แคสเปอร์สกี้สนับสนุนความเท่าเทียม ตั้งชุมชมออนไลน์ ‘Women in Cybersecurity’

พร้อมเผยผลสำรวจ องค์กรเพียง 37% ที่มีนโยบายสนับสนุนการรับพนักงานหญิงเข้าแผนกไอที

จากการสำรวจของ Kaspersky ร่วมกับ 451 Research ระบุว่า ในเอ็นเทอร์ไพรซ์ 45% พบสัดส่วนจำนวนผู้หญิงที่ทำงานในแผนกไอทีซีเคียวริตี้น้อยกว่าแผนกอื่นๆ ในองค์กร และมีองค์กรเพียง 37% ที่รับพนักงานหญิง / กำลังพิจารณารับสมัคร / หรือมีแผนงานอย่างเป็นทางการที่จะรับพนักงานหญิงเข้าทำงานในแผนกไอทีซีเคียวริตี้

 

ความหลากหลายของกำลังคนในการทำงานจะทำให้เกิดความสามารถพิเศษขึ้นในองค์กร และยังปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีกำลังคนหลากหลายจะมีรายได้สูงขึ้น 19% จากนวัตกรรม แนวคิดเรื่อง ความเสมอภาคทางเพศไม่ได้เป็นเพียงแค่ประเด็นทางจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยหลักสำคัญสำหรับประสิทธิภาพของธุรกิจอีกด้วย จึงมีความคิดริเริ่มในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้หญิงได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจและก้าวหน้าทางอาชีพ เช่น เทคโนโลยี และผู้ประกอบการ

 

นอกจากนี้ยังพบว่า เฉลี่ยทั่วโลกมีผู้หญิงทำงานในองค์กรคิดเป็น 39% ของแรงงานทั้งหมด และมีเพียง 25% ที่ทำงานในตำแหน่งบริหาร สำหรับแผนกความปลอดภัยไซเบอร์และแผนกไอทีทั่วไปอาจกล่าวได้ว่าเป็นสาขาที่ผู้ชายเป็นใหญ่ และอาจเป็นกำแพงกั้นผู้หญิงที่จะเข้ามาทำงานในสาขานี้ จากรายงานเรื่อง “Cybersecurity through the CISO’s eyes: Perspectives on a role” โดย Kaspersky ร่วมกับ 451 Research ระบุว่า ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือ CISO จำนวน 45% ยืนยันว่าผู้หญิงเป็นคนกลุ่มน้อยในสาขานี้

รายงานยังระบุว่า มีองค์กรเพียง 37% ที่รับพนักงานหญิง / กำลังพิจารณารับสมัคร / หรือมีแผนงานอย่างเป็นทางการที่จะดึงดูดใจให้ผู้หญิงเข้ามาสมัครทำงานในแผนกไอที วิธีการที่เป็นที่นิยมเพื่อดึงดูดคือการฝึกอบรมพนักงานหญิงที่มีพื้นฐานด้านไอที (80%) ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งระบุว่ามีโครงการ / กำลังมีโครงการจะรับนักศึกษาหญิงเข้าฝึกงานโดยเฉพาะ (42%) และพร้อมฝึกอบรมผู้สมัครที่ไม่มีคุณสมบัติ (40%) นอกจากนี้พบองค์กร 22% ที่จ้างผู้สมัครเพศหญิงจากแผนกอื่นในองค์กรเพื่อเข้าแผนกไอที ขณะที่องค์กร 63% ระบุว่าจะจ้างเฉพาะผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเท่านั้นโดยไม่เกี่ยงว่าจะเพศใด อย่างไรก็ตาม CISO จำนวน 70% ระบุว่า การหาผู้เชี่ยวชาญไอทีที่มีทักษะในสาขาต่างๆ นั้นยากมาก จึงต้องมองหาช่องทางอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างของทักษะ (Talent Gap)

 

รายงานฉบับนี้ยังพบว่า ในส่วนของผู้นำด้านไอทีซีเคียวริตี้นั้นผู้บริหารชายมีจำนวนมากกว่าหญิง ผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในห้า (23%) ระบุในแบบสอบถามว่าตนเองเป็นเพศหญิง อย่างไรก็ดี พบว่าผู้หญิงที่ทำงานในตำแหน่งบริหารแผนกไอทีซีเคียวริตี้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามหญิงจำนวน 20% ระบุว่า ได้รับตำแหน่งผู้บริหารในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราเติบโตเป็นสองเท่าเมื่อเทียบผู้ชาย (10%)

