จีเอฟเค เผยตลาดอาเซียนตื่นตัวรับทีวีความละเอียดสูงแบบ UHD และจอแสดงผลแบบ OLED

ผู้บริโภคทั่วโลกต่างเต็มใจจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อประสบการณ์ในการรับชมทีวีที่ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม อ้างอิงจากรายงานผลสำรวจทางการตลาดจากจีเอฟเคที่พบว่ามีการตื่นตัวรับเทคโนโลยียุคใหม่อย่างทีวีความละเอียดสูงระดับ UHD และจอภาพแบบ OLED โดยยอดขายทีวีทั่วโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2560 พบว่า 478,000 เครื่องเป็นรุ่นที่ใช้หน้าจอแบบ OLED และมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 94% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนั้น อัตราการเติบโตของทีวีความละเอียดสูงแบบ UHD ทั่วโลกอยู่ในทิศทางเดียวกัน โดยมีมูลค่าเกือบเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าของทีวีทั้งตลาด หรือเป็น 48%

 

ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในบทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของผลสำรวจทางการตลาดกลุ่มสินค้าทีวีทั่วโลกโดยจีเอฟเคที่เผยแพร่ในงาน IFA 2017 ที่เมืองเบอร์ลิน

 

ภาพรวมตลาดสินค้าทีวีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงครึ่งปีแรกพบว่ายอดขายขยับขึ้นเพียง 1% ในด้านของจำนวนที่ขายออกไป และหากคิดเป็นตัวเม็ดเงินนั้นคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 2% แต่กลุ่มสินค้าทีวีความละเอียดสูงแบบ UHD หรือที่เรียกกันว่า 4K และ OLED พบว่ายอดขายในแง่จำนวนทะยานขึ้น 92% และ 69% ตามลำดับ และ 53% และ 85% ในแง่ของตัวเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้น

 

“OLED เป็นเทคโนโลยีของทีวีล่าสุดที่สร้างความสนใจให้กับตลาดปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่แบรนด์ต่างๆ เริ่มนำเสนอสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีนี้ หลังจากที่มีผู้เล่นเพียงรายเดียวครองตลาดมานาน” เจอราร์ด แทน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายติดตามธุรกิจค้าปลีกสินค้าเทคโนโลยี จีเอฟเค เอเชีย กล่าว “จากการแข่งขันที่เริ่มดุเดือดขึ้นนี้ เราจะได้เห็นความคึกคักของตลาดจากการแข่งขันจากทั้งแบรนด์เจ้าของสินค้าและร้านค้าปลีกเพื่อหวังดูดเงินที่อยู่ในมือผู้บริโภคนั่นเอง”

 

ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จ่ายเงินไปกับทีวีแบบ UHD รวมมูลค่า 725 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตาม ด้วยความต้องการของทีวีที่มีราคาถูกและมีขนาดหน้าจอที่เล็กมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าทีวีในกลุ่มนี้ตกลง 20% ภายในหนึ่งปีเหลือราคาเฉลี่ยที่ 836 เหรียญสหรัฐต่อเครื่องจากการแข่งขันในตลาดทีวีแบบ UHD ที่เริ่มรุนแรงขึ้น การติดตามข้อมูลตลาดของ จีเอฟเคพบว่ามีหลายแบรนด์มากขึ้นที่เปิดตัวสินค้าในรุ่นที่สามารถซื้อหาเป็นเจ้าของได้ง่าย และมีทีวีแบบ UHD ที่เล็กลงหลายรุ่นเข้าตลาดแต่ละประเทศ เช่น ประเทศเวียตนามมีจำนวนรุ่นของทีวีแบบ UHD โดดขึ้นถึง 50% จากเดิมเพียง 192 รุ่น มาถึง 303 รุ่นในปีนี้

 

