โรงเรียนเตรียมทหาร นำร่องเสริมสร้างต้นกล้ากำลังพลดิจิทัลรุ่นแรกรองรับไทยแลนด์ 4.0

โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยพลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร จัดงานพิธีมอบประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)

สำหรับนักเรียนเตรียมทหารจำนวน 876 นาย ณ โรงเรียนเตรียมทหาร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่มอบหมายให้ พล.ท.ปริพัฒน์ ผลาสินธุ์ รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด มาเป็นประธานในพิธีพร้อมมอบประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัลให้กับนักเรียนเตรียมทหารที่สามารถสอบผ่านเกณฑ์

รวมทั้งได้รับเกียรติจาก นางเมธินี เทพมณี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์  รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.ศักดิ์  เสกขุนทด  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)  นาวาอากาศเอก ศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ ประณีตพลกรัง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อาจารย์วลีพร จิตรพงษ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ นางสาวกฤษฏิ์กัญญา กานต์จิรธันย์ ตัวแทน ICDL ประเทศไทย มาร่วมเป็นเกียรติในพิธีและเป็นผู้ร่วมมอบประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัลให้กับนักเรียนเตรียมทหารในครั้งนี้

ทั้งนี้ เป็นการย้ำถึงความสำคัญในการพัฒนากำลังพลดิจิทัลของกองทัพตั้งแต่วัยเยาว์ซึ่งเป็นการสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลตามแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ยุคของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว อีกทั้งยังสามารถขับเคลื่อนไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และดิจิทัลไทยแลนด์ได้ในอนาคต

– โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล สร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับนักเรียนเตรียมทหารจำนวน 1202 นาย โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อพัฒนาทักษะด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ ปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล 2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลของนักเรียนเตรียมทหารให้ได้ตามมาตรฐานสากล  3. เพื่อให้นักเรียนเตรียมทหารสามารถเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (Digital Transformation) ไปสู่โรงเรียนเตรียมทหารดิจิทัลที่สมาร์ตและยั่งยืนได้ในอนาคต

การเตรียมกำลังพลให้เข้มแข็งด้านดิจิทัลที่พร้อมมุ่งสู่โรงเรียนเตรียมทหารดิจิทัลที่มีความสมาร์ตนั้นยังเป็นการรองรับยุทธศาสตร์กองทัพและดิจิทัลไทยแลนด์ของรัฐบาลอีกด้วย  โรงเรียนเตรียมทหารได้ทำการประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามมาตรฐานสากลให้กับนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 เมื่อวันที่ 21 ถึง 25 กันยายน พ.ศ. 2561 และนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

หลังจากนั้นได้ทำการเประเมินผลซึ่งเป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการทดสอบที่เป็นสากล นักเรียนเตรียมทหารทั้งสองชั้นปีสามารถสอบผ่านการประเมินทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นจำนวนมากถึง 876 นาย หรือคิดเป็น 73% ของจำนวนผู้เข้ารับการทดสอบทั้งหมด  ผลการสอบผ่านอยู่ในระดับที่ดีมาก ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของการนำนโยบายจากภาครัฐและกองทัพไปสู่การปฎิบัติด้านการพัฒนาต้นกล้ากำลังพลของกองทัพให้มีความสามารถและเข้มแข็งด้านทักษะดิจิทัล

นอกจากนั้น ในการดำเนินการจัดฝึกอบรมภาคปฎิบัติด้านทักษะดิจิทัล ทางโรงเรียนเตรียมทหาร ยังได้รับความร่วมมือให้การสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่เน้นการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่กำหนดยุทธศาสตร์ดิจิทัลไทยแลนด์และแนวทางการสร้างพลเมืองดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างกลไกที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐให้พร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านภาครัฐสู่ยุคดิจิทัล  และ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ที่กำหนดมาตรฐานด้านทักษะการใช้ดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

คลาริเวทเปิดรายชื่อนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยสูงในระดับโลกประจำปี 2018

Clarivate Analytics เปิดชื่อนักวิจัยพร้อมกับผลงานวิจัยหลากหลายสาขาที่ติดอันดับท็อป 1%

โดยวัดจากการอ้างอิงผลงานวิจัยแยกตามสาขาและปี

กรุงเทพมหานคร 30 พฤศจิกายน 2018 – Clarivate Analytics ผู้นำระดับโลกในการให้บริการข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แถลงวันนี้ว่าได้มีการเผยแพร่รายชื่อนักวิจัยที่มียอดการอ้างอิงผลงานวิจัยในระดับสูง (HCR) ซึ่งจัดทำเป็นปีที่ 5 แล้วสำหรับการวิเคราะห์การอ้างอิงผลงานวิจัยที่ระบุตัวนักวิจัยที่ทรงอิทธิพลตามที่ได้ตัดสินโดยเพื่อนร่วมวงการทั่วโลก (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องจากจำนวนครั้งการอ้างอิงที่สูงตลอดทศวรรษที่ผ่านมา)  โดย Web of Science จะให้บริการข้อมูลพื้นฐานบัญชีรายชื่อของนักวิจัยซึ่งมีการอ้างอิงผลงานวิจัยของพวกเขาที่ได้รับการบันทึกในอันดับต้น 1% โดยการอ้างอิงผลงานวิจัยแยกตามสาขาและปี