 

“ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ชี้ว่าสถานการณ์ในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้กำลังเปลี่ยนแปลงไป และในปัจจุบันเรากำลังขาดแคลนบุคลากรหญิง ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่สัดส่วนผู้ชายและผู้หญิงในองค์กร แต่ในการสัมภาษณ์ CISO ระบุว่าไม่มีผู้สมัครเพศหญิงเพียงพอ ดังนั้นเพื่อลดช่องว่างในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เราจึงอยากสนับสนุนและให้กำลังใจผู้หญิงให้พิจารณาเลือกสายงานนี้” เอฟเจนิยา โนโมวา รักษาการกรรมการผู้จัดการประจำทวีปยุโรป แคสเปอร์สกี้ กล่าว

 

แคสเปอร์สกี้ได้ริเริ่มสร้างชุมชนออนไลน์ ชื่อ “Women in Cybersecurity” เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางอาชีพของผู้หญิงในอุตสาหกรรมไซเบอร์ซิเคียวริตี้และสาขาอื่นๆ และยังจับมือกับ Girls in Tech เพื่อสนับสนุน AMPLIFY การแข่งขันเพื่อให้ทุนแก่สตาร์ตอัพที่มีผู้หญิงเป็นผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้แคสเปอร์สกี้ยังจัดงาน CyberStarts ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือคนรุ่นใหม่และลดช่องว่างระหว่างเพศในสายงานไซเบอร์ซีเคียวริตี้

 

แคสเปอร์สกี้ แลป เผยอันดับผู้ใช้ออนไลน์ไทย ‘ปลอดภัยกว่า-ดีกว่า’ ประเทศเพื่อนบ้าน

แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2018 ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลวิเคราะห์เรื่องการโจมตีผ่านเว็บ ภัยคุกคามทั่วไป และแหล่งที่มาของภัยคุกคาม รายงานเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามผู้ใช้ในประเทศไทยได้มากกว่า 5 ล้านรายการ ในช่วงระยะเวลาเพียงสามเดือนที่ผ่านมา

 

จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN พบว่าในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ปี 2018 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยได้ทั้งสิ้น 5,677,465 รายการ คิดเป็นผู้ใช้จำนวน 22.8% ที่โดนโจมตีโดยภัยคุกคามผ่านเว็บ ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 75 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จัดอยู่ในอันดับที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ฟิลิปปินส์อันดับที่ 13 มาเลเซียอันดับที่ 24 อินโดนีเซียอันดับที่ 35 เวียดนามอันดับที่ 58 และสิงคโปร์อันดับที่ 142

 

Kaspersky Security Network หรือ KSN เป็นระบบที่รวมเทคโนโลยีคลาวด์ไว้ในผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรและผู้ใช้ทั่วไปของแคสเปอร์สกี้ แลป KSN จะวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หลายล้านคนทั่วโลกที่สมัครใจร่วมส่งข้อมูลให้ KSN ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถตรวจจับมัลแวร์ขั้นสูงและมัลแวร์ใหม่ที่ไม่รู้จักมาก่อนได้อย่างรวดเร็วที่สุด

 

สถิติของ KSN ในปี 2018 พบว่า ในไตรมาส 3 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน) มีผู้ใช้ในไทยถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามผ่านเว็บจำนวน 24.3% และจัดอยู่ในอันดับที่ 68 ของโลก ขณะที่ไตรมาส 2 (เดือนเมษายน – มิถุนายน) อยู่ในอันดับที่ 70 และไตรมาส 1 (เดือนมกราคม – มีนาคม) อยู่ในอันดับที่ 61 ของโลก

 

นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ข้อมูลจาก Kaspersky Security Network ของเราแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้ในประเทศไทยนั้นมีความปลอดภัยมากขึ้นในด้านการถูกโจมตีออนไลน์และภัยคุกคามทั่วไปเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้ใช้ตระหนักว่าการโจมตีไซเบอร์นั้นมีอยู่จริงและไม่มีอะไรที่ปลอดภัย 100% ประเทศไทยกำลังเติบโตด้านโครงสร้างไอซีทีอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องปกป้องตนเองเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมออนไลน์ที่มีความเสี่ยงก่อนที่จะสายเกินไป เพราะไม่มีใครที่จะปลอดภัยจากภัยคุกคามที่จ้องสร้างความเสียหายแน่นอน”

