รอสอะตอมและจุฬาฯ ร่วมจัดบรรยายทางวิชาการ เวชศาสตร์นิวเคลียร์โดยได้รับความร่วมมือจากสนท.

รอสอะตอมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมจัดการบรรยายสาธารณะ เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้นิวเคลียร์ทางการแพทย์ โดยได้รับเกียรติจาก นส. เวโรนิกา เรฟโควา นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยวิจัยนิวเคลียร์แห่งชาติ (MEPhI) ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ในหัวข้อ “เวชศาสตร์นิวเคลียร์และกรณีศึกษาการนำไปใช้วินิจฉัยโรคและการบำบัดรักษาในสาขาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์” และ นายเอกภพ งามละเมียด วิศวกรนิวเคลียร์ชำนาญการจาก สนท. ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการการพัฒนาไซโคล ตรอนและการผลิตไอโซโทป

 

โดย สนท.เป็นสถาบันวิจัยชั้นนำที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อประโยชน์ของประเทศ หลังจากการก่อสร้างศูนย์ไซโคลตรอนแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะสามารถผลิตสารไอโซโทปรังสีแบบสเป็กต์ (SPECT) ได้เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาและการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง เพิ่มคุณภาพชีวิต และลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

 

ข้อมูลอ้างอิง:

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สนท.) มีการลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องไซโคลตรอนเมื่อ วันที่ 7 กันยายน 2560 โดยรอสอะตอมเป็นผู้จัดหาเทคโนโลยีสำหรับศูนย์ไซโคลตรอนและห้องปฏิบัติการสารเภสัชรังสีให้กับ สนท.

 

รอสอะตอม (บริษัทพลังงานปรมาณูของรัฐบาลรัสเซีย) คือองค์การของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก และเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของสหพันธรัฐรัสเซีย รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้เสียภาษีรายได้รายใหญ่ที่สุดของประเทศ เมื่อนับรวมสินทรัพย์ในด้านพลังงานนิวเคลียร์ การออกแบบและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และวิศวกรรมพลังงานนิวเคลียร์ รอสอะตอมคือบริษัทผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย โดยในปี 2017 ผลิตกระแสไฟฟ้ารวมได้ 202,868 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง (คิดเป็น 18.9% ของกระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตในรัสเซีย)

 

รอสอะตอมจัดอยู่ในอันดับแรกของโลกในแง่ของปริมาณงานที่มีโครงการอยู่ในต่างประเทศ (35 โรงไฟฟ้าใน 11 ประเทศ) อันดับที่สองของโลกในด้านปริมาณยูเรเนียมสำรองและอันดับสี่ของโลกในการทำเหมืองยูเรเนียม รอสอะตอมครอบคลุม 17% ของตลาดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทั่วโลก กิจการของรอสอะตอมได้แก่ การผลิตอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ไอโซโทปสำหรับใช้ในเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การวิจัยและพัฒนา วัสดุศาสตร์ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ การผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนิวเคลียร์และที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ กลยุทธ์ของรอสอะตอมคือการคาดการณ์เพื่อพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการผลิตพลังงานสะอาด รวมถึงวิศวกรรมพลังงานลม รอสอะตอมประกอบด้วยองค์กรและบริษัทต่างๆ กว่า 300 แห่ง รวมทั้งเรือทลายน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น