“การที่ผู้บริโภคให้ความสนใจในทีวีความคมชัดสูงแบบ UHD และ 4K เราคาดว่าบริษัทผู้ผลิตทีวีต่างต้องสรรหาแนวทางใหม่ๆ ในการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง อย่างหนึ่งก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมาร์ททีวีด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีความพิเศษเฉพาะตัวตรงใจของผู้บริโภค” เจอราร์ด แทน เสริม “ความนิยมและความพร้อมของการให้บริการคอนเทนต์แบบ Over-The-Top (OTT) ก็น่าจะเป็นอีกปัจจัยที่สามารถชักจูงให้ผู้บริโภคเปลี่ยนเครื่องทีวีเก่าที่มีอยู่ เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม”

 

คาดการณ์ว่าความต้องการทีวีแบบ UHD นั้นจะเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปลายปีนี้อย่างแน่นอน ด้วยยอดขายจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 60% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

จากการศึกษาแยกต่างหากโดยจีเอฟเคที่อ้างอิงข้อมูลจากการติดตาม ณ จุดขาย (POS) พบว่าวงจรอายุสินค้ากลุ่มทีวีนั้นลดสั้นลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ค่อนข้างเร็ว สะท้อนให้เห็นว่าทุกแบรนด์มีช่วงเวลาเพียงสั้นๆในการทำตลาดกับตัวสินค้าของตัวเองให้ได้ผล ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจ มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้แนวการตลาดแบบผสมผสานและลงทุนอย่างถ่องแท้ เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการขาย สามารถที่จะวางกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพได้รวดเร็ว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดในผลงานที่เกิดขึ้น

 

จีเอฟเคได้เผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าทีวีทั่วโลกภายในงาน IFA 2017 ณ เมืองเบอร์ลิน วันที่ 1-6 กันยายน พ.ศ. 2560

 

###

 

วิธีการเก็บข้อมูล

จีเอฟเคทำการเก็บข้อมูล ณ จุดขายเป็นประจำผ่านกลุ่มธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกจากกว่า 100 ประเทศ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับไอทีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมทั้งอุปกรณ์เสริม และทำการวิเคราะห์ด้านความต้องการของผู้บริโภคในสภาวการณ์ปัจจุบัน ในตลาดนานาชาติ ยุโรป และเยอรมันในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา จีเอฟเคได้รวบรวมข้อมูลที่รวบรวมมาจากตัวแทนจำหน่าย และผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่นมาไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นศูนย์เก็บรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำเที่ยงตรงนำมาใช้ในการระบุความเป็นไปได้ที่มีอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการปรับปรุงกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์การกระจายสินค้าให้ได้รับความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและศักยภาพในการสร้างกำไร

เกี่ยวกับจีเอฟเค (GfK)

จีเอฟเค เป็นบริษัทข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการตลาดและผู้บริโภคที่ได้รับความไว้วางใจ และช่วยให้ลูกค้าของบริษัทดำเนินการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จีเอฟเคมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยธุรกิจการตลาดมากกว่า 13,000 คน ที่พร้อมผนึกกำลัง ความสามารถผนวกกับประสบการณ์อันยาวนานและองค์ความรู้ด้านข้อมูลของบริษัท เพื่อผลิตข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญในระดับโลกพร้อมข้อมูลทางการตลาดจากมากกว่า 100 ประเทศ จีเอฟเคเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากเป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และองค์ความรู้ด้านข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนา ข้อได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างเสริมประสบการณ์และตัวเลือกของผู้บริโภคได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gfk.com หรือติดตามทางทวิตเตอร์: https://twitter.com/GfK

จีเอฟเค เผยเกมคอมพิวเตอร์มาแรง คืนฟอร์มฮิต เล่นกันทั้งเอเชียแปซิฟิก

เกมคอมพิวเตอร์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ตลาดคอมพิวเตอร์เติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ความคลั่งไคล้อย่างต่อเนื่องในกีฬาอีสปอร์ตคือปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตถึง 39% ในแง่ของจำนวนยอดขายซึ่งสะท้อนถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นกว่า36% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

 

