วัดทักษะดิจิทัลพร้อมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่บูธ ICDL งาน Digital Thailand Big Bang เมืองทองธานี 21-24 ก.ย. ฟรี!

คนไทยเก่งดิจิทัลจริงป่ะ?

อย่ามโนว่าเก่งดิจิทัล! ร่วมทดสอบวัดระดับทักษะด้านดิจิทัลของคุณ ด้วย ICDL Digital Skills Check Up Station โดย The International Computer Driving Licence (ICDL) หรือวุฒิบัตรบัตรรับรองความสามารถคอมพิวเตอร์สากล เรานำระบบออนไลน์การสอบทักษะดิจิทัลมาให้ลองเล่นกันในงานเลยทีเดียว! ตรวจสอบวัดระดับทักษะดิจิทัลของคุณ! รู้ผลทันที! ว่าพร้อมเข้าไทยแลนด์ 4.0 กันหรือยัง? ทดสอบฟรี ของรางวัลเพียบ งานนี้ใครมั่ว ใครตัวจริงได้รู้กัน !!!  ที่บูธ ICDL Digital Skills Check Up Station บริเวณ Digital Playground Challenger Hall 1 เมืองทองธานี วันที่ 21-24 กันยายน ที่งาน DIGITAL THAILAND BIG BANG 2017

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/GlobalDigitalLiteracyStandard/

จีเอฟเค เผยเกมคอมพิวเตอร์มาแรง คืนฟอร์มฮิต เล่นกันทั้งเอเชียแปซิฟิก

เกมคอมพิวเตอร์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ตลาดคอมพิวเตอร์เติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ความคลั่งไคล้อย่างต่อเนื่องในกีฬาอีสปอร์ตคือปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตถึง 39% ในแง่ของจำนวนยอดขายซึ่งสะท้อนถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นกว่า36% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

 

แม้ว่าเครื่องโน้ตบุ๊กและเดสก์ท็อปแบบดั้งเดิมจะเป็นอุปกรณ์ประมวลผลที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด แต่รายงานการวิเคราะห์ฉบับล่าสุดจากจีเอฟเค พบว่าเกิดมีปัจจัยรูปแบบใหม่ของอุปกรณ์ที่เป็นที่ต้องการเช่น ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ความบางเบาเป็นพิเศษ หรือความเป็นอุปกรณ์ที่รวมทุกอย่างในตัวเดียวกันแม้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์สำหรับการเล่นเกมก็กำลังได้รับความสนใจ ทั้งหมดกำลังเติบโตอย่างมาก สร้างยอดขาย 6.1 พันล้านยูโรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา

 

“ความท้าทายที่ต้องแข่งขันกับเทคโนโลยีใหม่อย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้คอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมได้เดินทางมาถึงขีดสุดจากที่เป็นตลาดเฉพาะกลุ่มกลายเป็นสินค้าหลักที่สร้างยอดขายได้อย่างแข็งแกร่ง” เจอราร์ด แทน ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าเทคโนโลยี จีเอฟเค เอเชีย กล่าว “ผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมต่างชื่นชมกับอุปกรณ์เกมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเต็มใจในการจับจ่าย เพื่อประสบการณ์กราฟิกที่ดีขึ้นและการเล่นเกมที่ราบรื่นขึ้น”

 

ยอดรายรับทั่วโลกของคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม (รวมเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก) จากการประเมินตลาดของจีเอฟเค (ไม่รวมอเมริกาเหนือ) มีมูลค่าทะยานขึ้นถึง 1.5 พันล้านยูโร คิดเป็นสัดส่วนยอดขายของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ 34% (คิดเป็นมูลค่า 522 ล้านยูโร) และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเองนั้น พบว่าผู้บริโภคชาวจีนซื้อโน้ตบุ๊กสำหรับการเล่นเกมมากที่สุด รองมาคือเกาหลีและประเทศไทยในอันดับที่สองและสามตามลำดับ

 

