เลือกรถที่ใช่ พร้อมโปรที่คลิก ในงาน ‘แปซิฟิค มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 22’ เริ่ม 23 พ.ย.-1 ธ.ค.นี้

ศูนย์การค้าแปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา ชวนผู้ที่สนใจ “ทุกเรื่องของรถ” เข้าร่วมชมสุดยอดมหกรรมยานยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งภาคตะวันออก ที่รวบรวมทุกความต้องการของคนที่กำลังมองหารถยนต์ รถจักรยานยนต์ บิ๊กไบค์ ล้อแม็กซ์ ยางรถยนต์ พร้อมอุปกรณ์ประดับยนต์ชั้นนำ ไว้มากที่สุด  ในงานมหกรรมยานยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งภาคตะวันออก แปซิฟิค มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 22 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เลือกรถถูกใจ…เลือกสไตล์ที่เป็นคุณ”

บนพื้นที่จัดแสดงกว่า 4,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับสุดยอดแบรนด์ยานยนต์ชื่อดังระดับโลก 22 ค่าย อาทิ  BMW, FORD, HONDA, ISUZU, MAZDA, MITSUBISHI, NISSAN,  TOYOTA และรถจักรยานยนต์ชั้นนำ นำโดย BENELLI, GPX, HONDA, KAWASAKI, VESPA, YAMAHA รวมถึงค่ายรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังได้รับความนิยม รวมทั้งล้อแม็กซ์ ยางรถยนต์ เครื่องเสียง อุปกรณ์ประดับยนต์แบรนด์ดังต่าง ๆ ที่ระดมทัพสินค้ามากมายเข้ามาจำหน่ายในราคาพิเศษพร้อมเปิดรับทุกข้อเสนอของลูกค้า  ภายใต้ทางเลือกที่มีให้อย่างไม่จำกัด

พิเศษสุด ศูนย์การค้าฯ ยังจัดโปรโมชั่นพิเศษ “แปซิฟิค พาร์ค ช่วยจ่าย” สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์รถจักรยานยนต์ หรือบิ๊กไบค์ รวมมูลค่ากว่า 500,000 บาท ห้ามพลาดกับกิจกรรมความสนุก ความประทับใจ แบบจัดเต็ม ให้เข้าชมฟรีตลอด 9 วันเต็ม

อาทิ มินิคอนเสิร์ต โตโน่ แอนด์ เดอะ ดัสต์ ริท เรืองฤทธิ์ โชว์จากเพลย์บอย ไทยแลนด์ โชว์ชุดพิเศษจากเหล่าพริตตี้ ตอกย้ำความเป็นแลนด์มาร์คของเมืองศรีราชา และผู้นำการจัดงานยานยนต์ที่ยิ่งใหญ่และดีที่สุด ในรอบปีแห่งภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน จนถึง 1 ธันวาคม 2562 นี้ ในงานแปซิฟิค มอเตอร์ โชว์ ครั้งที่ 22 ณ ศูนย์การค้าแปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

โดยผู้ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/Pacificparksriracha

แคสเปอร์สกี้ เผยภัยร้ายไซเบอร์เริ่มคุกคามวงการแพทย์ใน APAC

ในงานประชุมประจำปี Cybersecurity Weekend ครั้งที่ 5 ที่รวมนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารระดับสูงจาก 12 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้เปิดเผยว่า บริษัทกำลังจับตามองภัยไซเบอร์ที่คุกคามวงการแพทย์พร้อมเผยสถานการณ์ภัยไซเบอร์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

นายสเตฟาน นิวไมเยอร์ กรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ดาต้ากำลังป่วย บันทึกความลับทางการแพทย์กำลังถูกรุกล้ำ ดีไวซ์ขั้นสูงกำลังเปลี่ยนมนุษย์ให้มีส่วนของร่างกายที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ แนวคิดต่างๆ นี้ได้ก้าวข้ามเส้นแบ่งระหว่างนิยายและความจริงไปเสียแล้ว ตอนนี้มันคือความจริง เกิดขึ้นจริงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก กระแส digitalisation ที่มาถึงภาคสาธารณสุขอย่างรวดเร็ว ทำให้อาชญากรไซเบอร์กำลังมองหาช่องทางเพิ่มเพื่อเข้าโจมตี ซึ่งต้องยอมรับว่า หน่วยงานทางการแพทย์ยังไม่พร้อมรับมือกับภัยออนไลน์รูปแบบนี้”

