ไหว้พระทั่วไทย สุขใจถ้วนหน้า @จันทบุรี

เข้าพรรษานี้ ชวนทำดี กับ ททท.สำนักงานระยองฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย!!! รับจำนวน ๕๐๐ คน เท่านั้น วันที่ ๒๗-๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑

 

เส้นทางที่ ๑ “อิ่มบุญ สุขใจ ไหว้พระ ๕ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๒ ศาสนา ๓ นิกาย “

รถออกจากศาลหลักเมืองจันทบุรี

รอบเช้า เวลา ๐๘.๓๐ น. รอบละ ๕๐ คน เท่านั้น

รอบบ่าย เวลา ๑๓.๓๐ น. รอบละ ๕๐ คน เท่านั้น

 

๑.ศาลหลักเมืองจันทบุรี

๒.ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๓.อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล (โรมันคาทอลิก)

๔.วัดไผ่ล้อม (มหานิกาย)

* แวะเที่ยวชม ชิม ช้อป ชุมชนขนมแปลก ริมคลองหนองบัว วันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒๘,๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑

๕.วัดมังกรบุปผาราม (มหายาน)

 

เส้นทางที่ ๒ “เที่ยว ถ่าย ธรรม” เที่ยววัดสวย ถ่ายรูป ไหว้พระขอพร”

รถออกจากวัดไผ่ล้อม เวลา ๐๘.๓๐ น. รับจำนวน ๕๐ คน เท่านั้น

 

๑.วัดไผ่ล้อม

๒.อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล

๓.วัดพลับ บางกะจะ

 

* แวะเที่ยวชม ชิม ช้อป ตลาดทุบหม้อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑

๔.วัดตะปอนน้อย

๕.วัดตะปอนใหญ่

 

*แวะเที่ยวชม ชิม ช้อป ตลาดโบราณ ๒๗๐ ปี ของดีบ้านตะปอนใหญ่ วันเสาร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑

๖.วัดเกวียนหัก

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานระยอง โทร.๐๓๘-๖๕๕๔๒๐-๑ หรือ facebook: ททท.สำนักงานระยอง

 

เสริมบุญช่วงเข้าพรรษา ‘ไหว้พระทั่วไทย…สุขใจถ้วนหน้า’ ณ ระยอง

วันหยุดยาวเข้าพรรษานี้ ชวนมาเที่ยวระยอง อิ่มบุญ สุขใจ ไหว้พระ เสริมบารมี ช่วงเทศกาลเข้าพรรษากับกิจกรรม “ไหว้พระทั่วไทย…สุขใจถ้วนหน้า” ณ ระยอง ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑

 

เส้นทางที่ ๑ “เที่ยวระยอง อิ่มบุญ สุขใจ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์”

รถออกจาก วัดเนินพระ รอบแรก เวลา ๐๘.๓๐ น.

๑.สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดเนินพระ หรือวัดมรคากันดาร อ.เมือง

๒.สักการะพระนอนตะแคงซ้ายองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและลอดใต้โบสถ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ณ วัดป่าประดู่ อ.เมือง

๓.แวะสักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ณ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล อ.เมือง

๔.ชมสถาปัตยกรรมและสักการะพระเจดีย์กลางน้ำ ณ วัดปากน้ำ อ.เมือง

๕.ชมอุโบสถเก่าแก่ที่มีอายุหลายร้อยปี สักการะหลวงพ่อขาว ณ วัดโขด (วัดทิมธาราม) อ.เมือง

 

เส้นทางที่ ๒ “เที่ยวระยอง สักการะเกจิดัง สร้างบุญ เสริมบารมี”

รถออกจาก วัดเนินพระ รอบแรก เวลา ๐๘.๓๐ น.

๑.สักการะหลวงปู่ทิม อิสริโก เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของภาคตะวันออก ณ วัดละหารไร่  อ.บ้านค่าย

๒.สักการะพระครูสุภัททาจารคุณ (หลวงพ่อสิน ภทฺทาจาโร) พระเกจิซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาว จ.ระยอง ณ วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย

๓.สักการะหลวงพ่อสาคร มนุญโญ หรือพระครูมนูญธรรมวัตร อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นศิษย์ผู้สืบทอดพุทธาคมจากหลวงปู่ทิม อิสริโก ณ วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย

 

บริการรถนำเที่ยว ๒ เส้นทาง เส้นทางละ ๒ รอบ รอบละ ๓๕ ท่านเท่านั้น! (ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง)

รอบเช้า > เวลา ๐๘.๓๐ น.

รอบบ่าย > เวลา ๑๓.๓๐ น.

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ ททท.สำนักงานระยอง โทร. ๐๓๘-๖๕๕-๔๒๐-๑ หรือ Facebook: ททท.สำนักงานระยอง

พาเที่ยวถ้ำในอาเซียน ทั้งสวย ทั้งใหญ่ติดอันดับโลก

ว่าด้วยเรื่องถ้ำ…หลังจากมีข่าวดังของเด็กๆและโค้ชเอกจากทีมหมูป่าอคาเดมี่ รวม 13 ชีวิตติดในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก

ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

ทำให้ถ้ำหลวงกลายเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเชียงรายไปโดยปริยาย ซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก เดินทางมาสัมผัสถ้ำหลวงจากข่าวดังในช่วงเวลาที่ปลอดภัยอีกแน่นอน

ทั้งนี้ถ้ำหลวง เป็นวนอุทยานในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน มีเนื้อที่ 5,000 ไร่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 โดยกรมป่าไม้ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 60 กม. มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาขนาดใหญ่หลายลูกติดต่อกัน มีความสูงโดยเฉลี่ย 779 เมตร และลาดชันมาทางทิศตะวันออก และทางตะวันตกติดกับชายแดนประเทศเมียนมา