แม้ว่าเครื่องโน้ตบุ๊กและเดสก์ท็อปแบบดั้งเดิมจะเป็นอุปกรณ์ประมวลผลที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด แต่รายงานการวิเคราะห์ฉบับล่าสุดจากจีเอฟเค พบว่าเกิดมีปัจจัยรูปแบบใหม่ของอุปกรณ์ที่เป็นที่ต้องการเช่น ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ความบางเบาเป็นพิเศษ หรือความเป็นอุปกรณ์ที่รวมทุกอย่างในตัวเดียวกันแม้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์สำหรับการเล่นเกมก็กำลังได้รับความสนใจ ทั้งหมดกำลังเติบโตอย่างมาก สร้างยอดขาย 6.1 พันล้านยูโรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา

 

“ความท้าทายที่ต้องแข่งขันกับเทคโนโลยีใหม่อย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้คอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมได้เดินทางมาถึงขีดสุดจากที่เป็นตลาดเฉพาะกลุ่มกลายเป็นสินค้าหลักที่สร้างยอดขายได้อย่างแข็งแกร่ง” เจอราร์ด แทน ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าเทคโนโลยี จีเอฟเค เอเชีย กล่าว “ผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมต่างชื่นชมกับอุปกรณ์เกมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเต็มใจในการจับจ่าย เพื่อประสบการณ์กราฟิกที่ดีขึ้นและการเล่นเกมที่ราบรื่นขึ้น”

 

ยอดรายรับทั่วโลกของคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม (รวมเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก) จากการประเมินตลาดของจีเอฟเค (ไม่รวมอเมริกาเหนือ) มีมูลค่าทะยานขึ้นถึง 1.5 พันล้านยูโร คิดเป็นสัดส่วนยอดขายของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ 34% (คิดเป็นมูลค่า 522 ล้านยูโร) และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเองนั้น พบว่าผู้บริโภคชาวจีนซื้อโน้ตบุ๊กสำหรับการเล่นเกมมากที่สุด รองมาคือเกาหลีและประเทศไทยในอันดับที่สองและสามตามลำดับ

 

ศักยภาพในการเติบโตของคอมพิวเตอร์เพื่อการเล่นเกมดึงดูดผู้เล่นให้เข้ามาในตลาดนี้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ถึง 24 แบรนด์ที่นำเสนอสินค้าเพื่อการเล่นเกมถึง 1,700 รุ่น เทียบกับ เพียง 810 รุ่นเมื่อสามปีที่แล้ว

 

“นอกจากคอมพิวเตอร์เพื่อเล่มเกมโดยเฉพาะที่มีวางขายอยู่แล้ว บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ต่างก็พาเปิดตัวคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นเกมสู่ตลาด ด้วยสเป็กและราคาที่มีการแข่งขันกันดุเดือด พุ่งเป้ามาเพื่อจับตลาดแมส” เจอราร์ด แทน ตั้งข้อสังเกต “พัฒนาการที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้ สนับสนุนด้วยเทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) และความนิยมในอีสปอร์ต ทำให้เราเห็นถึงอนาคตว่าตลาดในส่วนคอมพิวเตอร์เพื่อการเล่นเกมนั้นจะยังคงเติบโตอย่างมั่นคงไปอีกนาน”

 

ตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับเล่นเกม (จอมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด ชุดเฮดเซ็ต เมาส์) เป็นอีกตลาดที่ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคงของตลาดคอมพิวเตอร์เพื่อการเล่นเกม ยอดขายทั่วโลกในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นถึง 56% สร้างยอดขายครึ่งปีแรกของปี 2560 สูงถึง 1.1 พันล้านยูโร โดยที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ตัวเลขในการซื้อสินค้ากลุ่มเพื่อการเล่นเกมสูงขึ้นอย่างชัดเจน จอมอนิเตอร์เพิ่มขึ้น 154% คีย์บอร์ด 9% เฮดเซ็ต 29% และ เมาส์ 21%

 

จีเอฟเคจะทำการเผยแพร่รายงานวิเคราะห์ทั่วโลกของตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศในงาน IFA 2017 ณ เมืองเบอร์ลิน ช่วงวันที่ 1-6 กันยายน นี้

 