 

การโจมตีโรงพยาบาลและอุปกรณ์การแพทย์เกิดขึ้นแล้วทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่ก้าวหน้าในฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีหลังๆ มานี้พบภัยคุกคามที่รุกล้ำมายังฝั่งเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น มีรายงานคาดการณ์ว่า วงการแพทย์ในภูมิภาคนี้สามารถประสบเหตุโจมตีทางไซเบอร์และสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 23.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

ประเทศสิงคโปร์ซึ่งถูกจัดให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจและภูมิภาคของเอเชียได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์องค์กรทางการแพทย์ถูกรุกล้ำข้อมูลรวม 4 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน เหตุการณ์หนึ่งในนั้นเกี่ยวข้องกับข้อมูลการแพทย์ของนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมีแรนซัมแวร์วอนนาคราย (Wannacry) ที่โจมตีหน่วยงานการแพทย์หลายแห่งในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะที่จีน ฮ่องกง และเวียดนาม

 

ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์จากทีมวิเคราะห์และวิจัยของแคสเปอร์สกี้ หรือทีม GReAT (Global Research and Analysis Team) กำลังเร่งตรวจสอบเพื่อเปิดโปงแคมเปญใหม่ที่คืบคลานเข้าโจมตีอุปกรณ์การแพทย์และสถานพยาบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่นๆ

 

นายวิทาลี คัมลัก หัวหน้าทีม GReAT ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้นำทีมนักวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า “สถานการณ์ฝุ่นกัมมันตรังสีหลังระเบิดนิวเคลียร์เชอร์โนบิลมีแง่มุมที่เหมือนกับภัยคุกคามไซเบอร์ ด้วยตาเปล่าไม่สามารถมองเห็นรังสีจากเหตุการณ์ที่ผ่านมานานนับทศวรรษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์จนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับภาคการแพทย์ที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยการแพร่ระบาดของภัยไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายต่อวงการแพทย์และมีความเป็นไปได้ที่จะกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ลักษณะของภัยคุกคามไซเบอร์นั้นยากที่จะมองเห็นก็จริง แต่คำถามสำคัญคือ เราได้พยายามมากพอหรือยังถึงจะเห็นว่าภัยคุกคามนั้นกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของเรา”

 

นายสเตฟานกล่าวเสริมว่า “วงการการแพทย์นั้นเป็นวงการที่สำคัญยิ่งยวดและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าขณะนี้วงการแพทย์จะยังไม่ได้ตกเป็นเป้าหมายใหญ่อย่างธนาคาร แต่ก็มีเอกสารสำคัญรวมถึงบันทึกงานวิจัยขั้นสูงที่อาจเป็นเป้าหมายการโจมตีของอาญชกรไซเบอร์ได้”

ควันหลง Wannacry แคสเปอร์สกี้ เผยจำนวนดีไวซ์การแพทย์ทั่วโลกถูกโจมตีลดลง แต่ APAC บางประเทศยังสูง

นานกว่าสองปีแล้วที่แรนซัมแวร์ Wannacry ชื่อกระฉ่อนได้โจมตีหน่วยงานการแพทย์และองค์กรอื่นๆ ทั่วโลก หน่วยงานทางการแพทย์ดูจะเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้และแก้ไขระมัดระวังมากขึ้นด้วยตัวเลขในปี 2019 ระบุว่าจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ที่ถูกโจมตีมีจำนวนลดลง

 

สถิติจากแคสเปอร์สกี้แสดงว่า อุปกรณ์โรงพยาบาล 30% ที่ถูกโจมตีในปี 2017 ลดลงเหลือ 28% ในปี 2018 และเหลือแค่ไม่ถึงหนึ่งในสามหรือ 19% ในปี 2019 นี้

 

อย่างไรก็ตาม แคสเปอร์สกี้ก็แจ้งเตือนว่า จำนวนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีลดลงนั้นเป็นตัวเลขโดยรวมทั่วโลก แต่บางประเทศยังมีตัวเลขการโจมตีที่สูง อุปกรณฺการแพทย์จำนวนมากกว่าเจ็ดในสิบเครื่องในประเทศเวเนซูเอล่า (77%) ฟิลิปปินส์ (76%) ลิเบีย (75%) และอาร์เจนติน่า (73%) ยังถูกโจมตีผ่านเว็บอยู่ อีกสองประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ติดโผ 15 ประเทศที่มีจำนวนการถูกโจมตีสูงสุดของโลก คือ บังกลาเทศ (58%) และไทย (44%)