 

แดวิด เพนเดิลเบอรี่, นักวิเคราะห์การอ้างอิงผลงานวิจัยระดับอาวุโส ของ Clarivate Analytics อธิบายว่า “ปีนี้มีประเภทงานวิจัยข้ามสาขาเพิ่มเข้ามาใหม่เพื่อเป็นการยกย่องนักวิจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากในสาขาต่างๆ แต่เป็นผู้ที่ยังไม่ได้ถูกอ้างอิงการวิจัยมากพอในสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ  ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันนี้ นักภูมิคุ้มกันวิทยาดูเหมือนว่าจะเป็นได้ทั้งนักชีวเคมีหรือนักชีวภาพโมเลกุล และนักเคมียังเป็นได้ทั้งนักวัสดุศาสตร์และเป็นได้แม้กระทั่งวิศวกร  การทลายกำแพงการจัดหมวดหมู่ตามธรรมเนียมปฏิบัติเดิมที่สร้างขึ้นโดยการเปิดตัวหมวดหมู่ข้าม

สาขา มีจุดประสงค์เพื่ออัพเดตบัญชีรายชื่อนักวิจัยที่มีการอ้างถึงอย่างมากให้ทันสมัยและตรงประเด็น

 

ข้อค้นพบที่สำคัญ:

  • มีนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมากถึง 4000 กว่าคน ที่มีชื่ออยู่ใน 21 สาขาของวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมากจำนวนสูงสุด คือ 2,639 คน รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร 546 คน และตามมาด้วยจีน 482 คน มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเป็นสถาบันที่มีนักวิจัยตามบัญชีรายชื่อข้างต้นมากที่สุด
  • ท่ามกลางนักวิจัย 4,058 คน ที่มีชื่อว่าเป็นนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมากอยู่ในฐานข้อมูลวิจัย Essential Science Indicator (ESI) โดย 194 คน (หรือ 8%) มีชื่ออยู่ในงานวิจัย 2 สาขาของ ESI ยังมีนักวิจัยชั้นยอด 24 คน มาจากอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง ที่มีชื่ออยู่ในงานวิจัย 3 สาขา
  • ข้อสังเกตุใหม่ในปี 2018 มีนักวิจัยใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 คน ที่ถูกระบุว่ามีผลงานยอดเยี่ยมจากงานวิจัยที่มีผลกระทบอย่างสูงในสาขาต่างๆ มีหลายประเทศที่มีนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมากสูงกว่า 40% ที่ถูกเลือกให้อยู่ในหมวดหมู่ข้ามสาขา ได้แก่ สวีเดน (53%) ออสเตรีย (53%) สิงคโปร์ (47%) เดนมาร์ก (47%) จีน (43%) และเกาหลีใต้ (42%)
  • รายชื่อของปีนี้ยังคงยกย่องนักวิจัยผู้ที่มีบันทึกการอ้างอิงผลงานวิจัยในอันดับสูงสุดในแง่ของอิทธิพลและผลกระทบ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ได้รับรางวัลโนเบล 17 คน รวมถึงผู้ที่ได้รับการประกาศในปีนี้ 2 คน ได้แก่ เจมส์ พี. อัลลิสัน (สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์) และ วิลเลียม ดี. นอร์ดเฮาส์ (สาขาเศรษฐศาสตร์) นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ได้รับรางวัลการอ้างอิงผลงานวิจัยของ Clarivate Analytics 56 คน ซึ่งแต่ละคนเป็นผู้ที่เราได้ระบุว่าเป็นนักวิจัยใน “ระดับรางวัลโนเบล” และผู้ที่มีโอกาสเข้าชิงรางวัลโนเบล
  • สถาบันวิจัยแห่งออสเตรเลียยังคงสร้างผลงานที่น่าประทับใจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจำนวนของนักวิจัยที่ได้รับการยอมรับว่ามีการอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมากได้เพิ่มขึ้นเกินกว่าสองเท่าในระยะเวลา 4 ปี จากจำนวน 80 คนในปี 2014 กลายเป็น 170 คนในปี 2018 ท่ามกลางนักวิจัยเหล่านี้จะเป็นผู้วิจัยในหนึ่งสาขาหรือมากกว่าจากจำนวนทั้งหมด 21 สาขา  เห็นได้ชัดว่าสถาบันวิจัยแห่งออสเตรเลียมีจำนวนของนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมากเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่ปี 2014 เช่นเดียวกับจำนวนของนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมากในบ้านเกิดของเขาที่เพิ่มขึ้นด้วย
  • จีนยังคงอยู่ในอันดับต้นๆ ของบัญชีรายชื่อและสามารถไล่ทันเยอรมนีขึ้นมาอยู่ในอันดับที่สามจากบัญชีรายชื่อประเทศ 10 อันดับแรก
  • สถาบันวิจัยของรัฐบาลมีสถาบันที่มีชื่อเสียงและโดดเด่นด้านการวิจัยอย่างเช่น สถาบันสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบด้านการวิจัยทางชีวการแพทย์และงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งอยู่ในอันดับสองของบัญชีรายชื่อนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมาก สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งจีนและสมาคมแม๊กซ์แพล้งค์ก็ยังเป็นสถาบันวิจัยที่โดดเด่นใน 10 อันดับแรกเช่นกัน
  • มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยทำงานอย่างหนักเพื่อผลักดันให้เกิดผลงานวิจัยและเพื่อให้มีนักวิจัยที่มีการอ้างอิงถึงอย่างมาก (HCR) ภายในประเทศเพิ่มขึ้น จำนวนของนักวิจัยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักวิจัยที่มีการอ้างอิงถึงอย่างมาก (HCR) นั้นเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่านับจาก 0 คนในปี 2014 เป็น 11 คนในปี 2018 ซึ่งเป็นนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยหนึ่งสาขาหรือมากกว่าหนึ่งสาขาจาก 21 สาขาที่มี
  • นักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยในระดับสูงมากมาจากประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศ แต่มากกว่า 80% ของนักวิจัยเหล่านี้มาจาก 10 ประเทศที่มีรายชื่ออยู่ในตารางด้านล่าง และ 70% มาจากประเทศ 5 อันดับแรก – ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหนาแน่นของบุคคลากรที่มากความสามารถที่มารวมอยู่ในที่เดียวกัน