 

ตัวเลขสถิติไตรมาส 4 ปี 2018 ของประเทศไทยที่น่าสนใจ

ภัยคุกคามผ่านเว็บ

  • ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามผ่านเว็บได้ 5,677,465 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSN
  • ผู้ใช้จำนวน 8% ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามผ่านเว็บ
  • ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 75 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต

ภัยคุกคามทั่วไป

  • ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามทั่วไปได้ 23,742,571 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSN
  • ผู้ใช้จำนวน 9% ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทั่วไป
  • ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 79 ของโลก

แหล่งที่มาของภัยคุกคาม

  • มีเหตุการณ์ที่เกิดจากเซิฟเวอร์ในประเทศไทยทั้งสิ้น 169,937 เหตุการณ์ คิดเป็นสัดส่วน 02% จากทั่วโลก
  • ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก
  • ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 1 คิดเป็นตัวเลขสัดส่วน 12%

 

ข้อมูลนี้ แคสเปอร์สกี้ แลป ได้รับจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลปที่อนุญาตให้ KSN ด้วยความสมัครใจ ผู้ใช้ จำนวนหลายล้านคนจาก 213 ประเทศทั่วโลก ได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมมุ่งร้ายทางไซเบอร์ ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงาน Global Kaspersky Security Bulletin for Q4 2018 ได้ที่เว็บ Securelist.com

 

แคสเปอร์สกี้ แลป พบช่องโหว่ของตัวชาร์จรถไฟฟ้า สร้างความเสียหายต่อเน็ตเวิร์กบ้านได้

โดยปกติแล้วจะมีการทดสอบช่องโหว่ต่างๆ ของยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นกลับถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง เช่น ตัวชาร์จแบตเตอรี่ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า ตัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าของเวนเดอร์รายใหญ่รายหนึ่งมีช่องโหว่ที่จะทำให้ถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้ และการโจมตีที่ประสบความสำเร็จอาจหมายถึงความเสียหายของระบบไฟฟ้าของทั้งบ้าน

 

ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากจะช่วยรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ในบางภูมิภาคจะพบเห็นจุดบริการชาร์จไฟทั้งของสาธารณะและเอกชนอยู่ทั่วไป ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป ตรวจสอบตัวชาร์จสำหรับใช้ภายในบ้านรวมถึงฟีเจอร์การเข้าถึงระยะไกล (remote access) ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ตัวชาร์จที่เชื่อมต่อหากถูกรุกล้ำก็สามารถทำให้ไฟฟ้าทำงานเกินกำลัง ทำให้ระบบที่เชื่อมต่ออยู่ล่ม และอาจทำให้ดีไวซ์อื่นๆ ในระบบเสียหายได้

 

นักวิจัยตรวจพบช่องทางในการใช้คำสั่งบนตัวชาร์จทั้งคำสั่งหยุดขั้นตอนการชาร์จและการตั้งค่ากระแสไฟสูงสุด การหยุดชาร์จนั้นจะเป็นการสกัดกั้นไม่ให้เจ้าของใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของตนได้ ส่วนการตั้งค่ากระแสไฟนั้นอาจทำให้มีความร้อนสูงเกิน อุปกรณ์ที่ไม่มีฟิวส์ป้องกันจะเสียหายได้ หาผู้โจมตีต้องการเปลี่ยนค่ากระแสไฟฟ้า ก็จะเข้าเน็ตเวิร์กผ่านวายฟายที่ตัวชาร์จเชื่อมต่ออยู่ และเมื่อดีไวซ์ต่างๆ นั้นเป็นดีไวซ์ที่ใช้งานภายในบ้าน การรักษาความปลอดภัยสำหรับเน็ตเวิร์กไร้สายจึงมีข้อจำกัด ทำให้ผู้โจมตีเข้าควบคุมได้ง่าย เช่นการใช้วิธีเดาสุ่มพาสเวิร์ดซึ่งเป็นวิธีทั่วๆ ไป จากสถิติของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า การโจมตี IoT ในปี 2018 จำนวน 94% มาจากการสุ่มพาสเวิร์ดแบบ Telnet และ SSH เมื่อผู้โจมตีเข้าถึงเน็ตเวิร์กไร้สายได้แล้ว ก็จะสามารถหาไอพีแอดเดรสของตัวชาร์จได้ง่าย ขั้นต่อไปคือการเริ่มหาประโยชน์จากช่องโหว่และการขัดขวางการทำงานต่างๆ

