แคสเปอร์สกี้ แลป ชี้ผลวิจัย คู่รัก 21% สอดส่องผ่านช่องทางออนไลน์ หวังแก้แค้นอีกฝ่ายยามรักคุด

แนะทำข้อตกลงก่อนใช้บัญชีออนไลน์ร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคล

 

ดูจะเป็นการยากยิ่งขึ้นทุกวันๆ สำหรับบรรดาคู่รักทั้งหลายที่จะขีดเส้นความเป็นเธอกับฉัน และความเป็นส่วนตัว ในโลกที่เต็มไปด้วยออนไลน์แอ็คเคาท์และอุปกรณ์สื่อสารเชื่อมโยงกันได้เกือบทุกรูปแบบ เรื่องยุ่งยากจึงมาอยู่ที่ว่า หากคู่รักเหล่านี้เกิดรักคุด รักไม่เวิร์ก จนถึงขั้นเลิกรากัน แล้วจะทำอย่างไร? จากรายงานการวิจัยโดยแคสเปอร์สกี้ แลปร่วมกับบริษัทโทลูนา (Toluna) พบว่าผู้ใช้ 21% มักใช้ช่องทางสอดส่องติดตามความเคลื่อนไหวผ่านแอ็คเคาท์ที่เคยใช้ร่วมกัน แต่แฝงเจตนาหวังแก้แค้นหรือหาข้อมูลมาไว้กระแนะกระแหนคนรักใหม่ของอีกฝ่าย และนี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดจากความเสี่ยงของความเป็นส่วนตัวที่คู่รักสมัยใหม่ทั้งหลายควรต้องตระหนักไว้ให้ดี

 

ความเป็นส่วนตัวนั้นกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในโลกการใช้ชีวิตดิจิทัล และความสัมพันธ์ต่างๆ ของคนเราก็รวมอยู่ในนี้ด้วย เช่น 70% ของบรรดาคู่รักมักใช้พาสเวิร์ด เลขรหัสผ่าน หรือรอยพิมพ์นิ้วมือร่วมกันเพื่อเป็นรหัสในการใช้อุปกรณ์สื่อสารส่วนตัว และ 26% เก็บข้อมูลลับสุดส่วนตัวบางอย่างไว้บนอุปกรณ์ของคู่รักของตน เช่น ข้อความส่วนตัวบางอย่างที่สื่อสารหากันเฉพาะเราสองคน เป็นต้น และ (14%) ก็มักเก็บรูปภาพที่เฉพาะตัวสุดๆ (12%) หรือคลิปวิดีโอ (11%) นอกจากนี้ โดยทั่วไปก็จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแอ็คเคาท์ออนไลน์ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลด้านการเงิน (11%) หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการงาน (11%) เป็นต้น

 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คงไม่ใช่ประเด็นปัญหาเลยหากสัมพันธภาพความรักยังแน่นแฟ้นดีอยู่ และก็ถือได้ว่าข้อมูลอยู่ในมือของคนที่ไว้ใจได้ แต่ทั้งหมดนี้กลับเป็นประเด็นขึ้นมาเมื่อเลิกร้างกันนั่นเอง เมื่อสัมพันธภาพดูจะคลอนแคลนง่อนแง่น การแชร์ความทรงจำสุดส่วนตัวบนเครื่องที่ใช้ร่วมกันหรือข้อมูลออนไลน์แอ็คเคาท์ จากที่เป็นเรื่องธรรมดาของคนรักกันต้องแชร์กัน ก็เริ่มดำดิ่งสู่ฝันร้ายของความเป็นส่วนตัวของคุณนั่นเอง

 

สำหรับคนที่เคยผ่านประสบการณ์ฝันร้ายของการเลิกราเหล่านี้มาแล้ว พบว่า 12% ได้แชร์หรือต้องการที่จะแชร์ (เปิดโปง) ข้อมูลส่วนตัวของคนรักเก่าให้โลกได้รับรู้เป็นการแก้แค้น ส่วน 12% ได้ทำลายหรือต้องการทำลายอุปกรณ์ที่เคยร่วมกันนั้นให้สิ้นไป และ 21% แอบส่องคนรักเก่าผ่านทางแอ็คเคาท์ที่เคยเข้าได้ นอกจากนี้ ก็ยังอาจจะมีผลกระทบไปถึงด้านเงินๆ ทองๆ อีกด้วย การศึกษาข้อมูลชี้ว่า หนึ่งในสิบ (10%) ของคนที่เลิกรากันไปยอมรับว่าได้แอบใช้จ่ายเงินของคู่รักเก่าทางออนไลน์ด้วย