วิธีการเก็บข้อมูล

จีเอฟเคทำการเก็บข้อมูล ณ จุดขายเป็นประจำผ่านกลุ่มธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกจากกว่า 100 ประเทศ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับไอทีฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ รวมทั้งอุปกรณ์เสริม และทำการวิเคราะห์ด้านความต้องการของผู้บริโภคในสภาวการณ์ปัจจุบัน ในตลาดนานาชาติ ยุโรป และเยอรมันในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา จีเอฟเคได้รวบรวมข้อมูลที่รวบรวมมาจากตัวแทนจำหน่าย และผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่นมาไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นศูนย์เก็บรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำเที่ยงตรงนำมาใช้ในการระบุความเป็นไปได้ที่มีอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการปรับปรุงกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์การกระจายสินค้าให้ได้รับความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและศักยภาพในการสร้างกำไร

 

เกี่ยวกับ จีเอฟเค (GfK)

จีเอฟเค เป็นบริษัทข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการตลาดและผู้บริโภคที่ได้รับความไว้วางใจ และช่วยให้ลูกค้าของบริษัทดำเนินการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จีเอฟเคมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยธุรกิจการตลาดมากกว่า 13,000 คน ที่พร้อมผนึกกำลัง ความสามารถผนวกกับประสบการณ์อันยาวนานและองค์ความรู้ด้านข้อมูลของบริษัท เพื่อผลิตข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญในระดับโลกพร้อมข้อมูลทางการตลาดจากมากกว่า 100 ประเทศ จีเอฟเคเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากเป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และองค์ความรู้ด้านข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนา ข้อได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างเสริมประสบการณ์และตัวเลือกของผู้บริโภคได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gfk.com หรือติดตามทางทวิตเตอร์: https://twitter.com/GfK

จีเอฟเค ชี้ตลาดกล้องมิเรอร์เลสในไทยเติบโตขึ้น จากการตื่นตัวของกระแสแชะแชร์

ผู้บริโภคไทยกว่า 1 ใน 10 ซื้อกล้องมิเรอร์เลสในช่วงปีที่ผ่านมา และผู้บริโภคจำนวนมากอีกส่วนหนึ่งมีแนวโน้มที่จะซื้อในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้อีกด้วย

 

ความต้องการและความสนใจในการถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูงเป็นปัจจัยที่ผลักดันยอดขายกล้องมิเรอร์เลสในประเทศไทย โดยผลสำรวจจาก GfK Point of Sales ข้อมูลจากจุดขายของจีเอฟเคพบว่ากลุ่มคนรักการถ่ายภาพในประเทศไทยมียอดการใช้จ่ายกว่า 8.9 พันล้านบาทในการซื้อกล้องมิเรอร์เลสเป็นจำนวนทั้งสิ้น 341,000 เครื่องในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าตลาดกล้องประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อีกในปีหน้า

 

ตลาดกล้องมิเรอร์เลสในประเทศไทย เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีศักยภาพการเติบโตในตัวเลขสองหลัก ปีต่อปี ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

 

จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคโดยจีเอฟเคพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา ร้อยละ 10 ของพลเมืองออนไลน์ในประเทศไทยได้ซื้อกล้องมิเรอร์เลส และแนวโน้มที่จะซื้อภายใน 1 ปีจากนี้มีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกของการเติบโตของตลาดกล้องมิเรอร์เลสในไทย

 

“กล้องมิเรอร์เลสกลายเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มคนรักการถ่ายภาพที่ต้องการภาพถ่ายที่มีคุณภาพสูง ด้วยกล้องที่น้ำหนักเบา พกพาสะดวก ใช้งานง่าย และยังมีราคาซื้อหาเป็นเจ้าของได้ง่ายกว่ากล้อง DSLR ระดับสูง” เจอราร์ด แทน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดเทคโนโลยี จีเอฟเค เอเชีย กล่าว “เป็นที่น่าสนใจว่า กล้องมิเรอร์เลสในประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจอย่างสูงในฐานะของสินค้าฟุ่มเฟือยที่ใช้ในการยกระดับหรือแสดงฐานะทางสังคม”

 