 

นักวิจัยได้แจ้งเรื่องช่องโหว่ที่ตรวจพบทั้งหมดไปยังผู้ประกอบการและได้รับการแพทช์แก้ไขเรียบร้อยแล้ว

นายดิมิทรี สกลียาร์ นักวิจัยด้านความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “คนทั่วไปมักลืมว่าในการโจมตีแบบมีเป้าหมายนั้น โจรไซเบอร์จะมองหาส่วนประกอบเล็กๆ ที่ไม่สะดุดตาเพื่อใช้เป็นช่องทางบุกรุก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมองหาช่องโหว่ทั้งในนวัตกรรมและในอุปกรณ์เสริมต่างๆ ด้วย ผู้ประกอบการเองก็ควรระมัดระวังเรื่องดีไวซ์ยานยนต์ และจัดตั้งโครงการล่าบั๊ก หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ในกรณีนี้ เราโชคดีที่แจ้งช่องโหว่ไปยังผู้ประกอบการแล้วได้รับการตอบรับเชิงบวกและรีบแก้ไขอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยป้องกันการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้”

 

แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยดังนี้:

 

  • อัพเดทสมาร์ทดีไวซ์ทั้งหมดเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอย่างสม่ำเสมอ ในอัพเดทนั้นอาจจะมีแพทช์สำหรับช่องโหว่ร้ายแรง ซึ่งถ้าละเลยไม่แพทช์ ก็อาจช่วยให้โจรไซเบอร์เข้าถึงระบบในบ้านและชีวิตส่วนตัวได้
  • อย่าใช้พาสเวิร์ดที่ตั้งมาเบื้องต้นสำหรับเราเตอร์วายฟายและดีไวซ์อื่นๆ ควรเปลี่ยนเป็นพาสเวิร์ดที่แข็งแกร่ง และไม่ใช้พาสเวิร์ดซ้ำกันในดีไวซ์อื่นๆ
  • แนะนำให้แยกเน็ตเวิร์กสมาร์ทโฮมออกจากเน็ตเวิร์กที่ใช้กับดีไวซ์ส่วนตัวของสมาชิกในครอบครัว เพื่อเป็นการป้องกันการติดมัลแวร์จากฟิชชิ่งอีเมล

 

ท่านสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่

http://securelist.com/remotely-controlled-ev-home-chargers-the-threats-and-vulnerabilities/89251/

ข้อมูลสถิติของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง IoT

https://securelist.com/new-trends-in-the-world-of-iot-threats/87991/

แคสเปอร์สกี้ แลป คาดการณ์ภัยคุกคาม 2019: ผู้ร้ายไซเบอร์จะงัดอาวุธหนักพร้อมกลยุทธ์ใหม่ หวังโจมตีทำลายล้าง

จากรายงาน “Targeted Threat Predictions for 2019” ของแคสเปอร์สกี้ แลป ระบุว่า ในปี 2019 นี้ เราจะได้เห็นวงการ APT แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้ร้ายหน้าใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์แต่กระเหี้ยนกระหือรือที่จะเล่นเกมร้ายไซเบอร์ และกลุ่มผู้ร้ายเก่าหน้าเดิมที่มีทักษะขั้นสูงและมีแหล่งทรัพยากรแข็งแกร่ง โดยกลุ่มผู้ร้ายเดิมนี้จะปฎิบัติการท้าทายองค์กรธุรกิจครั้งใหญ่ ด้วยมีประสบการณ์สูงและมีเทคนิคใหม่ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ยากในการค้นหาและกำจัดยิ่งขึ้นไปอีก

 

รายงานคาดการณ์ประจำปีฉบับนี้ ทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลกของแคสเปอร์สกี้ แลป (Global Research and Analysis Team หรือ ทีม GReAT) เป็นผู้คาดการณ์ภัยคุกคามแบบระบุเป้าโจมตี โดยวิเคราะห์จากข้อมูลความรู้ความเชี่ยวชาญที่สะสมจากปีที่ผ่านมา รายงานนี้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจและเตรียมรับมือความท้าทายด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจจะประสบพบเจอได้ในปีหน้า

