แคสเปอร์สกี้สนับสนุนความเท่าเทียม ตั้งชุมชมออนไลน์ ‘Women in Cybersecurity’

พร้อมเผยผลสำรวจ องค์กรเพียง 37% ที่มีนโยบายสนับสนุนการรับพนักงานหญิงเข้าแผนกไอที

จากการสำรวจของ Kaspersky ร่วมกับ 451 Research ระบุว่า ในเอ็นเทอร์ไพรซ์ 45% พบสัดส่วนจำนวนผู้หญิงที่ทำงานในแผนกไอทีซีเคียวริตี้น้อยกว่าแผนกอื่นๆ ในองค์กร และมีองค์กรเพียง 37% ที่รับพนักงานหญิง / กำลังพิจารณารับสมัคร / หรือมีแผนงานอย่างเป็นทางการที่จะรับพนักงานหญิงเข้าทำงานในแผนกไอทีซีเคียวริตี้

 

ความหลากหลายของกำลังคนในการทำงานจะทำให้เกิดความสามารถพิเศษขึ้นในองค์กร และยังปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีกำลังคนหลากหลายจะมีรายได้สูงขึ้น 19% จากนวัตกรรม แนวคิดเรื่อง ความเสมอภาคทางเพศไม่ได้เป็นเพียงแค่ประเด็นทางจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยหลักสำคัญสำหรับประสิทธิภาพของธุรกิจอีกด้วย จึงมีความคิดริเริ่มในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้หญิงได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจและก้าวหน้าทางอาชีพ เช่น เทคโนโลยี และผู้ประกอบการ

 

นอกจากนี้ยังพบว่า เฉลี่ยทั่วโลกมีผู้หญิงทำงานในองค์กรคิดเป็น 39% ของแรงงานทั้งหมด และมีเพียง 25% ที่ทำงานในตำแหน่งบริหาร สำหรับแผนกความปลอดภัยไซเบอร์และแผนกไอทีทั่วไปอาจกล่าวได้ว่าเป็นสาขาที่ผู้ชายเป็นใหญ่ และอาจเป็นกำแพงกั้นผู้หญิงที่จะเข้ามาทำงานในสาขานี้ จากรายงานเรื่อง “Cybersecurity through the CISO’s eyes: Perspectives on a role” โดย Kaspersky ร่วมกับ 451 Research ระบุว่า ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือ CISO จำนวน 45% ยืนยันว่าผู้หญิงเป็นคนกลุ่มน้อยในสาขานี้

รายงานยังระบุว่า มีองค์กรเพียง 37% ที่รับพนักงานหญิง / กำลังพิจารณารับสมัคร / หรือมีแผนงานอย่างเป็นทางการที่จะดึงดูดใจให้ผู้หญิงเข้ามาสมัครทำงานในแผนกไอที วิธีการที่เป็นที่นิยมเพื่อดึงดูดคือการฝึกอบรมพนักงานหญิงที่มีพื้นฐานด้านไอที (80%) ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งระบุว่ามีโครงการ / กำลังมีโครงการจะรับนักศึกษาหญิงเข้าฝึกงานโดยเฉพาะ (42%) และพร้อมฝึกอบรมผู้สมัครที่ไม่มีคุณสมบัติ (40%) นอกจากนี้พบองค์กร 22% ที่จ้างผู้สมัครเพศหญิงจากแผนกอื่นในองค์กรเพื่อเข้าแผนกไอที ขณะที่องค์กร 63% ระบุว่าจะจ้างเฉพาะผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเท่านั้นโดยไม่เกี่ยงว่าจะเพศใด อย่างไรก็ตาม CISO จำนวน 70% ระบุว่า การหาผู้เชี่ยวชาญไอทีที่มีทักษะในสาขาต่างๆ นั้นยากมาก จึงต้องมองหาช่องทางอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างของทักษะ (Talent Gap)

 

รายงานฉบับนี้ยังพบว่า ในส่วนของผู้นำด้านไอทีซีเคียวริตี้นั้นผู้บริหารชายมีจำนวนมากกว่าหญิง ผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในห้า (23%) ระบุในแบบสอบถามว่าตนเองเป็นเพศหญิง อย่างไรก็ดี พบว่าผู้หญิงที่ทำงานในตำแหน่งบริหารแผนกไอทีซีเคียวริตี้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามหญิงจำนวน 20% ระบุว่า ได้รับตำแหน่งผู้บริหารในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราเติบโตเป็นสองเท่าเมื่อเทียบผู้ชาย (10%)

 

“ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ชี้ว่าสถานการณ์ในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้กำลังเปลี่ยนแปลงไป และในปัจจุบันเรากำลังขาดแคลนบุคลากรหญิง ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่สัดส่วนผู้ชายและผู้หญิงในองค์กร แต่ในการสัมภาษณ์ CISO ระบุว่าไม่มีผู้สมัครเพศหญิงเพียงพอ ดังนั้นเพื่อลดช่องว่างในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เราจึงอยากสนับสนุนและให้กำลังใจผู้หญิงให้พิจารณาเลือกสายงานนี้” เอฟเจนิยา โนโมวา รักษาการกรรมการผู้จัดการประจำทวีปยุโรป แคสเปอร์สกี้ กล่าว

 

แคสเปอร์สกี้ได้ริเริ่มสร้างชุมชนออนไลน์ ชื่อ “Women in Cybersecurity” เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางอาชีพของผู้หญิงในอุตสาหกรรมไซเบอร์ซิเคียวริตี้และสาขาอื่นๆ และยังจับมือกับ Girls in Tech เพื่อสนับสนุน AMPLIFY การแข่งขันเพื่อให้ทุนแก่สตาร์ตอัพที่มีผู้หญิงเป็นผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้แคสเปอร์สกี้ยังจัดงาน CyberStarts ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือคนรุ่นใหม่และลดช่องว่างระหว่างเพศในสายงานไซเบอร์ซีเคียวริตี้

 

แคสเปอร์สกี้ แลป ชวนคนไทยประกวด Goondus Awards กระตุ้นความปลอดภัยในโลกอินเทอร์เน็ต

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวแคมเปญชื่อ “กูนดูส์ อวอร์ดส์” (Goondus Awards) สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ความรู้และกระจายความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต โดย “กูนดูส์ อวอร์ดส์” เปิดเชิญชวนให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่งเรื่องราวข้อผิดพลาดและการประพฤติตัวแบบผิดๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงหรือทรัพย์สินเงินทอง โดยจะไม่เปิดเผยชื่อจริงเมื่อแบ่งปันประสบการณ์แก่สาธารณชน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราต้องการให้ความรู้แก่ผู้ใช้เรื่องพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหาย บางเรื่องอาจฟังแล้วตลกขบขัน ฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริง และในหลายๆ เคสก็สร้างความเสียหายได้มาก เราหวังว่าการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อจะช่วยกระตุ้นเตือนและสร้างแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต”

“กูนดูส์ อวอร์ดส์” จะเผยแพร่เรื่องราวหลากหลายแง่มุมที่มีผู้ใช้พบเจอมาแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นความตระหนักรู้เรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ระหว่างเพื่อนสองคนที่ใช้บัตรเติมเงิน iTune ที่ตกเป็นเหยื่อกลโกงโจรขโมยตัวตนหลอกให้เพื่อนเติมเงินให้โดยที่เจ้าของบัตรตัวจริงไม่เคยขอให้ทำ ซึ่งเหตุการณ์นี้ จะช่วยทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ได้รู้ว่า โจรขโมยตัวตนไม่ใช่เรื่องไกลตัว และอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินทองอีกด้วย

 

ผู้สนใจสามารถส่งเรื่องเข้าประกวดได้ที่เว็บไซต์ http://goondusawards.com เพียงกรอกข้อมูลชื่อ อีเมลแอดเดรส หมายเลขโทรศัพท์ ประเภทของเรื่อง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดของเหตุการณ์

หลักเกณฑ์การส่งเรื่องเข้าประกวดคือ ต้องเป็นเหตุการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจริงและทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเป็น 1) iPad 3 Mini 2) Samsung Tablet 3) Jays earphones พร้อมด้วยรางวัลพิเศษในแต่ละเดือนเป็นกระเช้าของพรีเมี่ยมจากแคสเปอร์สกี้ แลป

 

นอกจากการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อผู้ใช้แล้ว ในเว็บไซต์ยังมีข้อมูลเกร็ดความรู้เรื่องกลโกงประเภทต่างๆ เพื่อแนะนำผู้ใช้ว่าควรป้องกันตัวเองจากเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไรอีกด้วย

 

จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่า ผู้ใช้ทุกช่วงวัยประสบภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2558 ในส่วนของปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าผู้ใช้พบปัญหาอีเมลสแปมหรืออีเมลขยะ 13% (10.8% ในปี 2558) ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร 12.1% (8.4%) ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ 8.9% (8.8%) ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว 3.2% (2.0%) และถูกหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ต 1.5% (1.2%) และแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล นั่นคือ ความล่าช้าในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (70.3%) และโฆษณาที่มารบกวน (50.7%) แต่สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ผู้ใช้ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร1

 

###

 

1รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2016-th.html

 

###

 

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com