 

 

ประเทศ 10 อันดับแรกที่มีรายชื่อนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมาก (HCR)
ประเทศพร้อมกับจำนวนของนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมาก (HCR) สถาบันที่นักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมาก (HCR) สังกัด
สหรัฐอเมริกา (2639) 1 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, สหรัฐอเมริกา  (186)
สหราชอาณาจักร (546) 2 สถาบันสุขภาพแห่งชาติ –  (NIH),  สหรัฐอเมริกา (148)
จีนแผ่นดินใหญ่ (482) 3 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, สหรัฐอเมริกา (100)
เยอรมนี (356) 4 สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งจีน, จีน  (99)
ออสเตรเลีย (245) 5 สมาคมแม๊กซ์แพล้งค์, เยอรมนี (76)
เนเธอร์แลนด์ (189) 6 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ (64)
แคนาดา (166) 7 มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (59)
ฝรั่งเศส (157) 8 มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์, สหราชอาณาจักร  (53)
สวิสเซอร์แลนด์ (133) 9 มหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์, สหรัฐอเมริกา (51)
สเปน (115) 10 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลีส – (UCLA), สหรัฐอเมริกา  (47)

 

แอนเน็ต โธมัส (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และวิชาการ) อธิบายว่า “ความก้าวหน้าของความพยายามด้านวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นผ่านกิจกรรมที่สำคัญของสถาบันวิจัยแต่ละแห่งและในทั่วทุกประเทศ  รายชื่อนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมาก (HCR) ประจำปี 2018 จะช่วยในการระบุตัวผู้วิจัยที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อชุมชนงานวิจัยโดยการจัดอันดับตามงานวิจัยของพวกเขาที่คนอื่นได้อ้างอิงถึง และมีส่วนช่วยอย่างมากในการขยายขอบเขตงานและเพิ่มพูนความรู้และนวัตกรรมเพื่อสังคม – การมีส่วนช่วยเหลือเพื่อให้ผู้คนบนโลกมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีความปลอดภัยขึ้น มั่งคั่งขึ้น และยั่งยืน

 

วิธีการที่ใช้เพื่อตัดสินว่าใครที่เป็นนักวิจัยที่มีผลกระทบอย่างสูงเป็นการดึงข้อมูลและทำการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณมิติ (Bibliometric) จากสถาบันสารสนเทศวิทยาศาสตร์ที่ Clarivate Analytics โดยใช้ Essential Science Indicator ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เป็นมาตรวัดผลงานทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลแนวโน้มที่อ้างอิงจากจำนวนการตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการและข้อมูลการอ้างอิงผลงานวิจัยจาก Web of Science ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานผ่านเว็บไซต์ระดับพรีเมี่ยมของบทความวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงวิชาการที่มีจำนวนมากกว่า 33,000 เรื่อง  สามารถอ่านวิธีการของเราได้จากที่นี่