คาดว่าจะไม่มีเหตุการณ์โจมตี APT ครั้งใหญ่

คาดการณ์ว่า ปีหน้าวงการความปลอดภัยไซเบอร์จะได้เห็นปฎิบัติการซับซ้อนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหลายเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง แต่ผู้โจมตีสร้างภัยคุกคามก็จะหลบซ่อนไม่ทำตัวโดดเด่น เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับและถูกเปิดโปงต่อสาธารณะ และด้วยทรัพยากรที่มี ก็ยังสามารถขยายเครื่องมือเครื่องไม้และการดำเนินการต่างๆ ได้ ทำให้การตรวจจับภัยคุกคามนั้นยากขึ้นมาก

 

หนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ การใช้ทูลที่เจาะจงตรงไปยังแกนหลักของเหยื่อเป้าหมายที่เลือกไว้โดยเฉพาะ นั่นคือการแทรกแซงฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย กลยุทธ์ใหม่นี้จะทำให้ผู้โจมตีสามารถแทรกแซงในลักษณะบ็อตเน็ตได้ หรืออาจจะแอบโจมตีเฉพาะเป้าหมายที่เลือกไว้ก็ได้

 

การคาดการณ์ที่สำคัญอื่นๆ ในปี 2019 มีดังนี้

  • การโจมตีซัพพลายเชนยังมีอยู่ – การโจมตีซัพพลายเชนเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้ร้ายไซเบอร์ได้ดำเนินการสำเร็จอย่างดีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้หลายองค์กรเริ่มทบทวนจำนวนโพรไวเดอร์ที่ต้องทำงานร่วมกันและเริ่มพิจารณาเรื่องความปลอดภัยของโพรไวเดอร์ ในปีหน้า จะพบเหตุการณ์การโจมตีที่มีประสิทธิภาพ
  • ยังมีโมบายมัลแวร์แน่นอน – ผู้ร้ายไซเบอร์จำนวนมากมีโมบายคอมโพเน้นต์รวมอยู่ในแคมเปญของตัวเอง เพื่อใช้เพิ่มจำนวนเหยื่อที่เป็นไปได้ คาดว่าจะไม่พบการแพร่กระจายโมบายมัลแวร์แบบเจาะจงเป้าหมายครั้งใหญ่ แต่จะได้เห็นกิจกรรมการโจมตีและวิธีการโจมตีขั้นสูงแนวใหม่ๆ เพื่อเข้าแอคเซสดีไวซ์ของเหยื่ออย่างแน่นอน
  • ไอโอทีบ็อตเน็ตจะโตต่อเนื่องไม่หยุด – ผู้เชี่ยวชาญในวงการได้ออกมาเตือนภัยบ็อตเน็ตของอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ซ้ำๆ ทุกปีเพื่อความไม่ประมาท และในปีหน้านี้บ็อตเน็ตประเภทนี้ก็จะเพิ่มจำนวนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อถูกใช้งานโดยผู้ไม่หวังดีอย่างผู้ร้ายไซเบอร์
  • การโจมตีสเปียร์ฟิชชิ่งจะสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ – ข้อมูลที่ได้จากการโจมตีโซเชียลมีเดียรายใหญ่อย่างเช่น Facebook, Instagram, LinkedIn และ Twitter ตอนนี้มีวางขายในตลาดมืดแล้ว ทั้งนี้ เหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลขนาดใหญ่ล่าสุดจากแต่ละแพลตฟอร์มอาจช่วยให้ผู้โจมตีได้พัฒนาปรับปรุงการแพร่กระจายได้ด้วย
  • ผู้ร้าย APT หน้าใหม่จะขอมีบทบาท – คาดว่าผู้โจมตีขั้นสูงจะเก็บเนื้อเก็บตัวหายไปจากเรดาร์ และจะมีผู้ร้ายหน้าใหม่ปรากฎตัวขึ้น ด้วยทูลที่มีประสิทธิภาพสูงนับร้อยๆ ทูล เอ็กซ์พลอต์ที่มีจุดอ่อน และเฟรมเวิร์กต่างๆ ที่เปิดกว้างให้ทุกคนได้ใช้งาน ทำให้ปราการป้องกันด้านความปลอดภัยไซเบอร์นั้นเปราะบางลงได้อีก คาดว่าภูมิภาคที่เป็นเป้าหมายการโจมตีอย่างแพร่หลายนี้คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง
  • การโต้ตอบของสาธารณชนจะเปลี่ยนรูปแบบวงการความปลอดภัยไซเบอร์ – การสืบสวนเหตุการณ์โจมตีชื่อดังอย่างการโจมตีบริษัทโซนี่และคณะกรรมการแห่งชาติพรรคเดโมแครต สหรัฐอเมริกา ได้ยกระดับความยุติธรรมและการเปิดเผยต่อสาธารณะเรื่องการคุกคามไซเบอร์ไปอีกขั้น การเปิดโปงและความโกรธขึ้งของสาธารณชน จะก่อให้เกิดกระแสความคิดเห็นไปจนถึงการตอบโต้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จริงจังอย่างมีชั้นเชิงทั่วโลก