 

ตัวเลขข้างต้นเป็นตัวเลขที่นักวิจัยตรวจพบผ่านโซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ในอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โมบาย แท็บเล็ต อุปกรณ์ไอโอที และเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

 

ยูริ นาเมสนิคอฟ หัวหน้าทีม GReAT หรือทีมวิเคราะห์และวิจัยของรัสเซีย บริษัท แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “แม้ว่าเราอยากจะเชื่อว่า ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายผ่านเหตุการณ์ Wannacry มาแล้ว แต่ความจริงคือยังมีอีกหลายประเทศที่ยังดำเนินการล่าช้าในการป้องกันภัยไซเบอร์ต่ออุปกรณ์การแพทย์ ปัจจัยหนึ่งที่เราสังเกตได้คือ โอกาสที่จะถูกโจมตีนั้นขึ้นอยู่กับงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ อีกปัจจัยคือความตระหนักถึงภัยไซเบอร์ในสถานพยาบาล”

 

แคสเปอร์สกี้ ขอแนะนำสถานพยาบาลดังนี้

  • ต้องมองว่าความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องสำคัญ
    • การโจมตีทางไซเบอร์ต่อสถานพยาบาลเป็นเรื่องที่ควรปฎิบัติอย่างมืออาชีพ เพราะมีความเสี่ยงต่อชีวิตได้
    • บุคลากรในสถานพยาบาลควรเข้าใจถึงภัยคุกคามไซเบอร์และดำเนินการป้องกันระบบงานต่างๆ
    • เซอร์วิสด้านข้อมูลภัยคุกคามและรายงานต่างๆ สามารถช่วยให้สถานพยาบาลเข้าใจและป้องกันการโจมตีไซเบอร์ที่อาจะเกิดขึ้นได้
  • ตรวจสอบความสามารถด้านความปลอดภัยของซัพพลายเออร์ที่ใช้
    • เครื่องมือทางการแพทย์มักมีราคาค่อนข้างสูงและรับประกันนานกว่าสิบปี ผู้ผลิตจึงควรพิจารณาการใช้งานฮาร์ดแวร์ที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันช่องโหว่ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
    • ผู้ขายควรพิจารณาการตั้งทีมรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น
  • ตรวจสอบการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์
    • โรงพยาบาลและสถานพยาบาลมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทุกวัน จึงควรตรวจสอบว่าบุคลากรใดได้สิทธิ์เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์และดาต้าบ้าง
    • โรงพยาบาลเป็นสถานที่สาธารณะ พนักงานเก่าที่มีปัญหากับโรงพยาบาลสามารถก่อความเสียหายได้ เช่น ลบข้อมูลต่างๆ ออกจากระบบ
  • การกำหนดกฏระเบียบความปลอดภัยไอทีเป็นเรื่องจำเป็น
    • เช่นเดียวกับหน่วยงานด้านการเงิน ภาคสาธารณสุขก็ควรมีการร่างกฎหมายกฏระเบียบต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ต่อสถานพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น
  • การอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์แก่พนักงานในโรงพยาบาล คลินิก และสถานพยาบาลอื่นๆ เป็นเรื่องจำเป็นมาก

 

Kaspersky เผยครี่งปีแรกตรวจจับฟิชชิ่งใน SEA ได้มากกว่า 14 ล้านครั้ง

พบพยายามโจมตีผู้ใช้ในไทย 1.5 ล้านครั้ง

โจรไซเบอร์ใช้วิธีเก่าแต่ยังเก๋า พร้อมแนะยูสเซอร์รุ่นใหม่ให้เพิ่มความระแวดระวัง

Kaspersky เผยสถิติล่าสุดพบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ในการแพร่กระจายไปยังเน็ตเวิร์กและดีไวซ์ต่างๆ ผ่านวิธีที่ง่ายที่สุดแต่ก็ยังเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ “ฟิชชิ่ง” Kaspersky สามารถตรวจจับความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งในภูมิภาคนี้ได้มากถึง 14 ล้านครั้ง ในระยะเวลาเพียงครึ่งปีที่ผ่านมาเท่านั้น

 