ศักยภาพในการเติบโตของคอมพิวเตอร์เพื่อการเล่นเกมดึงดูดผู้เล่นให้เข้ามาในตลาดนี้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ถึง 24 แบรนด์ที่นำเสนอสินค้าเพื่อการเล่นเกมถึง 1,700 รุ่น เทียบกับ เพียง 810 รุ่นเมื่อสามปีที่แล้ว

 

“นอกจากคอมพิวเตอร์เพื่อเล่มเกมโดยเฉพาะที่มีวางขายอยู่แล้ว บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ต่างก็พาเปิดตัวคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นเกมสู่ตลาด ด้วยสเป็กและราคาที่มีการแข่งขันกันดุเดือด พุ่งเป้ามาเพื่อจับตลาดแมส” เจอราร์ด แทน ตั้งข้อสังเกต “พัฒนาการที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้ สนับสนุนด้วยเทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) และความนิยมในอีสปอร์ต ทำให้เราเห็นถึงอนาคตว่าตลาดในส่วนคอมพิวเตอร์เพื่อการเล่นเกมนั้นจะยังคงเติบโตอย่างมั่นคงไปอีกนาน”

 

ตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับเล่นเกม (จอมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด ชุดเฮดเซ็ต เมาส์) เป็นอีกตลาดที่ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคงของตลาดคอมพิวเตอร์เพื่อการเล่นเกม ยอดขายทั่วโลกในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นถึง 56% สร้างยอดขายครึ่งปีแรกของปี 2560 สูงถึง 1.1 พันล้านยูโร โดยที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ตัวเลขในการซื้อสินค้ากลุ่มเพื่อการเล่นเกมสูงขึ้นอย่างชัดเจน จอมอนิเตอร์เพิ่มขึ้น 154% คีย์บอร์ด 9% เฮดเซ็ต 29% และ เมาส์ 21%

 

จีเอฟเคจะทำการเผยแพร่รายงานวิเคราะห์ทั่วโลกของตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศในงาน IFA 2017 ณ เมืองเบอร์ลิน ช่วงวันที่ 1-6 กันยายน นี้

 

วิธีการเก็บข้อมูล

จีเอฟเคทำการเก็บข้อมูล ณ จุดขายเป็นประจำผ่านกลุ่มธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกจากกว่า 100 ประเทศ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับไอทีฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ รวมทั้งอุปกรณ์เสริม และทำการวิเคราะห์ด้านความต้องการของผู้บริโภคในสภาวการณ์ปัจจุบัน ในตลาดนานาชาติ ยุโรป และเยอรมันในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา จีเอฟเคได้รวบรวมข้อมูลที่รวบรวมมาจากตัวแทนจำหน่าย และผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่นมาไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นศูนย์เก็บรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำเที่ยงตรงนำมาใช้ในการระบุความเป็นไปได้ที่มีอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการปรับปรุงกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์การกระจายสินค้าให้ได้รับความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและศักยภาพในการสร้างกำไร

 

เกี่ยวกับ จีเอฟเค (GfK)

จีเอฟเค เป็นบริษัทข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการตลาดและผู้บริโภคที่ได้รับความไว้วางใจ และช่วยให้ลูกค้าของบริษัทดำเนินการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จีเอฟเคมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยธุรกิจการตลาดมากกว่า 13,000 คน ที่พร้อมผนึกกำลัง ความสามารถผนวกกับประสบการณ์อันยาวนานและองค์ความรู้ด้านข้อมูลของบริษัท เพื่อผลิตข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญในระดับโลกพร้อมข้อมูลทางการตลาดจากมากกว่า 100 ประเทศ จีเอฟเคเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากเป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และองค์ความรู้ด้านข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนา ข้อได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างเสริมประสบการณ์และตัวเลือกของผู้บริโภคได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gfk.com หรือติดตามทางทวิตเตอร์: https://twitter.com/GfK

ซีเมนส์ จัดงาน SPACe กระชับสัมพันธ์กลุ่มลูกค้าไทย ผู้ใช้โซลูชั่นของซีเมนส์

  • SPACe คืองานสัมมนาที่จัดขึ้นทุกๆ สองปี ในหัวข้อที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี กรณีศึกษาและการนำเสนอข้อมูลจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจากหลากหลายอุตสาหกรรมในกระบวนผลิต

  • การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ SIMATIC PCS 7 Version 0 ซอฟต์แวร์ระบบควบคุมกระบวนการผลิตอัจฉริยะในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยเสริมความสามารถให้กับผู้ผลิตในประเทศในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้รวดเร็วและยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม

 

ซีเมนส์ ผู้นำการคิดค้นนวัตกรรมด้านระบบจัดการกระแสไฟฟ้า ระบบสั่งการทำงานอัตโนมัติและดิจิทัล เป็นเจ้าภาพจัดงาน Siemens Process Automation Conference & Exhibition (SPACe) ที่กรุงเทพเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 100 คน ประกอบด้วยลูกค้าผู้ใช้งาน พันธมิตรธุรกิจ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากซีเมนส์

 

SPACe คือรูปแบบของงานสัมมนาที่ได้รับความสนใจจากส่วนต่างๆ ของโลก มีผู้เข้าร่วมงานเพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อแนวโน้มและความท้าทายที่กำลังท้าทายอุตสาหกรรมการผลิต โดยจะจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกสองปี ประกอบด้วย การนำเสนอข้อมูลและนวัตกรรมเทคโนโลยี รวมถึงการเปิดตัวและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ เช่น การสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและระบบเครือข่าย ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้ที่ใช้งานระบบอยู่แล้วและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีโอกาสได้สัมผัสกับระบบที่ใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม และประสบการณ์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสัมผัสกับเทคโนโลยีรุ่นล่าสุดที่ซีเมนส์นำมาจัดแสดงสาธิตอีกด้วย

 

สำหรับงาน SPACe ในปีนี้ได้จัดให้ครอบคลุมถึง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระยะเวลา 3 เดือน ภายใต้แนวคิด “Driving the Digital Enterprise in Process Industries of Southeast Asia” โดยมีเป้าหมายที่การนำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะสมให้แต่ละตลาด และประเภทอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการและการทำงานที่มีความเฉพาะตัว ในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงและผลักดันธุรกิจให้บรรลุไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ในงานสัมมนา ได้มีการนำเสนอหัวข้อ “การปรับกระบวนผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ สู่ระบบดิจิทัล” “โซลูชั่นจากซีเมนส์สำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และเหมืองแร่” และ “ระบบสื่อสารไร้สายและรักษาความปลอดภัยเครือข่ายสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต” จากผู้เชี่ยวชาญของซีเมนส์ด้วย

 

ดร. ฟรีดเฮล์ม ไกเกอร์ หัวหน้าแผนก Process Automation Engineering ASEAN บริษัท ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “SPACe เป็นงานที่ช่วยให้เราได้เข้าถึงและเสริมสร้างสมรรถนะความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้ใช้โซลูชั่นต่างๆ ของซีเมนส์ และยังเป็นเวทีเปิดกว้างในการแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมระบบจัดกระบวนการผลิตอัตโนมัติ ในหลายปีที่ผ่านมานั้น เราได้เห็นผู้คนในอุตสาหกรรมนี้ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งได้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ และนี่จึงเป็นสาเหตุที่ซีเมนส์ได้ขยายจำนวนประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้นในปีนี้ และหวังที่จะเห็นการรวมตัวเช่นนี้จากหลากหลายประเทศทั่วภูมิภาค และยังเป็นการรุกหาพันธมิตรธุรกิจเพื่อช่วยส่งเสริมศักยภาพให้แก่อุตสาหกรรมนี้รุดหน้าต่อไป”

 

นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาให้กับผู้ใช้งานขึ้นในแต่ละประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในภาคอุตสาหกรรม

 