 

เป็นที่น่าสนใจไม่น้อยว่า มีความแตกต่างทางพฤติกรรมระหว่างหญิงชาย เพราะฝ่ายชายดูจะเป็นฝ่ายที่ปล่อยข้อมูลเพื่อแก้แค้นฝ่ายหญิงมากกว่า (17% vs 7%) และหาประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น (17% vs 8%) ในขณะที่ฝ่ายหญิงมีแนวโน้มที่จะเลือกทำในสิ่งที่ชอบธรรมมากกว่าด้วยการลบข้อมูลทิ้งจากเครื่องที่เคยใช้ร่วมกันไปเลย (55% vs 49%) รวมทั้งรูปภาพ คลิปวิดิโอหลังเลิกกันไป (56% vs 48%)

 

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายหญิงก็มักจะเป็นฝ่ายที่จะมีกลเม็ดลูกเล่นต่างๆ อยู่ไม่น้อย เช่น 33% ยอมรับว่าอาศัยโซเชียลเน็ตเวิร์ก คอยแอบส่องความเป็นไปของคนรักเก่า เทียบกับฝ่ายชายที่มีเพียง 28% ที่ทำแบบนี้

 

ทั้งนี้ การยุติความสัมพันธ์ต่อกันก็ไม่ควรที่ต้องกลายมาเป็นความเสี่ยงต่อข้อมูลลับส่วนบุคคลทั้งหลาย เราควรหมั่นเปลี่ยนพาสเวิร์ดเข้าแอ็คเคาท์ที่เคยแชร์กับคนรักเก่าอยู่เสมอ การใช้ Kaspersky Password Manager เพื่อช่วยจัดการพาสเวิร์ด ไม่ว่าจะเป็นสร้างพาสเวิร์ดที่ยากต่อการแกะและเก็บในที่ปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้น Kaspersky Total Security มีฟีเจอร์ File Shredder ซึ่งทำการลบไฟล์อย่างถาวร เช่น ไฟล์ที่คุณไม่ต้องการให้ใครเห็นอีกต่อไป ขณะที่ข้อความสุดส่วนตัวต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องแอนดรอยด์ก็สามารถอาศัยฟีเจอร์ Privacy Protection เพื่อซ่อนข้อความเหล่านั้นได้

 

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรดักส์ของแคสเปอร์สกี้ แลปว่าจะเข้ามาช่วยท่านได้อย่างไรแม้ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวของท่านให้อยู่ในร่องในรอย ได้ที่: https://www.kaspersky.com/home-security

จีเอฟเค ชี้ตลาดกล้องมิเรอร์เลสในไทยเติบโตขึ้น จากการตื่นตัวของกระแสแชะแชร์

ผู้บริโภคไทยกว่า 1 ใน 10 ซื้อกล้องมิเรอร์เลสในช่วงปีที่ผ่านมา และผู้บริโภคจำนวนมากอีกส่วนหนึ่งมีแนวโน้มที่จะซื้อในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้อีกด้วย

 

ความต้องการและความสนใจในการถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูงเป็นปัจจัยที่ผลักดันยอดขายกล้องมิเรอร์เลสในประเทศไทย โดยผลสำรวจจาก GfK Point of Sales ข้อมูลจากจุดขายของจีเอฟเคพบว่ากลุ่มคนรักการถ่ายภาพในประเทศไทยมียอดการใช้จ่ายกว่า 8.9 พันล้านบาทในการซื้อกล้องมิเรอร์เลสเป็นจำนวนทั้งสิ้น 341,000 เครื่องในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าตลาดกล้องประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อีกในปีหน้า

 

ตลาดกล้องมิเรอร์เลสในประเทศไทย เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีศักยภาพการเติบโตในตัวเลขสองหลัก ปีต่อปี ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

 

จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคโดยจีเอฟเคพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา ร้อยละ 10 ของพลเมืองออนไลน์ในประเทศไทยได้ซื้อกล้องมิเรอร์เลส และแนวโน้มที่จะซื้อภายใน 1 ปีจากนี้มีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกของการเติบโตของตลาดกล้องมิเรอร์เลสในไทย

 

“กล้องมิเรอร์เลสกลายเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มคนรักการถ่ายภาพที่ต้องการภาพถ่ายที่มีคุณภาพสูง ด้วยกล้องที่น้ำหนักเบา พกพาสะดวก ใช้งานง่าย และยังมีราคาซื้อหาเป็นเจ้าของได้ง่ายกว่ากล้อง DSLR ระดับสูง” เจอราร์ด แทน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดเทคโนโลยี จีเอฟเค เอเชีย กล่าว “เป็นที่น่าสนใจว่า กล้องมิเรอร์เลสในประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจอย่างสูงในฐานะของสินค้าฟุ่มเฟือยที่ใช้ในการยกระดับหรือแสดงฐานะทางสังคม”

