แคสเปอร์สกี้ แลป แนะวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงยุคดิจิทัลให้ปลอดภัย

แคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับบริษัทวิจัย Opeepl สำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนจำนวน 7,740 คน ใน 15 ประเทศทั่วโลก* เพื่อศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีต่อความปลอดภัยของสัตวเลี้ยง ปรากฏว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงในบ้าน ทุกๆ หนึ่งในห้าคนจะใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อคอยสอดส่อง หรือเพื่อดูแลความปลอดภัยสัตว์เลี้ยงของตน และพบว่าผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จำนวน 39% กลับก่อความเสี่ยงต่อสัตว์เลี้ยง หรือต่อผู้เป็นเจ้าของเสียเอง

 

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แคสเปอร์สกี้ แลป ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับจุดบอดในอุปกรณ์ติดตามหมาแมวที่ผู้ร้ายไซเบอร์สามารถใช้เป็นช่องลักลอบขโมยข้อมูลที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของก็ได้ ในการวิจัยล่าสุดพบว่าเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของหมาแมวนั้นมีมากกว่าเครื่องติดตามตัว (trackers) อุปกรณ์ที่ถูกพูดถึงในหมู่ผู้เข้าร่วมการสำรวจมากที่สุดคือ เว็บแคมสำหรับดูพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีเกมให้สัตว์เลี้ยงเล่น ของเล่นดิจิทัล ฟีดเดอร์ให้อาหารอัตโนมัติ/ตู้กินน้ำ และอื่นๆ มากมาย

 

อย่างไรก็ตาม อะไรเป็นตัวรับรองว่าตัวควบคุมอุณหภูมิจะไม่ทำงานบกพร่องจนน้ำในตู้ปลาร้อนเกินไป หรือเครื่องให้อาหารอัตโนมัติที่ไม่ตอบสนองต่อคำสั่งจะไม่ปล่อยให้แมวหิวโหย เป็นต้น กรณีเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่น่าเศร้าและทรมานทั้งต่อสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ จากการสำรวจข้อมูล พบตัวอย่างว่า จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์เลี้ยงจำนวนครึ่งหนึ่งนั้นต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้ ย่อมเป็นช่องทางที่ผู้ร้ายไซเบอร์ใช้ได้เช่นกัน ผู้เข้าสำรวจ 14% เผยว่าอุปกรณ์ของพวกเขาเคยถูกแฮกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ปัญหาอื่นที่เคยประสบ ได้แก่ อุปกรณ์หยุดทำงานหรือเริ่มมีอาการผิดปกติ ซึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจส่วนใหญ่แจ้งว่าเป็นความเสี่ยงถึงชีวิตของสัตว์เลี้ยง (32%) สุขภาพ (32%) สุขภาพจิตของสัตว์เลี้ยง (23%) และแม้แต่สุขภาพจิตของเจ้าของเอง (19%)

 

เดวิด เอมม์ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “เทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตของเรารวมทั้งสัตว์เลี้ยงเพื่อนรักขนปุยของเราสะดวกสบายขึ้น เทคโนโลยีอาจนำมาใช้ป้องกันสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัย ดูแลและทำให้สัตว์เลี้ยงสบายตัวได้ แต่ก็มีความเสี่ยงในการใช้งานเช่นเดียวกับอุปกรณ์ดิจิทัลทั่วไป ที่มีข้อบกพร่อง เสียพัง รวน หรือถูกแฮกได้ทั้งนั้น เพื่อเลี่ยงผลอันไม่เป็นที่พึงประสงค์ จึงต้องมีมาตรการเพื่อความปลอดภัยแบบง่ายๆ และมีแผนสำรองกรณีที่อุปกรณ์ชำรุด ทำงานบกพร่อง หรือโดนแฮก และแน่นอนว่า จะจำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ดิจิทัลอย่างรอบคอบระมัดระวัง เน้นสวัสดิภาพความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของคุณและครอบครัว”

 

ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้ แลป แนะนำข้อปฏิบัติง่ายๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณจะปลอดภัย ดังนี้

  • หากคุณเป็นเจ้าของสมาร์ทโฮม คุณควรจัดการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อการดูแลสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในบ้านของคุณ เช่นตัวอย่างในวิดีโอของพนักงานของแคสเปอร์สกี้ แลป ที่ดูแลสัตว์เลี้ยงที่อาศัยในสมาร์ทโฮมด้วยกัน (ดูวิดีโอที่นี่)
  • ก่อนตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ใช้งาน ควรให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องช่องโหว่ต่างๆ ได้ทางออนไลน์ ซึ่งหาได้ไม่ยาก เนื่องจากส่วนมากจะได้รับการทดสอบวิจัยมาก่อนที่จะวางตลาด ดังนั้ จึงไม่น่าจะยากที่จะตรวจสอบว่าข้อบกพร่องที่มีนั้นได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง ทางเลือกที่ดีที่สุด คือซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการอัพเดทมาแล้วหลายครั้ง
  • ก่อนเริ่มต้นใช้งาน ควรเปลี่ยนพาสเวิร์ดที่ติดมากับอุปกรณ์ให้เป็นพาสเวิร์ดที่แข็งแกร่งและซับซ้อน
  • ไม่ควรให้คนนอกแอคเซสเข้าอุปกรณ์ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นเฉพาะด้านเท่านั้น
  • ปลดการต่อเชื่อมทุกประเภทที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอุปกรณ์นั้น
  • หมั่นอัพเดทเฟิร์มแวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  • แคสเปอร์สกี้ แลป ได้ออกโซลูชั่นสำหรับการใช้งานสมาร์ทโฮมและอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ เพื่อการป้องกันอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ คือ “Kaspersky IoT Scanner” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บนแอนดรอยด์แพลตฟอร์ม ทำการสแกนเน็ตเวิร์ก Wi-Fi รายงานอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกันอยู่ และระดับของความปลอดภัย