นายวิเซนเต้ ดิแอซ นักวิจัยด้านความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “การโจมตีในปี 2018 ทำให้เกิดกระบวนทัศน์รูปแบบใหม่ คือสาธารณชนตระหนักรู้เรื่องภัยคุกคามไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น การสืบสวนของผู้เชี่ยวชาญยังได้ชี้จุดสำคัญของปฎิบัติการโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ๆ และเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโลกไซเบอร์ได้ เนื่องจากผู้ร้ายขั้นสูงที่มีความซับซ้อนจะเปลี่ยนเป็นหลบซ่อนตัวเงียบๆ เพื่อให้การโจมตีครั้งต่อไปประสบความสำเร็จมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้การตรวจสอบค้นหาปฎิบัติการร้ายเป็นไปอย่างยากลำบากมากยิ่งขึ้น แต่ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงวิธีการตรวจจับผู้ร้ายไซเบอร์ไปอีกขั้นอย่างแน่นอน”

 

รายงานการคาดการณ์นี้พัฒนาขึ้นจากข้อมูล Threat Intelligence Services ของแคสเปอร์สกี้ แลป จากทั่วโลก โดยล่าสุด แคสเปอร์สกี้ แลป ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ดำเนินการที่มีความแข็งแกร่ง หรือ “Strong Performer” ด้าน Threat Intelligence จากสถาบันวิจัยฟอร์เรสเตอร์

 

ท่านสามารถอ่านรายงาน Kaspersky Lab Threat Predictions for 2019 ฉบับเต็มได้ที่

https://securelist.com/kaspersky-security-bulletin-threat-predictions-for-2019/88878/

แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย เปิดตัว Kaspersky 2018 แล้ววันนี้! โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ตามบ้าน มาพร้อมการปกป้องแบบมัลติดีไวซ์

ในยุค Household 2.0คือยุคที่ในบ้านประกอบด้วยอุปกรณ์ต่ออินเทอร์เน็ตเฉลี่ยจำนวน 6.3 ชิ้น

มีผู้พักอาศัย 2.4 คน และสัตว์เลี้ยงอีก 0.3 ตัวต่อครอบครัว!!

แคสเปอร์สกี้ แลป จึงขอนำเสนอโซลูชั่นเรือธงชั้นนำล้ำยุคสู่ตลาดไทย เพื่อปกป้องผู้บริโภค

 

โลกยุคที่รูปแบบความทันสมัยในครัวเรือนนั้นกำลังเปลี่ยนโฉมไปอีกครั้ง สู่รูปแบบที่เรียกว่า “บ้านพักอาศัย 2.0” ประกอบตัวเลขเฉลี่ยของผู้พักอาศัย 2.4 คน[1] มีสัตว์เลี้ยง 0.3 ตัว[2] และมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย 6.3 ชิ้น[3] ต่อครอบครัว แถมอุปกรณ์เหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อในชีวิตประจำวัน แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย ร่วมกับบริษัท ไอคอม เทค ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป อย่างเป็นทางการ จึงได้เปิดตัว Kaspersky Total Security 2018 และ Kaspersky Internet Security 2018 รวมถึงโซลูชั่นพื้นฐานอย่าง Kaspersky Anti-Virus 2018 ที่ได้รับการปรับยกสมรรถนะประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลอุปกรณ์ส่วนตัวในครัวเรือนเหล่านั้นได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 

จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2560 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่เกิดจากมัลแวร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้ถึง 2,947,918 เหตุการณ์ โดยรวมแล้ว มีผู้ใช้งานในประเทศไทยจำนวน 17.6% ที่ถูกโจมตีในช่วงเวลาดังกล่าว

คุณสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ตัวเลขสถิติของ KSN ข้างต้นนั้น ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นขณะท่องเว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ 33 ของโลก จากรูปแบบครัวเรือนในปัจจุบันนี้ พบว่ามีจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากกว่าสมาชิกครอบครัวและสัตว์เลี้ยงรวมกันเสียอีก และอุปกรณ์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในชีวิตประจำวันในบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้งานเพื่อรองรับทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อจับจ่ายซื้อของ หรือแชร์วิดีโอสมาชิกตัวน้อยในบ้าน การเชื่อมต่อเหล่านี้ย่อมพ่วงมากับความกังวลด้านความปลอดภัย แต่อัตราเสี่ยงในทุกวันนี้กลับเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ใช้ทั่วไปยังใช้อุปกรณ์โดยไม่มีการป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์กันเลย ไม่ว่าจะเป็นการเจาะระบบ มัลแวร์ การหลอกลวงการการเงิน และรูปแบบอื่นๆ”

 

คุณสเตฟาน กล่าวเสริมว่า ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security และ Kaspersky Internet Security รุ่นล่าสุด ได้รับการออกแบบให้ปกป้องการใช้งานภายในบ้านสมัยใหม่ ช่วยให้ผู้พักอาศัยสมาชิกในครัวเรือนมีศักยภาพที่จะดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และดูแลจังหวะการใช้ชีวิตดิจิทัลให้แก่ทุกคนในครอบครัว ให้เหมือนกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 


 

ยุคของบ้านพักอาศัย 2.0 คือยุคที่ทุกย่างก้าวคือชีวิตออนไลน์

ปัจจุบันพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในบ้านหนึ่งหลังมีอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นเชื่อมต่อออนไลน์ เกิดเป็นชั่วโมงออนไลน์จำนวนมาก และว่าผู้พักอาศัยในบ้านก็ใช้งานเว็บเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของโปรแกรมและเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย ในรายงานวิจัยประจำปีของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 63% ต่างกังวลใจกับอีเมลฟิชชิ่งและเว็บไซต์ปลอม และเพื่อตอบโจทย์ความกังวลนี้ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security มีเทคโนโลยีต่อต้านฟิชชิ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการตรวจจับและป้องกันผู้ใช้จากอีเมล์หลอกลวง และสแปมรวมถึงเว็บไซต์ปลอมและลวงข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงระบบ URL Advisor ในการดูแลการค้นหา URL ให้กับผู้ใช้เพื่อรู้ว่าเว็บไซต์ที่ค้นหานั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ มีพิรุธหรืออันตรายหรือว่าเป็นเว็บไซต์หลอกลวงหรืออาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับคอมพิวเตอร์อย่างไรหรือไม่ โดยจะแสดงให้เห็นได้ชัดในแต่ละลิ้งก์

 

บ้านคือสถานที่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลอันมีค่า

จากความหวาดกลัวเว็บไซต์ปลอมก่อให้เกิดความกังวลว่าการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจจะเป็นช่องทางให้สูญเสียข้อมูลที่อยู่ในบรรดาอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นในบ้านหลังหนึ่งๆ ได้ โดยข้อมูลที่สุดหวงแหนแห่งยุคคือ รูปภาพ ซึ่งในความจริงแล้ว จากการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า การสูญเสียภาพถ่ายดิจิทัลของหลายๆ คนทำให้เกิดความเครียดมากกว่าการเลิกคบเพื่อนหรือความเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงด้วยซ้ำไป

 

จากการที่ข้อมูลกลายเป็นของรักของทุกคนไปแล้ว พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าครึ่ง (56%) ต่างกังวลว่าข้อมูลของพวกเขานั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะโดนเรียกค่าไถ่ ซึ่งความกังวลนี้เกิดมากขึ้นหลังจากการโจมตีครั้งล่าสุดของ WannaCry และเพื่อช่วยให้ผู้พักอาศัยตามบ้านสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านยุค 2.0 ได้อย่างสงบสุข Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ได้เพิ่มความสามารถในการตรวจจับและป้องกันโปรแกรมเรียกค่าไถ่ ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อต่อกรได้แม้กระทั่งแรนซัมแวร์ที่ซับซ้อนมากที่สุด

 