 

รายชื่อนักวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงานวิจัยอย่างมาก (HCR) ปี 2018 และบทสรุปผู้บริหารสามารถดูได้จาก https://clarivate.com/hcr/

สามารถติดตามเราได้ที่ Twitter @WebofScience, LinkedIn.com/company/clarivate-analytics และ Facebook.com/Clarivate.  #HighlyCited2018

 

เกี่ยวกับ Web of Science

Web of Science เป็นฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงผลงานวิจัยของนักวิจัยที่มีการตีพิมพ์ที่เชื่อถือได้และมีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลทั่วโลกและการวิเคราะห์การอ้างอิงผลงานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์  โดยมีการอ้างอิงผลงานวิจัยมากกว่า 1.4 พันล้านครั้งนับตั้งแต่ปี 1900 และมีผู้ใช้หลายล้านคนต่อวัน (ตั้งแต่หน่วยงานราชการและสถาบันวิชาการที่สำคัญ ไปจนถึงบริษัทที่มุ่งเน้นด้านการวิจัย) โดยเครือข่ายการอ้างอิงผลงานวิจัยใช้เป็นพื้นฐานสำหรับ Journal Impact Factor, InCites และมาตรวัดผลกระทบงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถืออื่นๆ นอกจากนี้ Web of Science ยังช่วยให้นักวิจัย สถาบันวิจัย ผู้ตีพิมพ์ และผู้ให้ทุนวิจัยสามารถค้นหาและประเมินผลกระทบของการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์มากกว่าศตวรรษซึ่งพบได้ในหนังสือที่มีชื่อเสียง เอกสารการประชุม และวารสารบทความวิจัยส่วนใหญ่

 

 

 

เกี่ยวกับ Clarivate Analytics

Clarivate™ Analytics เป็นผู้นำระดับโลกในการให้บริการข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ เพื่อเร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม  การสร้างผลงานที่สำคัญนี้ต้องย้อนกลับไปราว 150 ปี ซึ่งเราได้สร้างบางแบรนด์ที่เชื่อถือได้มาตลอดช่วงวัฏจักรชีวิตการสร้างสรรค์นวัตกรรม ได้แก่ Web of Science, Cortellis, Derwent, CompuMark, MarkMonitor และ Techstreet  ปัจจุบันนี้  Clarivate Analytics เป็นบริษัทใหม่และมีแนวทางในการทำงานเพื่อสร้างผู้ประกอบการที่มุ่งมั่น โดยช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถลดเวลาได้มากนับจากการริเริ่มแนวคิดใหม่และต่อยอดพัฒนาจนเกิดเป็นการสร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกได้  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูได้จากเว็บไซต์ clarivate.com

รอสอะตอมและจุฬาฯ ร่วมจัดบรรยายทางวิชาการ เวชศาสตร์นิวเคลียร์โดยได้รับความร่วมมือจากสนท.

รอสอะตอมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมจัดการบรรยายสาธารณะ เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้นิวเคลียร์ทางการแพทย์ โดยได้รับเกียรติจาก นส. เวโรนิกา เรฟโควา นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยวิจัยนิวเคลียร์แห่งชาติ (MEPhI) ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ในหัวข้อ “เวชศาสตร์นิวเคลียร์และกรณีศึกษาการนำไปใช้วินิจฉัยโรคและการบำบัดรักษาในสาขาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์” และ นายเอกภพ งามละเมียด วิศวกรนิวเคลียร์ชำนาญการจาก สนท. ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการการพัฒนาไซโคล ตรอนและการผลิตไอโซโทป

 

โดย สนท.เป็นสถาบันวิจัยชั้นนำที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อประโยชน์ของประเทศ หลังจากการก่อสร้างศูนย์ไซโคลตรอนแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะสามารถผลิตสารไอโซโทปรังสีแบบสเป็กต์ (SPECT) ได้เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาและการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง เพิ่มคุณภาพชีวิต และลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

 

ข้อมูลอ้างอิง:

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สนท.) มีการลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องไซโคลตรอนเมื่อ วันที่ 7 กันยายน 2560 โดยรอสอะตอมเป็นผู้จัดหาเทคโนโลยีสำหรับศูนย์ไซโคลตรอนและห้องปฏิบัติการสารเภสัชรังสีให้กับ สนท.