ภายใต้แนวคิดของงานส่วนแสดงสินค้านั้น ซีเมนส์ ยังได้ทำการเปิดตัว SIMATIC PCS 7 Version 9.0 ซอฟต์แวร์ระบบควบคุมกระบวนการผลิตเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดในประเทศไทย ซึ่ง PCS7 เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และยังมั่นใจได้ถึงเสถียรภาพของระบบในการดำเนินการผลิตอย่างต่อเนื่อง และ Version 9.0 ได้รับการออกแบบให้รองรับ Profinet ซึ่งเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมด้านระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ที่มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลแยกอิสระถึง 2 ช่อง เพื่อรองรับกระบวนการทำงานแบบดิจิทัลในระดับการทำงานของระบบการผลิต และยังได้เพิ่มลักษณะการทำงานใหม่ให้ซอฟต์แวร์ ทำให้การทำงานภายในโรงงานนั้นมีประโยชน์มากขึ้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีความสะดวก และยังมั่นใจได้ว่าระบบจะพร้อมรับกับอนาคต สามารถวางใจได้ว่าจะใช้งานร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร้ปัญหา ด้วยซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นใหม่นี้ ถือได้ว่าซีเมนส์ได้เปิดมุมมองใหม่ในเรื่องการทำงานของภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ และสร้างโอกาสใหม่ที่เหมือนเป็นแนวทางให้กับภาคอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัลอีกด้วย

 

SPACe Innovation Tour 2017 เริ่มต้นที่ประเทศเวียดนามในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตามด้วยสิงคโปร์และไทย และจะจัดขึ้นที่ฟิลิปปินส์และมาเลเซียตามลำดับ

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานสัมมนา SPACe สามารถเยี่ยมชมได้ที่

http://www.siemens.com.sg/SPACe/about_space.asp

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ SIMATIC PCS 7 v9.0 สามารถเยี่ยมชมได้ที่

http://w3.siemens.com/mcms/process-control-systems/en/distributed-control-system-simatic-pcs-7/pages/distributed-control-system-simatic-pcs-7.aspx

เปิดตัว Kaspersky IoT Scanner โซลูชั่นปกป้องไอโอทีดีไวซ์ ดาวน์โหลดฟรี เชื่อมต่อปลอดภัย

 

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวเบต้าเวอร์ชั่นของโซลูชั่นเพื่อป้องกัน สมาร์ทโฮม” หรือบ้านอัจฉริยะ และ Internet of Things ในชื่อ “Kaspersky IoT Scanner” แอพพลิเคชั่นนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทำงานบนแอนดรอยด์แพลตฟอร์ม สามารถสแกนระบบไวไฟที่ใช้งานที่บ้าน แจ้งเตือนเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาเชื่อมต่อกับไวไฟ และระดับของความปลอดภัย

 

ขณะที่ Internet of Things กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาชญากรไซเบอร์ก็กำลังมองหาวิธีการช่องทางหาประโยชน์จากเทรนด์ที่เติบโตนี้ด้วยเหมือนกัน แทนที่จะทำให้ชีวิตของผู้บริโภคสมาร์ทดีไวซ์ง่ายขึ้น กลับกลายมาเป็นช่องโหว่ในด้านซีเคียวริตี้ที่น่าเป็นห่วงขึ้นทุกวัน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราได้พบเห็นดีไวซ์มากมายหลายประเภทที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แล้วก็กลายเป็นเหยื่อโดนแฮ็ก ช่องโหว่ที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุดมาจากซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการต่อกับเว็บนี่เอง ทั้งๆ ที่ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่แล้ว จุดที่เป็นช่องโหว่ได้นั้นมีตั้งแต่ baby monitors ไปจนกระทั่ง เครื่องปรับอากาศ หรือรถยนต์ น่าเศร้าว่า เมื่อมีสิ่งใดเชื่อมต่อกับเว็บได้ ก็เป็นอันว่ามีโอกาสตกเป็นเหยื่อโดนแฮ็กได้เสมอ แถมยังมี IoT search engines มาคอยเปิดโอกาสให้เป็นเหยื่อเพลี่ยงพล้ำได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก”

