ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์
ตามประวัติท่านชอบชกมวยและตีไก่ จึงมีคนนำนวม, ไม้พายและรูปปั้นไก่มาแก้บน

เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2247 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8(พระเจ้าเสือ) ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ดตกปลา ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม คลองในบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก

พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวัง แต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งจึงชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่าความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหักผู้นั้น หมายถึง มรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณีสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัย มิใช่ความประมาท จึงพระราชทานพระอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมพระราชกำหนดกฎหมาย

สุดท้ายก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ ทรงจำพระทัยปฏิบัติตามพระราชกำหนดดำรัสสั่งให้เพชรฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์ และโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตานำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล ภายหลังเหตุการณ์สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงโปรดให้นำศพพันท้ายนรสิงห์มาแต่งกายพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติยศ

พันท้ายนรสิงห์ สร้างความศรัทธา และความนับถือ ในด้านความซื่อสัตย์และจงรักภักดี

 

ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์
เต็มไปด้วยรูปปั้นไก่ที่นำมาแก้บน

พันท้ายนรสิงห์ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ศาลนี้จึงเป็นที่พึ่งทางใจของคนอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งนิยมมาขอพร ในเรื่องของการประสบผลสำเร็จ เมื่อขอไปแล้วสัมฤทธิ์ผล ผู้คนจึงนำนวมชกมวยและไม้พายเรือ แต่ในช่วงหลังมีคนนำรูปปั้นไก่แก้วมาแก้บน เนื่องจากตามประวัติท่านชอบชกมวยและตีไก่

ศาลพันท้ายนรสิงห์

 

ด้านข้างศาลจะมีเรือโบราณ ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 300 ปี สร้างจากไม้ตะเคียนทอง ชาวบ้านเชื่อว่าเรือลำนี้อาจเป็นเรือในขบวนเสด็จ หรืออาจเป็นเรือในการลำเลียงทหาร

เรือโบราณ

 

เรือโบราณ