 

รอสอะตอม (บริษัทพลังงานปรมาณูของรัฐบาลรัสเซีย) คือองค์การของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก และเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของสหพันธรัฐรัสเซีย รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้เสียภาษีรายได้รายใหญ่ที่สุดของประเทศ เมื่อนับรวมสินทรัพย์ในด้านพลังงานนิวเคลียร์ การออกแบบและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และวิศวกรรมพลังงานนิวเคลียร์ รอสอะตอมคือบริษัทผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย โดยในปี 2017 ผลิตกระแสไฟฟ้ารวมได้ 202,868 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง (คิดเป็น 18.9% ของกระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตในรัสเซีย)

 

รอสอะตอมจัดอยู่ในอันดับแรกของโลกในแง่ของปริมาณงานที่มีโครงการอยู่ในต่างประเทศ (35 โรงไฟฟ้าใน 11 ประเทศ) อันดับที่สองของโลกในด้านปริมาณยูเรเนียมสำรองและอันดับสี่ของโลกในการทำเหมืองยูเรเนียม รอสอะตอมครอบคลุม 17% ของตลาดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทั่วโลก กิจการของรอสอะตอมได้แก่ การผลิตอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ไอโซโทปสำหรับใช้ในเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การวิจัยและพัฒนา วัสดุศาสตร์ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ การผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนิวเคลียร์และที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ กลยุทธ์ของรอสอะตอมคือการคาดการณ์เพื่อพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการผลิตพลังงานสะอาด รวมถึงวิศวกรรมพลังงานลม รอสอะตอมประกอบด้วยองค์กรและบริษัทต่างๆ กว่า 300 แห่ง รวมทั้งเรือทลายน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น

 

เที่ยวอุดรแบบเจาะลึก เส้นทางเที่ยวเต็มหัวใจ สัมผัสวัฒนธรรมล้ำค่า สินค้าคุณภาพหล่อเลี้ยงชุมชน

ตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมา สื่อมวลชนทั่วทั้งประเทศได้สัมผัสประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่จาก โครงการ “แอ่งเล็ก เช็คอิน ทั่วถิ่นอุดรฯ” โดยสำนักพัฒนาชุมชน จังหวัดอุดรธานี ที่ยก 81 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จาก 20 อำเภอ เปิดตัวเชื่อมโยงแอ่งเล็กสู่เส้นทางเมืองรองและเมืองท่องเที่ยวหลัก นำท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ดึงเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้กับชุมชนฐานราก ซึ่งจากนี้ สิ่งต่างๆจะเป็นหลัก เป็นรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับจังหวัดอุดรธานี

 

หากใครอยากเปิดประสบการณ์ใหม่ในจังหวัดอุดรธานี สามารถวางแผนตามเส้นทางเชื่อมเมืองหลักเมืองรองที่ไม่เป็นสองรองใคร สามารถทำได้ถึง  5 เส้นทาง ซึ่งทั้งหมดท่านจะได้สัมผัสวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชุมชน สินค้าจากรากหญ้ามากมายที่มีคุณภาพมาตรฐานและยังมีชีวิตจิตใจจากการถักทอปั่นแต่งจากใจของผู้คนในชุมชน

 

เส้นทางที่ 1 เชื่อมโยงอำเภอกุดจับ – อำเภอบ้านผือ – อำเภอน้ำโสม – อำเภอนายูง

เส้นทางนี้นักท่องเที่ยวจะได้ชมและชิมถั่วคั่วทรายกุดจับ วัฒนธรรมไทยพวนภูพระบาทบ้านผือ ถ้าบ่อน้ำผุดโสมทองและน้ำตกคำชะโนดอำเภอน้ำโสม และการผจญภัยล่องแกงท่องน้ำตกห้วยช้างพลายและกินข้าวป่าคีรีวงกต อำเภอนายูง ซึ่งการท่องเที่ยวเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดข้างเคียงคือ ปากชมและเชียงคาน จังหวัดเลย และสกายวอร์ค อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

 

เส้นทางที่ 2 เชื่อมโยงอำเภอประจักษ์ศิลปาคม – อำเภอหนองหาน – อำเภอกู่แก้ว – อำเภอไชยวาน

สำหรับเส้นทางนี้นักท่องเที่ยวจะได้แวะชมต้นจำปาพันปี วัดหลวงปู่ก่ำและทะเลบัวแดงที่อุ่มจาน ต่อด้วยบ้านพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีและเป็นบ้านที่เป็นต้นกำเนิดของคุณทองโบราณ แวะดูชุมชนทอผ้ามัดหมี่ที่บ้านหนองหลักอำเภอไชยวาน เส้นทางนี้นักท่องเที่ยวสามารถเชื่อมโยงไปต่อที่จังหวัดสกลนคร

 

เส้นทางที่ 3 เชื่อมโยงอำเภอโนนสะอาด – อำเภอกุมภวาปี – อำเภอศรีธาตุ – อำเภอวังสามหมอ

