหวผ่านแอ็คเคาท์ที่เคยใช้ร่วมกัน แต่แฝงเจตนาหวังแก้แค้นหรือหาข้อมูลมาไว้กระแนะกระแหนคนรักใหม่ของอีกฝ่าย และนี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดจากความเสี่ยงของความเป็นส่วนตัวที่คู่รักสมัยใหม่ทั้งหลายควรต้องตระหนักไว้ให้ดี

 

ความเป็นส่วนตัวนั้นกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในโลกการใช้ชีวิตดิจิทัล และความสัมพันธ์ต่างๆ ของคนเราก็รวมอยู่ในนี้ด้วย เช่น 70% ของบรรดาคู่รักมักใช้พาสเวิร์ด เลขรหัสผ่าน หรือรอยพิมพ์นิ้วมือร่วมกันเพื่อเป็นรหัสในการใช้อุปกรณ์สื่อสารส่วนตัว และ 26% เก็บข้อมูลลับสุดส่วนตัวบางอย่างไว้บนอุปกรณ์ของคู่รักของตน เช่น ข้อความส่วนตัวบางอย่างที่สื่อสารหากันเฉพาะเราสองคน เป็นต้น และ (14%) ก็มักเก็บรูปภาพที่เฉพาะตัวสุดๆ (12%) หรือคลิปวิดีโอ (11%) นอกจากนี้ โดยทั่วไปก็จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแอ็คเคาท์ออนไลน์ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลด้านการเงิน (11%) หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการงาน (11%) เป็นต้น

 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คงไม่ใช่ประเด็นปัญหาเลยหากสัมพันธภาพความรักยังแน่นแฟ้นดีอยู่ และก็ถือได้ว่าข้อมูลอยู่ในมือของคนที่ไว้ใจได้ แต่ทั้งหมดนี้กลับเป็นประเด็นขึ้นมาเมื่อเลิกร้างกันนั่นเอง เมื่อสัมพันธภาพดูจะคลอนแคลนง่อนแง่น การแชร์ความทรงจำสุดส่วนตัวบนเครื่องที่ใช้ร่วมกันหรือข้อมูลออนไลน์แอ็คเคาท์ จากที่เป็นเรื่องธรรมดาของคนรักกันต้องแชร์กัน ก็เริ่มดำดิ่งสู่ฝันร้ายของความเป็นส่วนตัวของคุณนั่นเอง

 

สำหรับคนที่เคยผ่านประสบการณ์ฝันร้ายของการเลิกราเหล่านี้มาแล้ว พบว่า 12% ได้แชร์หรือต้องการที่จะแชร์ (เปิดโปง) ข้อมูลส่วนตัวของคนรักเก่าให้โลกได้รับรู้เป็นการแก้แค้น ส่วน 12% ได้ทำลายหรือต้องการทำลายอุปกรณ์ที่เคยร่วมกันนั้นให้สิ้นไป และ 21% แอบส่องคนรักเก่าผ่านทางแอ็คเคาท์ที่เคยเข้าได้ นอกจากนี้ ก็ยังอาจจะมีผลกระทบไปถึงด้านเงินๆ ทองๆ อีกด้วย การศึกษาข้อมูลชี้ว่า หนึ่งในสิบ (10%) ของคนที่เลิกรากันไปยอมรับว่าได้แอบใช้จ่ายเงินของคู่รักเก่าทางออนไลน์ด้วย

 

เป็นที่น่าสนใจไม่น้อยว่า มีความแตกต่างทางพฤติกรรมระหว่างหญิงชาย เพราะฝ่ายชายดูจะเป็นฝ่ายที่ปล่อยข้อมูลเพื่อแก้แค้นฝ่ายหญิงมากกว่า (17% vs 7%) และหาประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น (17% vs 8%) ในขณะที่ฝ่ายหญิงมีแนวโน้มที่จะเลือกทำในสิ่งที่ชอบธรรมมากกว่าด้วยการลบข้อมูลทิ้งจากเครื่องที่เคยใช้ร่วมกันไปเลย (55% vs 49%) รวมทั้งรูปภาพ คลิปวิดิโอหลังเลิกกันไป (56% vs 48%)

 

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายหญิงก็มักจะเป็นฝ่ายที่จะมีกลเม็ดลูกเล่นต่างๆ อยู่ไม่น้อย เช่น 33% ยอมรับว่าอาศัยโซเชียลเน็ตเวิร์ก คอยแอบส่องความเป็นไปของคนรักเก่า เทียบกับฝ่ายชายที่มีเพียง 28% ที่ทำแบบนี้

 