ความลึกลับภายในถ้ำหลวง

ถ้ำหลวงยังถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 ถ้ำสวยในไทย ลึกลับ แต่น่าค้นหา นอกจากนี้นักธรณีวิทยาได้จัดลำดับให้ถ้ำหลวงเป็นถ้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทยอีกด้วย

ถ้ำ Son Doong ประเทศเวียดนาม

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดเรื่องถ้ำแล้ว หลายคนยังไม่รู้ว่าถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ไม่ไกลจากไทย นั่นคือถ้ำ Son Doong ในเวียดนาม อยู่ จ.Quang Binh ติดชายแดนลาว นักสำรวจอังกฤษค้นพบในปี 2009

นทท.ตั้งเต็นท์พักค้างคืนในถ้ำ Son Doong
ขั้นบันไดธรรมชาติในถ้ำ Son Doong

ภายในเป็นถ้ำใหญ่มาก ยาว 9 กม. กว้าง 200 เมตร และสูง 150 เมตร แยกเป็นถ้ำอื่นได้อีก มีแม่น้ำผ่ากลางสวยมาก การเดินทางแอดเวนเจอร์สุดๆ ต้องจอดรถแล้วเดินประมาณ 10 กิโลเมตรถึงปากถ้ำ แล้วก็เดินเข้าข้างในซึ่งมีความลึกมาก ใช้เวลาหลายวัน

ปากถ้ำ Son Doong

เวลาไปต้องจองทัวร์ข้ามปี ราคาประมาณ 140,000 บาท ต้องจอยกรุ๊ปกับ นทท.ต่างชาติ มีไกด์ฝรั่งนักสำรวจถ้ำ มีลูกหาบเป็นคณะใหญ่เลย ใช้เวลาไปกลับประมาณ 5 วัน กินนอนในถ้ำ ถ้าวันแรกเดินไม่ถึงจุดหมาย ก็ส่งกลับแถมไม่มีการคืนเงินใดๆทั้งสิ้น

วิวของถ้ำ Son Doong จากรายการเถื่อน Travel
คาราวานสำรวจถ้ำ Son Doong ภาพจากรายการเถื่อน Travel

มีคลิปจากรายการเถื่อน Travel เคยไปถ่าย การเดินทางทรหดสุดๆ ใครอยากตามรอยลองชม…

นอกจากนี้หลายคนยังไม่รู้ว่า ถ้ำใหญ่ติดอันดับโลกอยู่ในอาเซียนหลายที่เลย เพราะถ้ำที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก คือ Deer Cave เป็นส่วนหนึ่งของถ้ำซาราวัค แซมเบอร์ ในอุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu)บนเกาะบอร์เนียว มาเลเซีย ที่นี่มีที่เที่ยวธรรมชาติหลายอย่างเลย สวยๆทั้งนั้น

Deer Cave มาเลเซีย
ความยิ่งใหญ่ของ Deer Cave มาเลเซีย
ความสวยงามของอุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu)
วิวภูเขาหินของอุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu)

หากใครสนใจ ลองหาเวลาว่างไปสัมผัสประสบการณ์การเที่ยวถ้ำทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่ต้องระมัดระวังไปในช่วงฤดูที่เหมาะสม พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ ไม่ให้ติดถ้ำซ้ำรอยน้องๆทีมหมูป่ากันนะจ๊ะ

แคสเปอร์สกี้ แลป แนะวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงยุคดิจิทัลให้ปลอดภัย

แคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับบริษัทวิจัย Opeepl สำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนจำนวน 7,740 คน ใน 15 ประเทศทั่วโลก* เพื่อศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีต่อความปลอดภัยของสัตวเลี้ยง ปรากฏว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงในบ้าน ทุกๆ หนึ่งในห้าคนจะใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อคอยสอดส่อง หรือเพื่อดูแลความปลอดภัยสัตว์เลี้ยงของตน และพบว่าผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จำนวน 39% กลับก่อความเสี่ยงต่อสัตว์เลี้ยง หรือต่อผู้เป็นเจ้าของเสียเอง

 

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แคสเปอร์สกี้ แลป ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับจุดบอดในอุปกรณ์ติดตามหมาแมวที่ผู้ร้ายไซเบอร์สามารถใช้เป็นช่องลักลอบขโมยข้อมูลที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของก็ได้ ในการวิจัยล่าสุดพบว่าเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของหมาแมวนั้นมีมากกว่าเครื่องติดตามตัว (trackers) อุปกรณ์ที่ถูกพูดถึงในหมู่ผู้เข้าร่วมการสำรวจมากที่สุดคือ เว็บแคมสำหรับดูพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีเกมให้สัตว์เลี้ยงเล่น ของเล่นดิจิทัล ฟีดเดอร์ให้อาหารอัตโนมัติ/ตู้กินน้ำ และอื่นๆ มากมาย

 