Kaspersky เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกพบความพยายามในการดึงผู้ใช้ตรงไปยังเว็บไซต์ฟิชชิ่งปริมาณสูงสุดที่ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มากกว่า 11 ล้านครั้งรวมกัน สำหรับประเทศไทยพบความพยายามโจมตีมากถึง 1.5 ล้านครั้ง ฟิลิปปินส์มากกว่า 1 ล้าน และสิงคโปร์เพียง 351,510 ครั้งเท่านั้น

 

เมื่อพิจารณาจำนวนของผู้ใช้ที่ถูกโจมตีด้วยฟิชชิ่ง พบว่า ฟิลิปปินส์มีจำนวนเหยื่อฟิชชิ่งมากที่สุด คือ 17.3% สูงกว่าปีที่แล้วที่มีจำนวนเหยื่อ 10.449% ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง 65.56% เลยทีเดียว

 

โดยมาเลเซียตามมาเป็นอันดับสองคือ 15.829% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 11.253%) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ 14.316% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.719%) ไทย 11.972% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.9%) เวียดนาม 11.703% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 9.481%) และสุดท้ายสิงคโปร์ 5% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 4.142%)

 

ความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งแสดงถึงความถี่ที่อาชญากรไซเบอร์พยายามล่อหลอกให้ผู้ใช้ Kaspersky เข้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อขโมยข้อมูล ขณะที่จำนวนของผู้ใช้ที่ถูกโจมตีแสดงถึงสัดส่วนของผู้ใช้ Kaspersky ที่เป็นเป้าหมายของการพยายามโจมตีในช่วงเวลาหนึ่งๆ

 

นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป Kaspersky ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ภัยคุกคามที่เก่าแต่เก๋าตัวนี้มีอยู่จริงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ และไม่มีทีท่าจะหมดไปในเร็วๆ นี้ ภูมิภาคของเราประกอบด้วยประชากรรุ่นใหม่ที่มีความคล่องตัวสูง ที่เรายังจำเป็นต้องให้ความรู้เรื่องความเสี่ยงของฟิชชิ่งซึ่งเป็นการโจมตีไซเบอร์ทั่วไป ผู้ใช้รุ่นใหม่จะซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่และจะคำนึงเรื่องความปลอดภัยเฉพาะที่ตัวเครื่องไม่ใช่เวอร์ชวล ตราบใดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตลดการป้องกันลง ก็แน่นอนว่าจะมีเหยื่อฟิชชิ่งเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ อย่างแน่นอน”

 

ประสิทธิภาพของกลลวงฟิชชิ่งนั้นพิสูจน์ได้จากการที่อาชญากรไซเบอร์สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลมาขายต่อได้ง่ายๆ ในตลาดมืด พวกนักต้มตุ๋นมักมองหาข้อมูลอย่างหมายเลขบัตรเครดิต รวมถึงพาสเวิร์ดบัญชีธนาคารและแอปพลิเคชันการเงินต่างๆ

 

ทั้งๆ ที่หน่วยงานรัฐและภาคเอกชนต่างประกาศเตือนผู้ใช้อยู่เสมอไม่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต แต่จำนวนเหยื่อก็ยังเพิ่มสูงขึ้น และถึงแม้จะมีความตระหนักรู้จักกลโกงออนไลน์มากขึ้น แต่ผู้ใช้ก็ยังระแวดระวังลดลง

 

นายโย เซียง เทียง กล่าวเสริมว่า “นี่เป็นสัญญาณเตือนอันตรายว่าฟิชชิ่งยังคงมีประสิทธิภาพมากในการหลอกลวงผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาชญากรไซเบอร์ยังใช้วิธีส่งเมลแบบเดิมเป็นปีๆ แต่ก็ยังหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือคลิกลิ้งก์ปลอมได้ สถิติล่าสุดของเรายืนยันว่า เราจำเป็นต้องเร่งเปลี่ยนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคนี้ให้เป็นผู้ใช้ที่รู้เท่าทันและสามารถแยกแยะกลโกงต่างๆ ได้”

 

Kaspersky แนะนำขั้นตอนหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อฟิชชิ่งดังนี้