ทั้งนี้ การยุติความสัมพันธ์ต่อกันก็ไม่ควรที่ต้องกลายมาเป็นความเสี่ยงต่อข้อมูลลับส่วนบุคคลทั้งหลาย เราควรหมั่นเปลี่ยนพาสเวิร์ดเข้าแอ็คเคาท์ที่เคยแชร์กับคนรักเก่าอยู่เสมอ การใช้ Kaspersky Password Manager เพื่อช่วยจัดการพาสเวิร์ด ไม่ว่าจะเป็นสร้างพาสเวิร์ดที่ยากต่อการแกะและเก็บในที่ปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้น Kaspersky Total Security มีฟีเจอร์ File Shredder ซึ่งทำการลบไฟล์อย่างถาวร เช่น ไฟล์ที่คุณไม่ต้องการให้ใครเห็นอีกต่อไป ขณะที่ข้อความสุดส่วนตัวต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องแอนดรอยด์ก็สามารถอาศัยฟีเจอร์ Privacy Protection เพื่อซ่อนข้อความเหล่านั้นได้

 

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรดักส์ของแคสเปอร์สกี้ แลปว่าจะเข้ามาช่วยท่านได้อย่างไรแม้ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวของท่านให้อยู่ในร่องในรอย ได้ที่: https://www.kaspersky.com/home-security

แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศแต่งตั้ง ‘เยีย เซียง เทียง’ ผจก.ทั่วไปคนใหม่ คุมอาเซียน

แคสเปอร์สกี้ แลป บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ประกาศแต่งตั้งนายเยีย เซียง เทียง (Yeo Siang Tiong) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ของแคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูแลครอบคลุมประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2018 เป็นต้นไป

 

นายเยียมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำธุรกิจของบริษัทในภูมิภาคนี้ มีหน้าที่รับผิดชอบการนำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทสำหรับตลาดเอ็นเทอร์ไพรซ์รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และเร่งการเติบโตของโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยสำหรับภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทในภูมิภาค นายเยียทำงานขึ้นตรงต่อนายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

นายเยียกล่าวว่า “ผมตื่นเต้นยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ แลป โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ความปลอดภัยไซเบอร์เป็นประเด็นสำคัญยิ่งสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผมเชื่อมั่นว่า แคสเปอร์สกี้ แลป มีความเชื่อและค่านิยมการทำงานที่ถูกต้องเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย”

 

นายเยียมีความเชี่ยวชาญด้านช่องทางการขายมายาวนานกว่า 20 ปี ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิก ตลอด 25 ปีในการทำงาน นายเยียรับผิดชอบงานผู้นำสำคัญๆ ด้านการขยายกลยุทธ์ การพัฒนาธุรกิจ การพัฒนาช่องทางการขาย การขายตรง และงานบริหารทางเทคนิคต่างๆ ที่ประเทศสิงคโปร์และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับแคสเปอร์สกี้ แลป นายเยียเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กและช่องทางการขาย ที่บริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบการสร้างแชนแนลอีโคซิสเต็มส์ และการขายในตลาดกลาง รวมถึงตลาดธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และเอ็นเทอร์ไพรซ์

 

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่สำคัญมากของเอเชียแปซิฟิก ในปี 2017 ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตมากถึง 12% เมื่อเทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่เติบโต 11% ในปีนี้เราตั้งเป้าสูงขึ้นและผมมั่นใจว่านายเยียจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีก”

 

นายเยียสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์

 

นายเยีย เซียง เทียง เข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป แทนที่นางสาวซิลเวีย อึง ที่ดูแลการเติบโตของบริษัทในส่วนธุรกิจ B2B และเอ็นเทอร์ไพรซ์เป็นอย่างดีมาตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมา

 

แคสเปอร์สกี้ แลป เผย โจรไซเบอร์ล่อผู้ใช้ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย เพื่อใช้เป็นแหล่งขุดเงินคริปโต

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้เปิดเผยกลโกงโดยการแพร่กระจายไมน์นิ่งซอฟต์แวร์และติดตั้งในเครื่องพีซีของผู้ใช้ผ่านซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายที่ใช้กันทั่วไปในการทำงานและเพื่อความบันเทิง เช่น ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพและข้อความ เป็นต้น เครื่องพีซีจะถูกใช้เป็นตัวสร้างเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี่ (cryptocurrency) เพื่อสร้างกำไรให้กับโจรไซเบอร์

 