อย่างไรก็ตาม อะไรเป็นตัวรับรองว่าตัวควบคุมอุณหภูมิจะไม่ทำงานบกพร่องจนน้ำในตู้ปลาร้อนเกินไป หรือเครื่องให้อาหารอัตโนมัติที่ไม่ตอบสนองต่อคำสั่งจะไม่ปล่อยให้แมวหิวโหย เป็นต้น กรณีเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่น่าเศร้าและทรมานทั้งต่อสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ จากการสำรวจข้อมูล พบตัวอย่างว่า จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์เลี้ยงจำนวนครึ่งหนึ่งนั้นต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้ ย่อมเป็นช่องทางที่ผู้ร้ายไซเบอร์ใช้ได้เช่นกัน ผู้เข้าสำรวจ 14% เผยว่าอุปกรณ์ของพวกเขาเคยถูกแฮกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ปัญหาอื่นที่เคยประสบ ได้แก่ อุปกรณ์หยุดทำงานหรือเริ่มมีอาการผิดปกติ ซึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจส่วนใหญ่แจ้งว่าเป็นความเสี่ยงถึงชีวิตของสัตว์เลี้ยง (32%) สุขภาพ (32%) สุขภาพจิตของสัตว์เลี้ยง (23%) และแม้แต่สุขภาพจิตของเจ้าของเอง (19%)

 

เดวิด เอมม์ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “เทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตของเรารวมทั้งสัตว์เลี้ยงเพื่อนรักขนปุยของเราสะดวกสบายขึ้น เทคโนโลยีอาจนำมาใช้ป้องกันสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัย ดูแลและทำให้สัตว์เลี้ยงสบายตัวได้ แต่ก็มีความเสี่ยงในการใช้งานเช่นเดียวกับอุปกรณ์ดิจิทัลทั่วไป ที่มีข้อบกพร่อง เสียพัง รวน หรือถูกแฮกได้ทั้งนั้น เพื่อเลี่ยงผลอันไม่เป็นที่พึงประสงค์ จึงต้องมีมาตรการเพื่อความปลอดภัยแบบง่ายๆ และมีแผนสำรองกรณีที่อุปกรณ์ชำรุด ทำงานบกพร่อง หรือโดนแฮก และแน่นอนว่า จะจำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ดิจิทัลอย่างรอบคอบระมัดระวัง เน้นสวัสดิภาพความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของคุณและครอบครัว”

 

ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้ แลป แนะนำข้อปฏิบัติง่ายๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณจะปลอดภัย ดังนี้

  • หากคุณเป็นเจ้าของสมาร์ทโฮม คุณควรจัดการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อการดูแลสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในบ้านของคุณ เช่นตัวอย่างในวิดีโอของพนักงานของแคสเปอร์สกี้ แลป ที่ดูแลสัตว์เลี้ยงที่อาศัยในสมาร์ทโฮมด้วยกัน (ดูวิดีโอที่นี่)
  • ก่อนตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ใช้งาน ควรให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องช่องโหว่ต่างๆ ได้ทางออนไลน์ ซึ่งหาได้ไม่ยาก เนื่องจากส่วนมากจะได้รับการทดสอบวิจัยมาก่อนที่จะวางตลาด ดังนั้ จึงไม่น่าจะยากที่จะตรวจสอบว่าข้อบกพร่องที่มีนั้นได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง ทางเลือกที่ดีที่สุด คือซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการอัพเดทมาแล้วหลายครั้ง
  • ก่อนเริ่มต้นใช้งาน ควรเปลี่ยนพาสเวิร์ดที่ติดมากับอุปกรณ์ให้เป็นพาสเวิร์ดที่แข็งแกร่งและซับซ้อน
  • ไม่ควรให้คนนอกแอคเซสเข้าอุปกรณ์ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นเฉพาะด้านเท่านั้น
  • ปลดการต่อเชื่อมทุกประเภทที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอุปกรณ์นั้น
  • หมั่นอัพเดทเฟิร์มแวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  • แคสเปอร์สกี้ แลป ได้ออกโซลูชั่นสำหรับการใช้งานสมาร์ทโฮมและอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ เพื่อการป้องกันอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ คือ “Kaspersky IoT Scanner” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บนแอนดรอยด์แพลตฟอร์ม ทำการสแกนเน็ตเวิร์ก Wi-Fi รายงานอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกันอยู่ และระดับของความปลอดภัย

 

*งานวิจัยทางออนไลน์นี้ทำการสำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ใช้สมาร์ทโฟนอย่างน้อยที่สุดจำนวนหนึ่งเครื่อง ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในประเทศสิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก โคลัมเบีย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส เบลเยี่ยม ตุรกี และรัสเซีย

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • รายงานเรื่อง I know where your pet is

https://securelist.com/i-know-where-your-pet-is/85600/

  • วิดีโอเรื่อง Can software keep your pets safe?

https://www.youtube.com/watch?v=-fh4RhzB3Eg

‘บงชูร์ฟร็องซ์ 2018’ มหกรรมงานแสดงสินค้าฝรั่งเศสเพียงหนึ่งเดียวในปีนี้ ณ เซ็นทรัลเวิลด์

หอการค้าฝรั่งเศส – ไทยเตรียมจัดงานบงชูร์ฟร็องซ์ “Bonjour France 2018″ มหกรรมงานแสดงสินค้าจากฝรั่งเศสสำหรับผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกครั้ง ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในช่วงเวลาของเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 12-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เพื่อแสดงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวฝรั่งเศสผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพชั้นนำต่างๆ นอกจากนี้ ยังจะนำเสนอ L’Etape Thailand by Le Tour de France (เลแทปไทยแลนด์ บายเลอตูร์เดอฟร็องซ์) งานแข่งจักรยานที่ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสที่ทั่วโลกรู้จักที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย

 

ฯพณฯ มร.จิลส์ การาชง เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยรู้จักกันมายาวนานกว่า 300 ปี และมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่เริ่มขึ้นเมื่อกว่า 160 ปีมาแล้ว จึงนับว่าฝรั่งเศสและไทยเป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่กัน  งาน Bonjour France 2018 จึงไม่ใช่แค่งานแสดงสินค้า แต่เป็นโอกาสที่ดีที่เพื่อนๆ จะได้มาพบกัน และเรียนรู้วัฒนธรรมที่ชาวฝรั่งเศสภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านอาหาร แฟชั่น หรือไลฟ์สไตล์”