ผลสำรวจยังระบุอีกว่า จำนวน 2 ใน 3 ของผู้ที่ใช้กล้องมิเรอร์เลสมีช่วงอายุอยู่ที่ 18-35 ปี และ 3 ใน 5 ของผู้บริโภคที่ตั้งเป้าจะซื้อกล้องมิเรอร์เลสก็อยู่ในช่วงอายุนี้ด้วยเช่นกัน

 

“นอกจากนี้ รายงาน GfK’s Connected Asian Consumer ยังระบุถึงผลการสำรวจในปีที่ผ่านมาด้วยว่า ประเทศไทยมียอดผู้ใช้งานโซเชียลแอพพลิเคชั่นสูงเป็นอันดับ 2 ของทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยคิดเป็นร้อยละ82 และแนวโน้มโซเชียลในปัจจุบันของวัยรุ่นไทยคือ ใช้กล้องมิเรอร์เลสถ่ายภาพแล้วแชร์ต่อบนโซเชียลมีเดียทันที” เจอราร์ด แทนกล่าว

 

ทั้งนี้ รายงานผลสำรวจของจีเอฟเคยังพบว่ากลุ่มผุ้บริโภคที่ใช้กล้องมิเรอร์เลสจากผู้ผลิตแบรนด์ดัง เช่น โซนี่ แคนนอน ฟูจิฟิล์ม โอลิมปัส จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับช่องทางการซื้อ รูปแบบการใช้งาน และความชื่นชอบต่ออุปกรณ์ที่ตนใช้งาน เกือบ 2 ใน 5 หรือร้อยละ 19 พิจารณาผลการรีวิวของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ตว่าเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญหลักในการหาข้อมูลกล้องมิเรอร์เลส อย่างไรก็ดี ประมาณร้อยละ 23 ระบุว่าการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการเลือกแบรนด์หรือรุ่นจะมาจากการเข้าไปเลือกดูของจริงที่ร้านโดยส่วนใหญ่

 

“ผลการวิจัยยังแสดงข้อมูลให้เห็นถึงความแตกต่างที่เด่นชัดของทัศนคติรวมทั้งพฤติกรรมระหว่างผู้ที่กำลังใช้สินค้าและที่ตั้งใจว่าจะซื้ออีกด้วย” เจอราร์ดตั้งข้อสังเกต “ข้อมูลเชิงลึกเช่นนี้มีความสำคัญต่อแบรนด์สินค้า ด้วยข้อมูลที่มีค่าแสดงถึงพฤติกรรมขั้นตอนการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค และช่วยให้กลยุทธ์การสื่อสารหลากหลายช่องทางสัมฤทธ์ผลสูงสุด ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าของตน”

 

เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

รายงานผลสำรวจพฤติกรรมการซื้อกล้องมิเรอร์เลส (Mirrorless Camera Path to Purchase Survey) จัดทำขึ้นในประเทศไทยในเดือน มิถุนายนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 การทำแบบสอบถามออนไลน์มีกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 540 คน โดยมีช่วงอายุอยุ่ที่ 18-55 ปี ที่ซื้อกล้องมิเรอร์เลสของ แคนนอน โซนี่ ฟูจิฟิล์ม และโอลิมปัส ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับผู้ที่มีความต้องการจะซื้อกล้องมิเรอร์เลสภายในเวลา 1 ปีข้างหน้า


 

เกี่ยวกับ จีเอฟเค (GfK)

จีเอฟเค เป็นบริษัทข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการตลาดและผู้บริโภคที่ได้รับความไว้วางใจ และช่วยให้ลูกค้าของบริษัทดำเนินการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จีเอฟเคมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยธุรกิจการตลาดมากกว่า 13,000 คน ที่พร้อมผนึกกำลัง ความสามารถผนวกกับประสบการณ์อันยาวนานและองค์ความรู้ด้านข้อมูลของบริษัท เพื่อผลิตข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญในระดับโลกพร้อมข้อมูลทางการตลาดจากมากกว่า 100 ประเทศ จีเอฟเคเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากเป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการใช้งาน  โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และองค์ความรู้ด้านข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนา ข้อได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างเสริมประสบการณ์และตัวเลือกของผู้บริโภคได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gfk.com หรือติดตามทางทวิตเตอร์: https://twitter.com/GfK