ปัจจุบัน ตลาดเงินดิจิทัลได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนและมูลค่าการลงทุน โจรไซเบอร์ก็ได้จับตามองการเติบโตนี้อย่างใกล้ชิด ความตื่นตัวต่อเงินดิจิทัลทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเริ่มเล่นรวมถึงผู้ใช้ที่ขาดความรู้ความชำนาญด้านไอที จึงกลายเป็นเหยื่อกลโกงได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น เทรนด์นักขุดเงินดิจิทัล (cryptocurrency miner) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์สำคัญของปี 2017 จากข้อมูลในรายงาน Kaspersky Security Bulletin นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ทำนายเทรนด์นี้ไว้เมื่อปี 2016 ตอนที่พบการกลับมาของไมน์นิ่งซอฟต์แวร์ขณะที่เงินดิจิทัล Zcash กำลังเป็นที่นิยม หนึ่งปีหลังจากนั้น ก็พบไมเนอร์หรือนักขุดเงินเกิดขึ้นจำนวนมาก โจรไซเบอร์เองก็ใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ เช่น แคมเปญโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง และการแพร่กระจายซอฟต์แวร์ที่แคร็กไว้เพื่อเพิ่มจำนวนเครื่องพีซีติดเชื้อให้มากที่สุด

 

เร็วๆ นี้ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ค้นพบเว็บไซต์จำนวนหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกัน คือ เสนอช่องทางให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมาใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โจรไซเบอร์ได้เลือกใช้โดเมนเนมที่คล้ายกับเว็บไซต์ของจริง หลังจากที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์แล้ว ก็จะได้รับ archive ที่บรรจุโปรแกรมขุดมาด้วย

ตัว archive การติดตั้งจะประกอบด้วยไฟล์ข้อความที่มีข้อมูลการติดตั้ง คือแอดเดรสของวอลเล็ต (wallet) และไมนิ่งพูล (mining pool) ไมนิ่งพูลคือเซิร์ฟเวอร์ที่รวมผู้เข้าร่วม (participant) ทั้งหลายไว้ที่เดียวกันและแบ่งงานขุดในคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ผู้เข้าร่วมจะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินดิจิทัลซึ่งจะไวกว่าการขุดผ่านคอมพิวเตอร์ของตัวเองเพียงเครื่องเดียว การขุดเงินบิตคอยน์และเงินดิจิทัลอื่นๆ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและทรัพยากรมาก ดังนั้น การขุดผ่านพูลจึงเพิ่มผลผลิตและความรวดเร็วการในผลิตเงินดิจิทัล

 

หลังจากติดตั้งโปรแกรมแล้ว นักขุดเงินก็เริ่มงานผลิตเงินดิจิทัลให้โจรไซเบอร์ที่เครื่องของเหยื่ออย่างเงียบๆ จากรายงานของแคสเปอร์สกี้ แลป เคสที่พบทุกเคสใช้ซอฟต์แวร์โปรเจ็ก NiceHash ซึ่งเพิ่งถูกเจาะความปลอดภัยครั้งใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการโจรกรรมเงินดิจิทัลมูลค่าหลายล้านดอลล่าร์ เหยื่อบางรายก็เกี่ยวข้องกับไมนิ่งพูลเดียวกันด้วย

 

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังพบว่านักขุดบางรายมีฟีเจอร์พิเศษที่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนเลขวอลเล็ตหรือเปลี่ยนพูลได้จากระยะไกล ซึ่งหมายความว่า โจรไซเบอร์จะสามารถตั้งจุดหมายการขุดเงินดิจิทัลใหม่ได้ตามต้องการ และสามารถบริหารจัดการรายได้ด้วยการกระจายการขุดระหว่างวอลเล็ต หรือตั้งค่าให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อเป็นพูลอีกแห่งก็ยังได้

 

อเล็กซานเดอร์ โคเลสนิคอฟ นักวิเคราะห์มัลแวร์ของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ถึงจะไม่นับเป็นโปรแกรมมุ่งร้าย แต่ไมนิ่งซอฟต์แวร์ก็ลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แน่นอน รวมถึงค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักของการตกเป็นเหยื่อ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่น่าพิสมัย ผู้ใช้บางรายอาจจะรู้สึกดีที่เห็นคนอื่นรวยขึ้น แต่เราขอแนะนำให้ผู้ใช้ต่อต้านกลโกงนี้ เพราะถึงแม้จะไม่ได้เกิดจากมัลแวร์ แต่ก็นับเป็นการโกงอยู่ดี”

 

แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำวิธีป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ให้ตกอยู่ในเครือข่ายการขุดเงินดิจิทัล ดังนี้

  • ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
  • ติดตั้งโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย เช่น Kaspersky Internet Securityหรือ Kaspersky Free ที่จะช่วยปกป้องจากภัยคุกคามต่างๆ รวมถึงไมนิ่งซอฟต์แวร์ด้วย

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ข้อมูลโครงการนักขุดที่เพิ่งค้นพบ

https://securelist.com/nhash-petty-pranks-with-big-finances/83506/

  • ข้อมูลการพัฒนาเงินดิจิทัลในแง่ความปลอดภัยไซเบอร์

https://securelist.com/ksb-threat-predictions-for-cryptocurrencies-in-2018/83188/

https://www.brighttalk.com/webcast/15591/289993