จากการวิเคราะห์ของ การ์ตเนอร์ พบว่ามีอุปกรณ์ IoT มากกว่าหกพันล้านเครื่องที่กำลังใช้งานอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ และหลายเครื่องก็ได้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรไซเบอร์ไปเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่าง เมื่อปีที่แล้ว ทั้งโลกสั่นคลอนกับคลื่นการโจมตี DDoS attacks ที่มาจากฝีมือ Mirai botnet ที่ใช้ช้องโหว่ยอดนิยมในอุปกรณ์ IoT ในการแพร่กระจายเชื้อ และจับเหยื่อมาเป็นหุ่นเชิดของตน แคสเปอร์สกี้ แลป ได้พัฒนาโซลูชั่นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงเช่นนี้ลง ตอนนี้ยังเป็นเบต้าเวอร์ชั่น แต่ก็ขอแนะนำให้บรรดาผู้ใช้ IoT ทั้งหลายนำมาใช้เพื่อเป็นการป้องกันอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านสมาร์ทโฮมของตน และแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับศักยภาพ ความสามารถ สมรรถนะในการใช้งานโซลูชั่นที่เรียกว่า Kaspersky IoT Scanner นี่ด้วย

 

Kaspersky IoT Scanner จะระบุสมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกับไวไฟเร้าเตอร์โดยอัตโนมัติ รวมไปถึง ไอพีคาเมร่า (IP cameras) สมาร์ททีวี เครื่องพิมพ์ต่อผ่านไวไฟ อุปกรณ์เก็บข้อมูลบน NAS มีเดียเซิร์ฟเวอร์ และเกมคอนโซล รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ที่อยู่ในวงเครือข่ายในบ้านของเรา โซลูชั่นจะ “จดจำ” อุปกรณ์เหล่านี้ไว้ และแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เมื่อใดก็ตามที่มีอุปกรณ์ใหม่หรือที่ใช้ปกติมาต่อเชื่อม หรือปลดการต่อเชื่อม ทำให้ผู้ใช้งานล่วงรู้อยู่เสมอถึงสถานะความเป็นไปว่ามีใคร อะไรมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายบ้านของตนบ้าง

 

โซลูชั่นสแกนอุปกรณ์หาช่องโหว่ ตัวอย่าง หากพอร์ตต่อเชื่อมถูกเปิดอยู่ (ย่อมหมายถึงใครก็ตามที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะต่อเข้ามาได้) โซลูชั่นแจ้งเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับสถานะนั้น และแนะนำให้ทำการปิดพอร์ตในทันที นอกจากนี้ Kaspersky IoT Scanner แจ้งผู้ใช้เกี่ยวกับปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพาสเวิร์ดรหัสผ่านของตัวไวไฟเร้าเตอร์ Telnet หรือ SSH ด้วย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกัน การเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะผ่านทางอุปกรณ์ IoT ที่ต่ออยู่ชิ้นใดก็ตาม ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการตั้งพาสเวิร์ดรหัสผ่านที่ไม่แข็งแกร่งนั่นเอง

อังเดรย์ โมโกล่า หัวหน้าฝ่ายธุรกิจผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า ปรัชญาความมุ่งมั่นของแคสเปอร์สกี้ แลป คือปกป้องโลกใบนี้ให้พ้นจากภัยไซเบอร์ และนี่มิใช่เป็นเพียงลมปากเท่านั้น เพราะเราทำงานหนักทุกวันเพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่ที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานของเรา คลังอาวุธของเรานั้นประกอบด้วยโซลูชั่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานหลากหลายตัว รองรับการทำงานหลากหลายรูปแบบและหลากหลายแพลตฟอร์ม และ โซลูชั่น Kaspersky IoT Scanner นี้ก็เป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นที่จะช่วยให้ประชากรเน็ตจำนวนหนึ่ง หรือเรียกว่า ผู้ใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ทั้งหลาย สามารถใช้งานได้อย่างมีเกราะป้องกันตัว

 

สามารถดาวน์โหลด Kaspersky IoT Scanner เวอร์ชั่นเบต้าสำหรับการทดสอบได้จาก Google Play ในภาษาอังกฤษและรัสเซีย ได้ที่ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.kaspersky.iot.scanner