เส้นทางนี้เริ่มต้นที่บ้านหนองกุง ตำบลหนองกุงศรี ซึ่งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานการเรียนรู้กลุ่ม OTOP งานผ้ามัดหมี่และผ้าไหม เป็นหมู่บ้านนี้ยังเป็นหมู่บ้านรักษาศีลห้า ต่อด้วยบ้านเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี ที่ติดกับทะเลบัวแดง ชุมชนนี้มีผลิตภัณฑ์จากบัวแดงมากมาย เช่น ชาบัวแดง กลุ่มทอฝ้ายสีบัวแดง ส้มตำสายบัว ตำรากบัว และยังมีโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวได้อยู่เรียนรู้กับชุมชนอย่างใกล้ชิด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาชุมชนติดลำน้ำปาว เส้นทางนี้สามารถเชื่อมโยงไปจังหวัดกาฬสินธ์ุ

 

เส้นทางที่ 4 เชื่อมโยงอำเภอทุ่งฝน – อำเภอบ้านดุง – อำเภอเพ็ญ – อำเภอสร้างคอม

เส้นทางนี้จะเริ่มที่บ้านโนนสะอาด ชมศูนย์เรียนรู้จักสานคล้า ผลิตเป็นกระเป๋า ตะกร้า และอีกมากมาย แวะไปบ้านเหล่าหลวงใต้วัดป่าคำเจริญ ที่มี่มีผ้าทอ และงานจักสานมากมาย รวมถึงพานบายศรี เส้นทางคำชะโนดต่อด้วยบ้านสินเจริญ แวะกินปลาไหว้พระวัดป่านาไฮ สักการะพระธาตุเมืองเพ็ญที่ศรีสว่างวงศ์ฟังตำนานของแม่นางเพ็ญวีรสตรีแห่งสันติภาพที่เสียสละเพื่อให้บ้านเมืองอยู่รอด ชุมฝูงนกยูง๒๐๐ ตัวที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติและควายหากินในน้ำแวะบ้านไทย  เส้นทางนี้เชื่อมต่อหนองคายที่อำเภอโพนพิสัยและลัดออกสนามกอล์ฟที่หนองสองห้อง อำเภอเมืองหนองคายได้อีกด้วย

 

เส้นทางที่ 5 เชื่อมโยงอำเภอหนองแสง – อำเภอหนองวัวซอ – อำเภอพิบูลย์รักษ์ – อำเภอเมือง

 

เริ่มจากภูฝอยลมลัดมาบ้านผาสิงห์แวะวัดถ้ำสหายและดูกลุ่มหัตถกรรมบ้านผาสิงห์ ไปต่อบ้านหนองแวงพัฒนาดูชุมชนแปรรูปมะม่วงถ้าและน้ำตก เช้าไปบ้านห้วยสำราญ อำเภอเมือง ซึ่งเป็นหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเมืองที่บ้านโนนกอก ดูผ้าทอโบราณ และผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติที่มีความงดงามจากผลิตภัณฑ์บัวแดง ผ้ายกดอกขิดแล้วไปดูชุมชนทอผ้าย้อมครามที่บ้านดงยางพิบูลย์ก่อนแวะเข้าอุดหนุนผ้าจากตลาดผ้านาข่าซึ่งสามารถเชื่อมออกจังหวัดหนองคาย

จังหวัดอุดรธานี อุดมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติอันสวยงาม และเสน่ห์วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตคนในพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ล้ำค่าไปจนถึงอาหารอาหารท้องถิ่นที่โดดเด่น

จากโครงการนี้ จังหวัดอุดรธานีจะพัฒนาต่อยอด จะมุ่งเน้นการสร้างรายได้ให้ชุมชน ด้วยการสนับสนุนสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ดึงจุดเด่นของสิ่งที่ชุมชนมีมาต่อยอด พัฒนาการให้บริการและดึงนักท่องเที่ยวมาสัมผัสกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมเป็นการเผยของดีและแหล่งท่องเที่ยวที่แอบแฝงของดีอยู่ทั่วทุกชุมชน และสามารถสร้างรายได้จากเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถีเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอต่างๆ รอนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม

 

โครงการนี้จะสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชนให้เติบโตจากฐานรากได้อย่างยั่งยืนตามนโยบายรัฐ  นอกจากการนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นแล้ว โครงการนี้ยังเป็นพื้นฐานสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน ผู้คนจากรุ่นสู่รุ่นสามารถทำมาหากินอยู่กับถิ่นฐานได้อย่างมั่นคงและภาคภูมิใจในบ้านเกิด  ลดปัญหาการทิ้งถิ่นฐานสู่การหางานในเมืองหลวงและผลักดันชุมชนให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ครั้งแรกในไทย! แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัว KIPS เกมออนไลน์

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัว “Kaspersky Interactive Protection Simulation” เกมฝึกอบรมออนไลน์ หรือเรียกย่อๆ ว่า KIPS Online กับสื่อมวลชนไทยครั้งแรก เพื่อมุ่งเน้นความสำคัญของการทำงานร่วมกันเป็นทีมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรธุรกิจ

 