“ปีนี้ ประเทศฝรั่งเศสภูมิใจนำเสนองานใหญ่ในประเทศไทยถึง 2 งาน ได้แก่ Bonjour France 2018 ที่เซ็นทรัลเวิลด์และ L’Etape Thailand by Le Tour de France ที่จังหวัดพังงา ที่เชื่อว่า ไม่เพียงจะสร้างความประทับใจให้กับคนไทยและทุกคนที่มาร่วมงานเท่านั้น แต่ยังจะทำให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจวัฒนธรรม และตระหนักว่าผลิตภัณฑ์แบรนด์คุณภาพสูงของฝรั่งเศสนั้นเหมาะสำหรับทุกคนโดยเฉพาะคนไทยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้เรายังจะได้เฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสร่วมกันที่ Groove ในเย็นวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคมในบรรยากาศแบบเดียวกับที่จะได้สัมผัสเมื่ออยู่ในประเทศฝรั่งเศส” ท่านทูตจิลส์กล่าวเสริม

มร. อเล็กซอง ดูปอง ประธานหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับงานนี้ว่า “ บงชูร์ฟร็องซ์ 2018 จะเป็นงานแสดงสินค้าฝรั่งเศสเพียงงานเดียวในปีนี้ที่จัดโดยหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย โดยจะนำเสนอสินค้าและบริการของฝรั่งเศสรวม 50 บูธ ทั้งสินค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทยอยู่แล้ว และสินค้าใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยนำเข้ามาในประเทศไทยมาก่อน วัตถุประสงค์หลักของเราคือการส่งเสริมความรู้และวัฒนธรรมการกินอยู่แบบฝรั่งเศส ศิลปะในการชีวิต หรือ art de vivre ซึ่งคนไทยและคนทั่วโลกชื่นชมและชื่นชอบ ที่พิเศษในปีนี้คือ เราจะมีงาน L’Etape Thailand by Le Tour de France มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมทกิจกรรมด้านกีฬาของฝรั่งเศส  ตลอดจนแบรนด์แฟชั่นแนวสปอร์ตที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส เช่น ลาคอสท์ Lacoste เป็นต้น”

นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูฟ เอเชีย จำกัด ในฐานะผู้จัดงานเลแทปไทยแลนด์ บายเลอตูร์เดอฟร็องซ์ (L’Etape Thailand by Le Tour de France) กล่าวว่า “เป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งสำหรับบริษัทมูฟ เอเชียที่จะมาร่วมโปรโมทงาน L’Etape Thailand by Le Tour de France ในงานแสดงสินค้าฝรั่งเศสที่ยิ่งใหญ่อย่าง Bonjour France 2018 เรามีความภาคภูมิใจที่ได้นำงานมหกรรมกีฬาระดับโลกมาจัดขึ้นในประเทศไทย และเราเป็นประเทศแรกที่จัดการแข่งขันนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในงาน Bonjour France 2018 เรามีจะกิจกรรมมากมายเพื่ออุ่นเครื่องกระตุ้นความสนุกก่อนวันจริงที่จะเกิดขึ้นที่จังหวัดพังงาระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นักปั่นจักรยานสามารถลงทะเบียนได้โดยตรงที่บูธของงานบริเวณโซนบีคอน 3 (Beacon 3)  ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในช่วงงาน Bonjour France 2018 และรับของสมนาคุณมากมายภายในงาน”

ไฮไลท์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในงาน Bonjour France 2018

  • สินค้าคุณภาพนำเข้าโดยตรงจากประเทศฝรั่งเศส รวมถึงสินค้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีขายมาก่อน
    • ขนมและขนมอบอันเลื่องชื่อของชาวฝรั่งเศส
    • อาหารและอาหารสำเร็จรูป/ ไวน์และสุรารสเยี่ยมจากฝรั่งเศส
    • เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แฟชั่น รวมถึงนาฬิกาและเครื่องประดับ
    • เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและผม

 

  • โซนท่องเที่ยว พบกับ Atout France (สำนักงานการท่องเที่ยวฝรั่งเศส), สายการบินแอร์ฟรานซ์ และตัวแทนการท่องเที่ยวที่จะมานำเสนอแพ็กเกจทัวร์ และเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ ในประเทศฝรั่งเศส
  • โซนการศึกษา: Campus France (หน่วยงานฝรั่งเศสที่ให้ข้อมูลการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส), Alliance française
    (สมาคมฝรั่งเศส), Study Wiz จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนภาษาฝรั่งเศสและการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส
  • กิจกรรมและการแสดงบนเวทีตลอดงานทั้ง 4 วัน อาทิ สาธิตปรุงอาหารฝรั่งเศส สาธิตการแต่งผม เพลงฝรั่งเศส  ฯลฯ
  • ลุ้นรับตั๋วเครื่องบินกรุงเทพ – ปารีสสำหรับ 2 ท่านจากสายการบินแอร์ฟรานซ์ และรางวัลอื่นๆ อีกมากมายเมื่อซื้อสินค้าครบทุก 2,000 บาท
  • รับบัตรของขวัญ Starbucks มูลค่า 100 บาท เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีครบทุก 5,000 บาท

Bonjour France 2018 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์โดยการสนับสนุนจากสถานทูตฝรั่งเศสและเซ็นทรัลเวิลด์ 

แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย คาดการณ์ภัยไซเบอร์ครึ่งหลังปี 2018: ภัยไซเบอร์ขั้นสูงเพิ่มความแกร่ง แถมพ่วงทูลใหม่ร้ายแรง

เมื่อช่วงต้นปีนี้ทีมวิเคราะห์และวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป (Global Research and Analysis Team – ทีม GReAT) ได้เปิดโปงขบวนการภัยคุกคามทางไซเบอร์หลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มล้วนมีความซับซ้อน ใช้ทูลและเทคนิคขั้นสูง เช่น Slingshot, OlympicDestroyer, Sofacy, PlugX Pharma, Crouching Yeti, ZooPark และล่าสุด Roaming Mantis เป็นต้น

Slingshot จัดเป็นภัยไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนใช้ในการจารกรรมทางไซเบอร์ในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาอย่างน้อยน่าจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2012 จนกระทั่งกุมภาพันธ์ 2018 โดยตัวมัลแวร์จะทำการโจมตีปล่อยเชื้อใส่เหยื่อผ่านเราเตอร์ที่มีช่องโหว่ และทำงานอยู่ในเคอร์เนลโหมด (kernel mode) สามารถเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเหยื่อได้อย่างสมบูรณ์

OlympicDestroyer เป็นมัลแวร์ที่ใช้เทคนิคสร้างความเข้าใจผิด (false flag) โดยฝังมาในเวิร์ม ล่อให้ตัวตรวจจับหลงทางพลาดเป้าหมายมัลแวร์ตัวจริง ดังที่เป็นข่าวใหญ่โตในช่วงโอลิมปิกฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านมา

Sofacy หรือ APT28 หรือ Fancy Bear เป็นกลุ่มก่อการจารกรรมไซเบอร์ที่ออกปฏิบัติการก่อกวนอยู่เนืองๆ ได้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายมายังตะวันออกไกล หันเหความสนใจมายังองค์กรด้านการทหารและป้องกันประเทศ ด้านการทูต นอกเหนือไปจากเป้าหมายที่มักเกี่ยวโยงกับองค์การนาโต้

PlugX เป็นมัลแวร์เกี่ยวกับทูลในการทำรีโมทแอคเซส (RAT) เป็นที่รู้จักดี เมื่อเร็วๆ นี้ถูกตรวจพบในองค์กรด้านเวชภัณฑ์ที่เวียดนาม มุ่งหวังโจรกรรมสูตรยาที่มีค่ายิ่งและข้อมูลด้านธุรกิจ ประเทศไทยเองก็ถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งในสามที่องค์กรธุรกิจด้านเวชภัณฑ์ถูกโจมตีมากที่สุด

Crouching Yeti เป็นกลุ่ม APT ใช้ภาษารัสเซียที่ถูกตามรอยมาตั้งแต่ปี 2010 เป้าหมายอยู่ที่ธุรกิจอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่ด้านพลังงาน เทคนิคการโจมตีที่พบใช้งานแพร่หลายได้แก่ บ่อน้ำ (watering hole)

ZooPark เป็นเคมเปญจารกรรมไซเบอร์ เหยื่อเป้าหมายคือผู้ที่ใช้แอนดรอยด์ดีไวซ์ในแถบประเทศตะวันออกกลาง อาศัยแพร่กระจายเชื้อร้ายผ่านทางเว็บไซต์ยอดนิยมที่มียอดผู้เข้าใช้งานสูง น่าจะเป็นเคมเปญที่มีรัฐบาลประเทศใดประเทศหนึ่งหนุนหลัง เน้นโจมตีองค์กรการเมืองหรือนักรณรงค์ทางการเมืองในภูมิภาคนี้

Roaming Mantis เป็นแอนดรอยด์มัลแวร์ล่าสุด แพร่กระจายด้วยการจี้ปล้นระบบโดเมนเนม (DNS) และพุ่งเป้าหมายไปที่สมาร์ทโฟนส่วนมากในเอเชีย และยังคงออกอาละวาดก่อกวนอย่างต่อเนื่อง ออกแบบมาเพื่อโจรกรรมข้อมูลของผู้ใช้ จากนั้นเข้าควบคุมแอนดรอยด์ดีไวซ์นั้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และเมษายนปี 2018 นักวิจัยได้ตรวจับมัลแวร์นี้ได้จาก 150 ยูสเซอร์เน็ตเวิร์ก เช่น เกาหลีใต้ บังคลาเทศ และญี่ปุ่น

ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยจากแคสเปอร์สกี้ แลปยังได้ค้นพบกิจกรรม APT จำนวนมากในแถบเอเชีย โดยรายงานต่างๆ ในไตรมาสแรกของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ระบุถึงปฏิบัติการภัยไซเบอร์ในภูมิภาคนี้มากกว่า 30% พบกิจกรรมที่ใช้เทคนิคใหม่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง เช่น StrongPity APT ที่ปล่อย Man-in-the-Middle (MiTM) ออกมาโจมตีเน็ตเวิร์กของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หลายครั้ง และผู้ก่ออาชญากรรมไซเบอร์ที่มากด้วยทักษะอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ Desert Falcons ได้วกกลับมาก่อกวนแอนดรอยด์ดีไวซ์ด้วยการปล่อยมัลแวร์ที่เคยใช้งานเมื่อปี 2014 นักวิจัยยังพบด้วยว่าหลายกลุ่มยังคงปล่อยเคมเปญเน้นเป้าหมายการโจมตีไปที่เราเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้กับเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมาหลายปี เช่น Regin และ CloudAtlas เป็นต้น จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า เราเตอร์จะยังคงเป็นเป้าหมายโจมตีอยู่เช่นนี้เพราะเป็นช่องทางเข้ายึดโครงสร้างระบบของเหยื่อได้อย่างดี