 

ผลสำรวจยังระบุอีกว่า จำนวน 2 ใน 3 ของผู้ที่ใช้กล้องมิเรอร์เลสมีช่วงอายุอยู่ที่ 18-35 ปี และ 3 ใน 5 ของผู้บริโภคที่ตั้งเป้าจะซื้อกล้องมิเรอร์เลสก็อยู่ในช่วงอายุนี้ด้วยเช่นกัน

 

“นอกจากนี้ รายงาน GfK’s Connected Asian Consumer ยังระบุถึงผลการสำรวจในปีที่ผ่านมาด้วยว่า ประเทศไทยมียอดผู้ใช้งานโซเชียลแอพพลิเคชั่นสูงเป็นอันดับ 2 ของทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยคิดเป็นร้อยละ82 และแนวโน้มโซเชียลในปัจจุบันของวัยรุ่นไทยคือ ใช้กล้องมิเรอร์เลสถ่ายภาพแล้วแชร์ต่อบนโซเชียลมีเดียทันที” เจอราร์ด แทนกล่าว

 

ทั้งนี้ รายงานผลสำรวจของจีเอฟเคยังพบว่ากลุ่มผุ้บริโภคที่ใช้กล้องมิเรอร์เลสจากผู้ผลิตแบรนด์ดัง เช่น โซนี่ แคนนอน ฟูจิฟิล์ม โอลิมปัส จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับช่องทางการซื้อ รูปแบบการใช้งาน และความชื่นชอบต่ออุปกรณ์ที่ตนใช้งาน เกือบ 2 ใน 5 หรือร้อยละ 19 พิจารณาผลการรีวิวของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ตว่าเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญหลักในการหาข้อมูลกล้องมิเรอร์เลส อย่างไรก็ดี ประมาณร้อยละ 23 ระบุว่าการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการเลือกแบรนด์หรือรุ่นจะมาจากการเข้าไปเลือกดูของจริงที่ร้านโดยส่วนใหญ่

 

“ผลการวิจัยยังแสดงข้อมูลให้เห็นถึงความแตกต่างที่เด่นชัดของทัศนคติรวมทั้งพฤติกรรมระหว่างผู้ที่กำลังใช้สินค้าและที่ตั้งใจว่าจะซื้ออีกด้วย” เจอราร์ดตั้งข้อสังเกต “ข้อมูลเชิงลึกเช่นนี้มีความสำคัญต่อแบรนด์สินค้า ด้วยข้อมูลที่มีค่าแสดงถึงพฤติกรรมขั้นตอนการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค และช่วยให้กลยุทธ์การสื่อสารหลากหลายช่องทางสัมฤทธ์ผลสูงสุด ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าของตน”

 

เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

รายงานผลสำรวจพฤติกรรมการซื้อกล้องมิเรอร์เลส (Mirrorless Camera Path to Purchase Survey) จัดทำขึ้นในประเทศไทยในเดือน มิถุนายนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 การทำแบบสอบถามออนไลน์มีกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 540 คน โดยมีช่วงอายุอยุ่ที่ 18-55 ปี ที่ซื้อกล้องมิเรอร์เลสของ แคนนอน โซนี่ ฟูจิฟิล์ม และโอลิมปัส ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับผู้ที่มีความต้องการจะซื้อกล้องมิเรอร์เลสภายในเวลา 1 ปีข้างหน้า


 

เกี่ยวกับ จีเอฟเค (GfK)

จีเอฟเค เป็นบริษัทข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการตลาดและผู้บริโภคที่ได้รับความไว้วางใจ และช่วยให้ลูกค้าของบริษัทดำเนินการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จีเอฟเคมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยธุรกิจการตลาดมากกว่า 13,000 คน ที่พร้อมผนึกกำลัง ความสามารถผนวกกับประสบการณ์อันยาวนานและองค์ความรู้ด้านข้อมูลของบริษัท เพื่อผลิตข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญในระดับโลกพร้อมข้อมูลทางการตลาดจากมากกว่า 100 ประเทศ จีเอฟเคเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากเป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการใช้งาน  โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และองค์ความรู้ด้านข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนา ข้อได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างเสริมประสบการณ์และตัวเลือกของผู้บริโภคได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gfk.com หรือติดตามทางทวิตเตอร์: https://twitter.com/GfK