เกม KIPS Online นี้ เป็นส่วนต่อยอดจากการฝึกอบรม KIPS Live ซึ่งเป็นเกมออฟไลน์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยทั้งสองเวอร์ชั่นนี้เป็นการฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมความรู้แก่ผู้บริหารธุรกิจระดับสูงทั่วโลก

 

รูปแบบเกมที่ไม่ใช่เกมเศรษฐีโมโนโพลีที่คุ้นเคย

KIPS Online จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริงกับฝ่ายบริหารภายในองค์กรขนาดใหญ่ ด้วยประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนานถึงยี่สิบปีของแคสเปอร์สกี้ แลป เกม Kaspersky Interactive Protection Simulation จึงเน้นประเด็นที่เป็นความท้าทายของฝ่ายบริหารระดับสูง 2 ประเด็น คือ ความจำเป็นในการเตรียมพร้อมตอบสนองระดับสูงได้อย่างทันท่วงที และการแก้ไขสถานการณ์ภายในเวลาจำกัด

 

ความพยายามแก้ไขปัญหาจะลดค่าใช้จ่ายในการกอบกู้ความเสียหาย

จากรายงานการสำรวจ Corporate IT Security Risks ของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า องค์กรเอ็นเทอร์ไพรซ์จำนวน 51% เห็นพ้องต้องกันว่า การสาธิตผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ด้านความปลอดภัยไอทีเป็นเรื่องยาก ในการบริหารงานระดับสูงนั้น การดำเนินการที่รวดเร็วและสอดคล้องกันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยไอทีได้ เป้าหมายหลักอย่างหนึ่งของ KIPS Live และ KIPS Online ก็คือการเน้นย้ำประเด็นนี้นั่นเอง โดยเหตุการณ์ในเกมจะจำลองความท้าทายที่เกิดขึ้นจริง ในการฝึกอบรมนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับมอบหมายให้บริหารทรัพยากรองค์กรแบบอินเทอร์แอคทีฟ และจะต้องจัดการงบการเงินไปพร้อมๆ กับแก้ไขปัญหาความปลอดภัยไซเบอร์

 

เป้าหมายของแคสเปอร์สกี้ แลป คือการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยไซเบอร์ จึงได้จัดเตรียมเครื่องมือเพื่อให้ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยและองค์กรต่างๆ สามารถนำไปจัดฝึกอบรมได้อย่างอิสระ

 

นายสลาวา บอริลิน ผู้จัดการด้านโปรแกรมความเข้าใจด้านความปลอดภัยไซเบอร์ แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “เป้าหมายของ KIPS ไม่ใช่การฝึกอบรมความรู้เรื่องภัยคุกคาม แต่เป้าหมายของ KIPS คือการช่วยให้ผู้บริหารสามารถดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้นในสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ และประหยัดงบประมาณในการกู้คืนความเสียหาย เกม KIPS Online มีความยืดหยุ่นทั้งในแง่ขั้นตอนการฝึกอบรมและความสามารถในการบริหารระดับสูงในองค์กรข้ามชาติ”

 

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “องค์กรธุรกิจในประเทศไทย ควรเตรียมพร้อมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่แก้ไขยากที่สุดในทุกภาคส่วน แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำ KIPS Online ให้องค์กรธุรกิจไทยเพื่อสาธิตความร่วมมือในองค์กร ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม และการลดภัยคุกคามไซเบอร์ เกม KIPS Online แบบอินเทอร์แทคทีฟนี้มีความสนุกสนานควบคู่ไปพร้อมกับการเรียนรู้ภายในระยะเวลาสองชั่วโมงว่า ภัยคุกคามออนไลน์ทำงานอย่างไร บริษัทควรโต้ตอบการโจมตีอย่างไร และจะลดภัยคุกคามได้อย่างไร”

 

KIPS Online และ KIPS Live เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แคสเปอร์สกี้ แลป และตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • Kaspersky Interactive Protection Simulation

http://www.kaspersky.com/awareness

https://business.kaspersky.com/cybersecurity-awareness/5845/

  • Corporate IT Security Risks survey

https://business.kaspersky.com/security_risks_report_financial_impact/

 

4 ปัจจัยสำคัญในการเลือกโซลูชั่นบริหารจัดการเทเลมาร์เก็ตติ้ง แอสเพคตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรยักษ์ใหญ่ อาคเนย์ประกันภัยมั่นใจเลือกใช้ Aspect® Unified IP™

ปัจจุบันเทเลมาร์เก็ตติ้งเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับติดต่อ ให้บริการ สร้างสัมพันธภาพกับลูกค้า รวมถึงแจ้งข่าวสารข้อมูล โปรโมชั่นสินค้าและบริการ ต่างๆ  คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหน่วยงานเทเลมาร์เก็ตติ้งคือด่านหน้าขององค์กรที่ลูกค้าจะต้องพบเจอการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์ ทีมงานที่ดี และระบบบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม

 

นางจันทร์ฟ้า  คุณาวิวัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แอสเพค ซอฟต์แวร์ อิงค์ กล่าวว่า  

แอสเพคเป็นซอฟต์แวร์บริหารจัดการสำหรับงานคอนแท็คเซ็นเตอร์และเทเลมาร์เก็ตติ้งสัญชาติอเมริกา ได้รับรางวัลในฐานะผลิตภัณฑ์ Contact Center Application มากมาย รวมทั้งรางวัล Communications Solutions Product of the Year โดย TMCNet ล่าสุดได้รับรางวัล Frost & Sullivan Thailand Contact Center Applications Vendor of the Year 2017   แอสเพค เทอราบิท ได้ยกระดับการบริการลูกค้า ทั้งประสิทธิภาพและฟังค์ชั่นของ Aspect Unified IP® ที่เพียบพร้อมสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า  โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เราได้ร่วมงานกับอาคเนย์ นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในการทำงานร่วมกับทีมงานเทเลมาร์เก็ตติ้ง  อาคเนย์ประกันภัย แอสเพคขอขอบคุณอาคเนย์ประกันภัยที่ให้ความไว้วางใจในระบบบริหารจัดการของเรา เรายินดีที่จะได้ทำงานร่วมกับอาคเนย์ต่อไปในอนาคตเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากลยุทธ์ในการรักษาสัมพันธภาพลูกค้า”

 

นางลดาพร จุลทอง รองประธานกรรมการ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) แนะนำเคล็ดลับในการบริหารเทเลมาร์เก็ตติ้งให้ได้ประสิทธิภาพ “เรามีผู้ช่วยเป็นซอฟต์แวร์ของแอสเพค  ในการบริหารจัดการการติดต่อลูกค้าอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า”

 

“นอกจากนี้  ปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่เรามองหาเวลาเลือกโซลูชั่นบริหารจัดการเทเลมาร์เก็ตติ้ง ได้แก่

1) Ease of Use ต้องใช้งานง่ายถึงง่ายที่สุด รวมถึง UI ที่เข้าใจง่าย ประหยัดเวลาฝึกอบรมพนักงานในการใช้งาน

2) Ease of Management บริหารจัดการข้อมูลและปริมาณการติดต่อลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

3) Easy Reporting มีฟังค์ชั่นจัดทำรายงานที่ใช้งานได้ง่ายและสามารถนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการขายได้  และ

4) Quick Response ต้องปรับโหมดการทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อบริหารข้อมูลลูกค้าที่หลากหลายให้เหมาะสมจำนวนบุคลากรในทีม และเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการติดต่อลูกค้า

 

อาคเนย์ได้เลือก Aspect®  Unified IP™ โซลูชั่น เพราะมีทั้งสี่ข้อนี้รวมอยู่ในแพลตฟอร์มเดียว ช่วยเราได้มากในเรื่องการบริหารจัดการแคมเปญและกลยุทธ์ในการโทรติดต่อลูกค้า”

 

 

 

 

เกี่ยวกับ แอสเพค ซอฟต์แวร์

แอสเพค ช่วยให้องค์กรต่างๆ แก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคล กระบวนการ ระบบ และแหล่ง ข้อมูล โดยช่วยให้องค์กรสามารถรวมเอาศักยภาพทั้งหมดมาผสานกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อมุ่งสู่งานให้บริการลูกค้า  เราพัฒนาระบบ  Contact Center Interactive Management  ระบบ Workforce Management  และระบบ Self-service  ภายในศูนย์บริการลูกค้าหนึ่งเดียว  โดยระบบจะสร้างการปฏิสัมพันธ์ผ่านการสนทนาโต้ตอบที่ฉับไวและมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าในทุกช่องทางการสื่อสารโดยไม่สะดุด  อาศัยความคล่องตัวของโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ทั่วโลกของเรา และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมานานกว่า 40 ปี ทำให้แอสเพคสามารถเชื่อมโยงคำถามให้เข้ากับคำตอบได้อย่างสะดวกง่ายดาย  ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยให้องค์กรรักษาระดับการให้บริการให้คงอยู่ในระดับสูง และควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจไปพรอ้มๆ กัน  สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดเยี่ยมชมที่เว็บไซท์www.aspect.com

 

คุณสามารถติดตามเราได้บนทวิตเตอร์ @AspectSoftware หรืออ่านบล็อคของเราได้ที่ http://blogs.aspect.com

 

เกี่ยวกับอาคเนย์

อาคเนย์ กลุ่มธุรกิจประกันและการเงิน เป็นหนึ่งในสายธุรกิจหลักของกลุ่มทีซีซี โดยนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งปัจจุบันกลุ่มอาคเนย์ประกอบด้วย 3 บริษัทหลักได้แก่ บริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)  บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และบริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จำกัด  หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.segroup.co.th