“ช่วงครึ่งแรกของปีพบกลุ่มคุกคามไซเบอร์ที่มีทักษะมีความซับซ้อนทางเทคนิคในระดับต่างๆ เกิดขึ้นใหม่หลายกลุ่ม แต่โดยรวมแล้ว กล่าวได้ว่า ต่างก็ใช้มัลแวร์ทูลที่มีอยู่แล้วทั่วไป ในขณะเดียวกัน กลับไม่พบความเคลื่อนไหวสำคัญใดจากกลุ่มดังๆ บางตัว ทำให้เราเชื่อว่าพวกนี้อาจจะกำลังคิดวางกลยุทธ์และจัดวางทีมใหม่เพื่อปฏิบัติการในอนาคต” วิเซนเต้ ดีแอซ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส ทีม GReAT แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว

 

คาดการณ์ช่วงครึ่งหลังของปี 2018

  1. มีการโจมตีซัพพลายเชนมากขึ้น แคสเปอร์สกี้ แลปตามแกะรอยกลุ่ม APT (advanced persistent threat) และปฏิบัติการของพวกนี้ได้ถึง 100 ครั้ง บางครั้งมีความซับซ้อนเหลือเชื่อ มีหลุมพรางมากมายที่ซ่อน zero-day exploits และ fileless attack tools พร้อมด้วยเทคนิคการแฮคแบบดั้งเดิม ที่ส่งต่อให้กับทีมที่เก่งเทคนิคเพื่อโจรกรรมข้อมูล เราจะเห็นว่ามีหลายกรณีที่แอคเตอร์พยายามเจาะเข้าเป้าหมายมาเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ อาจเป็นเพราะเป้าหมายที่ถูกโจมตีนั้นใช้ซอฟต์แวร์เพื่อความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่ง จัดอบรมให้ความรู้พนักงาน จึงไม่ตกเป็นเหยื่อผ่านวิศวกรรมสังคม หรือปฏิบัติตามแนวทาง DSD TOP35 ลดความเสี่ยงจาก APT (Australian DSD TOP35 mitigation strategies) อย่างเคร่งครัด โดยทั่วไปแล้ว แอคเตอร์ที่จัดว่าอยู่ในขั้นสูงและมีความมุมานะจะไม่ยอมเลิกลาไปง่ายๆ แต่จะคอยตามแหย่หาจุดอ่อนอยู่จนกว่าจะหาทางเจาะเข้ามาได้

จากการประเมินของเราพบว่าการเข้าโจมตีซัพพลายเชนเพิ่มจำนวนขึ้น และเช่นกันในปี 2018 เราคาดว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนเพื่อเจาะเข้าระบบ รวมทั้งการเข้าโจมตีโดยตัวของมันเอง มีการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสร้างโทรจัน ซึ่งพบได้ในบางภูมิภาคหรือบางกลุ่ม ก็จะกลายมาเป็นวิธีการที่พบได้ เฉกเช่นเดียวกับ เทคนิคบ่อน้ำ (waterhole) ที่เจาะจงเลือกไซต์อย่างแยบยล เพื่อล้วงลึกเจาะเข้ากล่องหัวใจสำคัญของเหยื่อเป้าหมายนั้นจะเป็นวิธีที่ต้องตาต้องใจผู้ร้ายไซเบอร์บางประเภทแน่นอน

  1. มีโมบายมัลแวร์ระดับไฮเอนด์เพิ่มขึ้นเนื่องจาก iOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้ จึงค่อนข้างลำบากสำหรับยูสเซอร์ที่จะเช็คเครื่องว่าติดเชื้อหรือไม่ ขณะที่แอนดรอยด์ แม้จะพบช่องโหว่อยู่ไม่น้อย แต่มีโอกาสมากกว่าที่จะใช้โซลูชั่น เช่น Kaspersky AntiVirus for Android ในการตรวจสอบดีไวซ์

จากการประเมินพบว่า จำนวนโมบายมัลแวร์ที่มีอยู่จริงๆ นั้นน่าจะสูงกว่าจำนวนที่รายงานอยู่มาก เนื่องมาจากข้อบกพร่องที่มีอยู่ในกระบวนการตรวจสอบ ยิ่งทำให้การระบุชี้และกำจัดยากยิ่งขึ้น เราคาดว่า ในปี 2018 จะพบ APT มัลแวร์สำหรับโมบายเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากจำนวนการโจมตีที่เพิ่มขึ้น และมีพัฒนาการของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อไล่ล่ามัลแวร์พวกนี้