ทุกครอบครัวต้องการเก็บความลับไว้กับตัวเอง แต่ในยุค “บ้านพักอาศัย 2.0” นั้น ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มักถูกคุกคามทางออนไลน์ ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะกังวลว่าข้อมูลอาจจะตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลบางส่วนที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน มีผู้ใช้ถึง 44% ไม่ต้องการให้คนอื่นเห็น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้จะมั่นคงปลอดภัยอยู่กับตัวเอง ด้วยความสามารถใหม่ในการล็อกการทำงานแอพพลิเคชั่นบนมือถือระบบแอนดรอยด์ จึงมีการเพิ่มระดับชั้นของการปกป้องด้วยรหัสลับให้กับผู้ใช้ได้กำหนดในแต่ละแอพพลิเคชั่น เช่น บริการรับส่งข้อความ เครือข่ายสังคม อีเมล หรือข้อมูลลับอื่นๆ ไม่ให้บุคคลอื่นเรียกใช้เข้าถึงได้ โดยที่ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติ Kaspersky Secure Connection service ที่มีอยู่ทั้งใน Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ที่จะช่วยในการเข้ารหัสข้อมูลที่รับและส่งบนเครือข่ายไร้สายที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยหรือบนเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงอีกชั้นหนึ่งด้วย

 

การใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็กๆ คือหัวใจที่ต้องดูแลป้องกันภายในครัวเรือน

แม้ว่าจะมีความกังวลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ “บ้านพักอาศัย 2.0” ยังนำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อสมาชิกในครอบครัวที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยผู้ใช้ 60% กังวลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน ว่าอาจเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ แคสเปอร์สกี้ แลป นำเอาระบบควบคุมการใช้งานโดยผู้ปกครอง (parental controls) ของแคสเปอร์สกี้ แลป มาบรรจุไว้ใน Kaspersky Total Security ล่าสุดนี้ด้วย ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตั้งช่วงเวลาใช้งานสำหรับอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่มีอยู่ในบ้าน รวมถึงกำหนดแอพพลิเคชั่นให้เด็กๆ ได้ใช้งาน รวมถึงป้องกันการเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ภาษาลามกอนาจาร หรือข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและอื่นๆ ทั้งหมดรวมอยู่แล้วในคุณสมบัติของบริการ Kaspersky Safe Kids

 

คุณเอเลน่า คาร์เชงโก้ หัวหน้าฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “อุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเราและครอบครัว ขยายขอบเขตการใช้งานทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ การสื่อสาร และได้เปิดช่องทางให้เกิดธุรกรรมได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ แถมยังช่วยให้ทุกคนดำเนินชีวิตได้ต่อเนื่อง และไม่น่าแปลกใจเลยว่าในยุคบ้านพักอาศัย 2.0 จะมีอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่าคนและสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในบ้านเสียอีก”

 

“แต่สิ่งที่เราพบจากการสำรวจนั้นชี้ว่า การเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาของเรานำมาซึ่งความกังวลโดยธรรมชาติในเรื่องความปลอดภัยออนไลน์ จากความกลัวที่จะตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง รวมถึงความกังวลในเรื่องการใช้งานออนไลน์ของเด็กๆ ที่อยู่ในบ้าน ซึ่งความกังวลเหล่านี้ได้ถูกตอบโจทย์ทั้งหมดอยู่แล้วในผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดของ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ซึ่งถือว่าเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่นำเสนอแนวทางที่ฉลาดที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลการใช้งานของทั้งครอบครัวในโลกของดิจิทัลโดยที่ไม่ขัดขวางการเปิดประสบการณ์บนโลกออนไลน์”

 

คุณสเตฟาน กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากที่สุดตลาดหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ แลป ติดอันดับหนึ่งในสามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและทรัพยากรบุคคลที่มีการศึกษา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจึงเป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้งานออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ขณะที่จำนวนผู้ใช้เพิ่มสูงขึ้น แต่ความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์กลับไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย”

 

ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security 2018, Kaspersky Internet Security 2018 และ Kaspersky Anti-Virus 2018 มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ทั่วประเทศ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าไอทีชั้นนำในราคาต่อไปนี้:-

  • Kaspersky Total Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 990 บาท
  • Kaspersky Total Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,780 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 690 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,380 บาท

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้การบริการด้านเทคนิค สามารถติดต่อศูนย์การบริการแคสเปอร์สกี้ไทย (iCom Tech Co. Ltd.) ได้ที่ 02-203-7500 หรือที่เว็บไซต์ www.thaikaspersky.com

###

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

ติดต่อข้อมูลประชาสัมพันธ์

ซานจีฟ แนร์

ฝ่ายการสื่อสารองค์กร แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

sanjeev.nair@kaspersky.com

Tel: +60 3 7962 5914

บูรณี จันทรปรรณิก, ณิชานันท์ ตู้จินดา

พิตอน คอมมิวนิเคชั่น

buranii@PITONbiz.com , nichanan@PITONbiz.com

Tel: 099-419-6324, 0-2954-2602-4