  • ระแวดระวังอีเมลน่าสงสัยอยู่เสมอ ถ้าอีเมลมีเนื้อหาที่ดีเกินกว่าจะเป็นเรื่องจริง ให้เช็คซ้ำๆ ถ้าเป็นอีเมลที่อ้างว่ามาจากธนาคาร ควรโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับธนาคารทันที โดยปกติแล้ว ธนาคารจะไม่สอบถามพาสเวิร์ดทางอีเมล แต่มักจะพูดคุยสอบถามข้อมูลหรือให้กรอกแบบฟอร์มที่ธนาคาร
  • หากใช้อีเมลฟรี ควรมีอีเมล 2 บัญชี บัญชีแรกสำหรับใช้งานหลักและอีกบัญชีสำหรับใช้งานเว็บไซต์ที่ต้องล็อกอินเพื่ออ่านข่าวหรือแจ้งข้อมูลต่างๆ
  • สมาร์ทโฟนทุกเครื่องไม่ได้ปลอดภัย จึงควรระวังข้อความที่จะพาไปยังเว็บไซต์ต่างๆ มีซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายมากมายที่สามารถดึงข้อมูลจากแอปในเครื่องได้
  • ใชโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ที่มีฟีเจอร์แอนตี้ฟิชชิ่งและปกป้องการใช้จ่ายออนไลน์ เช่น like Kaspersky Internet Security, Kaspersky Total Security, และ Kaspersky Security for Cloud
  • และวิธีป้องกันตัวจากฟิชชิ่งที่ดีที่สุดคือการพิจารณาอีเมลและข้อความที่ได้รับอย่างละเอียดรอบคอบ ในยุคดิจิทัลนี้ การระมัดระวังมากเกินไปไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

 

เกี่ยวกับ Kaspersky

 

Kaspersky เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตระดับโลกที่ก่อตั้งในปี 1997 ด้วยความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโซลูชั่นความปลอดภัยยุคใหม่ ที่ให้บริการในการป้องกันสำหรับธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลและลูกค้าทั่วโลก การให้บริการของบริษัทประกอบด้วย การป้องกันปลายทาง โซลูชั่นการป้องกันความปลอดภัยแบบพิเศษจำนวนมาก และบริการเพื่อป้องกันภัยคุกคามดิจิทัล ซึ่ง Kaspersky ได้ป้องกันความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้กว่า 400 ล้านคน และอีกกว่า 270,000 องค์กร ที่ป้องกันความปลอดภัยให้กับทุกส่วนที่สำคัญสำหรับลูกค้า ศึกษาข้อมูลเพี่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

ไอซีดีแอล จับมือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) อบรมพัฒนาทักษะดิจิทัลของวิศวกรไทยสู่มาตรฐานสากล

ICDL Thailand และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ลงนามในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านดิจิทัล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และระดับทักษะดิจิทัลขั้นสูง (Professional Skills) ให้กับวิศวกรไทยทุกสาขาอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ พร้อมทั้งวิศวกรไทยมีขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีโอกาสที่จะได้วุฒิบัตรรับรองความรู้และทักษะดิจิทัลระดับมาตรฐานสากล (ICDL – International Computer Driving License) รวมถึงการจัดตั้งศูนย์สอบด้านดิจิทัลของ วสท. ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลต่อไป

ICDL จับมือ PTS เปิดคอร์สออนไลน์ “ICDL Digital Learning for Workforce Basics”

ICDL Thailand ร่วมกับ PTS พัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล “ICDL Digital Learning for Workforce Basics” สำหรับเตรียมตัวเข้ารับการประเมิน ICDL Workforce Basics ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์สร้างความเข้าใจในเนื้อหาที่จำเป็นในการประเมินทักษะสมรรถนะดิจิทัล รวมถึงการต่อยอดความสนใจเฉพาะทางด้วยการทดลองฝึกฝน

สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Online Learning หลักสูตร ICDL Workforce Basics นี้ที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากมายใน ปัจจุบัน! พร้อมให้บริการควบคู่กับการทดสอบสมรรถนะด้านทักษะดิจิทัล เตรียมความพร้อมในการประเมินทักษะดิจิทัล ผ่านบทเรียนออนไลน์ทรงประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ICDL เรียนด้วยตัวคุณเองทุกที่ทุกเวลา ครบครันทักษะดิจิทัลพื้นฐานที่จำเป็น ขยายความสำเร็จในการศึกษาและการทำงาน เพราะมาตรฐานทักษะดิจิทัลไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

 

ผู้สนใจบทเรียนดิจิทัล ICDL Digital Learning for Workforce Basics สามารถติดต่อ ICDL Thailand ได้ที่

โทร 02-117-9564

อีเมล info@icdlthaialnd.org