  1. มีจุดอ่อนแบบ BeEF เพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อคอยเก็บข้อมูลเนื่องจากระบบปฏิบัติการปัจจุบันให้ความสำคัญและใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยและบรรเทาความเสียหายที่มีศักยภาพดีขึ้น ทำให้สนนราคาของ zero-day exploits ได้ถีบตัวสูงขึ้นในช่วง 2016 และ 2017 เทคนิคการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้สอดคล้องกับกลุ่ม APT เช่น Turla และ Sofacy และ Newsbeef (รู้จักในชื่อ Newscaster, Ajax hacking team หรือ ‘Charming Kitten’) และกลุ่ม APT อีกกลุ่มก็มีวิธีการรวมข้อมูลที่รู้จักกันดี เช่น Scanbox เมื่อพิจารณาวิธีการทำงานเหล่านี้ผนวกกับความจำเป็นในการป้องกันทูลที่มีราคาแพง คาดว่าการใช้ ทูลคิทในการเก็บข้อมูล เช่น ‘BeEF‘ จะเพิ่มจำนวนขึ้นในปี 2018 เพราะหลายกลุ่มได้หันมาประยุกต์ใช้หรือพัฒนาขึ้นมาใช้เอง
  2. การโจมตี UEFI และ BIOS อินเทอร์เฟซแบบ Unified Extensible Firmware Interface (UEFI) คือซอฟต์แวร์อินเทอร์เฟซที่เป็นตัวกลางระหว่างเฟิร์มแวร์และระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2005 โดยพันธมิตรผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ชั้นนำ รวมทั้งอินเทล ตอนนี้ล้ำหน้า BIOS มาตรฐานไปอย่างรวดเร็ว คุณสมบัติที่ทำให้ UEFI เป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจนั้นกลับเปิดช่องโหว่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุค BIOS ก่อนหน้านี้ เช่น การรัน (run) โมดูล executable ที่ปรับแต่งได้เองนั้น เป็นการเปิดทางให้สร้างมัลแวร์ และ UEFI สามารถปล่อยกระจายได้โดยตรงก่อนที่จะถูกตรวจจับหรือสะกัดกั้นด้วยแอนตี้มัลแวร์โซลูชั่น หรือแม้แต่ตัวระบบปฏิบัติการจะได้ทันไหวตัวเสียอีก

มัลแวร์ UEFI มีไว้ซื้อขายนั้นเป็นที่รู้กันมาตั้งแต่ปี 2015 เมื่อ Hacking team UEFI modules ถูกเปิดโปง เป็นที่น่าแปลกใจว่าไม่ปรากฏมัลแวร์ UEFI น่าจะมาจากความยากที่จะตรวจจับ คาดว่าปี 2018 เราน่าจะได้พบมัลแวร์แบบ UEFI มากขึ้น

  1. การโจมตีทำลายล้างดำเนินต่อไป ตั้งแต่พฤศจิกายน 2016 แคสเปอร์สกี้ แลปสังเกตพบคลื่นลูกใหม่ของ wiper มุ่งโจมตีเป้าหมายหลายแห่งแถบตะวันออกกลาง มัลแวร์ที่ตรวจพบเป็นค่าตัวแปรของเวิร์ม Shamoonที่เคยตั้งเป้าไปที่ Saudi Aramco และ Rasgas เมื่อปี 2012 นอกเหนือไปจาก Shamoon และ Stonedrill แล้ว พบว่าปี 2017 เป็นปีสุดโหดของการโจมตีทำลายล้าง ด้วย ExPetr/NotPetya ซึ่งตอนแรกคิดว่าเป็นแรนซั่มแวร์นั้น แท้จริงคือการอำพรางตัวอย่างชาญฉลาดของ wiper โดยที่ ExPetr นั้นจะตามติดมาด้วยคลื่นการโจมตีของ ‘แรนซั่มแวร์’ เหยื่อแทบจะไม่เหลือโอกาสกู้ข้อมูลคืนมาได้เลย ผู้ร้ายตัวจริงถูกอำพรางมิดชิดให้เข้าใจว่าเป็น ‘wipers as ransomware’ ซึ่งเคยมีการโจมตีเช่นนี้เมื่อปี 2016 จาก CloudAtlas APT ดูเผินๆ แล้วเหมือนจะเป็น ‘wipers as ransomware’ เป้าหมายที่สถาบันการเงินในรัสเซีย

ปี 2018 คาดว่าการโจมตีทำลายล้างเช่นนี้จะเพิ่มจำนวนขึ้น เกาะกระแสภาพลักษณ์ในบทบาทของการเป็นสงครามไซเบอร์ (cyberwarfare)

  1. มี cryptography เวอร์ชั่นย่อยเพิ่มขึ้น ย้อนไปเมื่อปี 2013 สำนักข่าวรอยเตอร์สมีรายงานข่าวว่า NSA จ่ายเงินให้ RSA เป็นจำนวน 10 ล้านเหรียญเพื่อให้ใส่อัลกอริธึ่มช่องโหว่ลงในโปรดักส์เพื่อให้เป็นวิธีทำลายการเข้ารหัส แม้จะมีการค้นพบความเป็นไปได้ของการใช้แบคดอร์เมื่อปี 2007 แต่ก็ยังมีหลายบริษัท (รวมทั้งจูนิเปอร์) ที่ยังคงใช้ต่อไป แต่เป็นคอนสแตนท์เซ็ตที่ต่างออกไป ซึ่งเชื่อว่าจะปลอดภัย ในเชิงทฤษฎี พบว่าเรื่องนี้ทำให้แอคเตอร์ APT บางกลุ่มไม่พอใจและว่าจ้างให้ดำเนินการแฮคเข้าจูนิเปอร์ เปลี่ยนคอนสแตนท์มาเป็นเซ็ตที่ตนเองสามารถเข้าควบคุม และปลดรหัสการเชื่อมต่อแบบ VPN ได้

การกระทำเช่นนี้ถูกจับได้ และในเดือนกันยายนปี 2017 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ cryptography จากหลายประเทศได้ร่วมกันกดดันให้ NSA ล้มเลิกความพยายามในการผลักดันให้อัลกอริธึ่มการเข้ารหัสตัวใหม่อีกสองตัวเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม

เมื่อเดือนตุลาคมปี 2017 รายงานข่าวพบข้อบกพร่องใน cryptographic library ที่ Infineon ใช้ในฮาร์ดแวร์ชิปสำหรับการสร้าง RSA primes แม้ข้อบกพร่องที่พบนี้จะดูเหมือนไม่ได้ตั้งใจ แต่ก่อให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับความปลอดภัยของเทคโนโลยีเข้ารหัสที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทการ์ด เน็ตเวิร์กไร้สาย หรือเว็บทราฟฟิกแบบเข้ารหัส ปี 2018 เราคาดว่าจะได้พบช่องโหว่ cryptographic ที่รุนแรงอันตรายกว่าเดิม และหวังว่าจะได้รับการแพทช์แก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขที่ตัวมาตรฐานเองหรือที่การติดตั้งใช้งาน

  1. ข้อมูลเฉพาะบุคคลในธุรกิจอีคอมเมิร์ซเผชิญวิกฤต หลายปีที่ผ่านมานั้น เราเผชิญวิกฤตเกี่ยวโยงกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล personally identifiable information (PII) และล่าสุดพบ Equifax ที่สะเทือนผู้คนชาวอเมริกันถึงกว่า 5 ล้านคน ทั้งปลอมแปลงหรือโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นปัญหาต่อเนื่องมายาวนาน แต่อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อข้อมูลพื้นฐานในการระบุตัวตนนั้นถูกเผยแพร่ทั่วไปจนไม่น่าวางใจอีกต่อไป? องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานภาครัฐต้องเผชิญตัวเลือกระหว่างลดขนาดการทำงานด้วยอินเทอร์เน็ตที่แสนสะดวกสบาย หรือลดการใช้โซลูชั่นแบบมัลติแฟคเตอร์ ทางออกที่ดูน่าจะเป็นไปได้ เช่น ApplePay อาจจะเข้ามาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นอีกหนึ่งวิธีการยอดนิยมในการป้องกันข้อมูลส่วนตัวและธุรกรรมออนไลน์ และเราก็อาจจะได้เห็นการลดบทบาทการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาสร้างความทันสมัยรื้อความอุ้ยอ้ายในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายปฏิบัติการลง
  2. มีการแฮคเข้าเราเตอร์และโมเด็มเพิ่มขึ้นช่องโหว่ที่ถูกละเลยมองข้ามคือช่องโหว่ในเราเตอร์และโมเด็ม ซึ่งที่จริงแล้วมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานประจำวัน และโดยมากมักใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะของตัว ที่ไม่ถูกแพทช์หรือดูแล ท้ายที่สุด คอมพิวเตอร์จิ๋วเหล่านี้นับเป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตโดยการออกแบบ ดังนั้นจึงเป็นจุดเชื่อมโยงที่มีความอ่อนไหวเหมาะสำหรับที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะอาศัยเป็นช่องทางแฝงเข้ามาในเน็ตเวิร์กได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในบางกรณี ผู้ร้ายสามารถปลอมแปลงตนเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีทางที่จะแอบเข้าไปยังแอดเดรสอื่นที่ต่อเชื่อมอยู่ได้ ช่วงนี้เป็นช่วงเทคนิคการสร้างความเข้าใจผิดหรือลวงให้ผิดทาง (misdirection and false flags) กำลังเป็นที่สนใจนั้น การเข้าโจมตีดเราเตอร์ โมเด็มนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องเล็ก หากทำการศึกษาวิจัยลงลึก จะได้พบข้อมูลที่น่าสนใจมากขึ้นอย่างแน่นอน
  3. ตัวกลางสำหรับความโกลาหลในวงโซเชียลมีเดียสื่อสังคมโซเชียลมีบทบาทต่อความคิดเห็นต่างๆ ของผู้คนมากมายเกินกว่าที่เราเคยคาดคิด ไม่ว่าจะถูกนำมาใช้เพื่อเสี้ยมหรือก่อกระแส หลายคนก็เริ่มที่จะเรียกร้องให้มีการตรวจสอบยูสเซอร์และบอตที่ส่งอิทธิพลต่อกระแสสังคมหมู่มาก น่าเศร้าที่ว่าเน็ตเวิร์กเหล่านี้มิได้สนใจที่จะตรวจสอบกลุ่มผู้ใช้บอตของตน แม้จะชัดเจนถึงความไม่เหมาะสมของบางบอตส์ และนักวิจัยอิสระก็มีความสามารถติดตามแกะรอยได้ก็ตาม แต่ก็มิได้ดำเนินการใดๆ คาดว่าการกระทำเช่นนี้จะยังคงดำเนินต่อไป และเน็ตเวิร์กของบอตก็จะถูกใช้ประโยชน์กันมากขึ้นจากหลายฝ่ายเพื่อความประสงค์ทางการเมืองหรือการจูงใจ ส่งอิทธิพลทางความคิด ที่จะส่งผลต่อผู้ใช้โซเชียลมีเดีย และเริ่มมองหาทางเลือก นอกเหนือจากผู้ให้บริการปัจจุบัน ที่คอยมุ่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการคลิกของผู้คนเท่านั้น

คุณเบญจมาศ จุฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ในปี 2018 เราคาดว่าแอคเตอร์ภัยไซเบอร์จะขยับระดับความแข็งแกร่ง งัดทูลใหม่ออกมาก่อกวน และส่งความรุนแรงเพิ่มขึ้น แนวทางหลักและทิศทางในแต่ละปีนั้น ไม่ควรที่จะแยกออกจากกัน ต่างต้องพึ่งพากันเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กันและกัน เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนยูสเซอร์ที่ต้องเผชิญกับปัญหาภัยไซเบอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล เอ็นเทอร์ไพรซ์ หรือรัฐบาล สิ่งสำคัญคือการแชร์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับภัยไซเบอร์นั่นเอง”