 

*งานวิจัยทางออนไลน์นี้ทำการสำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ใช้สมาร์ทโฟนอย่างน้อยที่สุดจำนวนหนึ่งเครื่อง ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในประเทศสิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก โคลัมเบีย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส เบลเยี่ยม ตุรกี และรัสเซีย

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • รายงานเรื่อง I know where your pet is

https://securelist.com/i-know-where-your-pet-is/85600/

  • วิดีโอเรื่อง Can software keep your pets safe?

https://www.youtube.com/watch?v=-fh4RhzB3Eg

แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศแต่งตั้ง ‘เยีย เซียง เทียง’ ผจก.ทั่วไปคนใหม่ คุมอาเซียน

แคสเปอร์สกี้ แลป บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ประกาศแต่งตั้งนายเยีย เซียง เทียง (Yeo Siang Tiong) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ของแคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูแลครอบคลุมประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2018 เป็นต้นไป

 

นายเยียมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำธุรกิจของบริษัทในภูมิภาคนี้ มีหน้าที่รับผิดชอบการนำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทสำหรับตลาดเอ็นเทอร์ไพรซ์รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และเร่งการเติบโตของโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยสำหรับภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทในภูมิภาค นายเยียทำงานขึ้นตรงต่อนายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

นายเยียกล่าวว่า “ผมตื่นเต้นยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ แลป โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ความปลอดภัยไซเบอร์เป็นประเด็นสำคัญยิ่งสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผมเชื่อมั่นว่า แคสเปอร์สกี้ แลป มีความเชื่อและค่านิยมการทำงานที่ถูกต้องเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย”

 

นายเยียมีความเชี่ยวชาญด้านช่องทางการขายมายาวนานกว่า 20 ปี ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิก ตลอด 25 ปีในการทำงาน นายเยียรับผิดชอบงานผู้นำสำคัญๆ ด้านการขยายกลยุทธ์ การพัฒนาธุรกิจ การพัฒนาช่องทางการขาย การขายตรง และงานบริหารทางเทคนิคต่างๆ ที่ประเทศสิงคโปร์และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับแคสเปอร์สกี้ แลป นายเยียเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กและช่องทางการขาย ที่บริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบการสร้างแชนแนลอีโคซิสเต็มส์ และการขายในตลาดกลาง รวมถึงตลาดธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และเอ็นเทอร์ไพรซ์

 

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่สำคัญมากของเอเชียแปซิฟิก ในปี 2017 ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตมากถึง 12% เมื่อเทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่เติบโต 11% ในปีนี้เราตั้งเป้าสูงขึ้นและผมมั่นใจว่านายเยียจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีก”

 

นายเยียสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์

 

นายเยีย เซียง เทียง เข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป แทนที่นางสาวซิลเวีย อึง ที่ดูแลการเติบโตของบริษัทในส่วนธุรกิจ B2B และเอ็นเทอร์ไพรซ์เป็นอย่างดีมาตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมา

 

แคสเปอร์สกี้ แลป เผย โจรไซเบอร์ล่อผู้ใช้ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย เพื่อใช้เป็นแหล่งขุดเงินคริปโต

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้เปิดเผยกลโกงโดยการแพร่กระจายไมน์นิ่งซอฟต์แวร์และติดตั้งในเครื่องพีซีของผู้ใช้ผ่านซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายที่ใช้กันทั่วไปในการทำงานและเพื่อความบันเทิง เช่น ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพและข้อความ เป็นต้น เครื่องพีซีจะถูกใช้เป็นตัวสร้างเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี่ (cryptocurrency) เพื่อสร้างกำไรให้กับโจรไซเบอร์

 

ปัจจุบัน ตลาดเงินดิจิทัลได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนและมูลค่าการลงทุน โจรไซเบอร์ก็ได้จับตามองการเติบโตนี้อย่างใกล้ชิด ความตื่นตัวต่อเงินดิจิทัลทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเริ่มเล่นรวมถึงผู้ใช้ที่ขาดความรู้ความชำนาญด้านไอที จึงกลายเป็นเหยื่อกลโกงได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น เทรนด์นักขุดเงินดิจิทัล (cryptocurrency miner) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์สำคัญของปี 2017 จากข้อมูลในรายงาน Kaspersky Security Bulletin นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ทำนายเทรนด์นี้ไว้เมื่อปี 2016 ตอนที่พบการกลับมาของไมน์นิ่งซอฟต์แวร์ขณะที่เงินดิจิทัล Zcash กำลังเป็นที่นิยม หนึ่งปีหลังจากนั้น ก็พบไมเนอร์หรือนักขุดเงินเกิดขึ้นจำนวนมาก โจรไซเบอร์เองก็ใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ เช่น แคมเปญโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง และการแพร่กระจายซอฟต์แวร์ที่แคร็กไว้เพื่อเพิ่มจำนวนเครื่องพีซีติดเชื้อให้มากที่สุด

 

เร็วๆ นี้ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ค้นพบเว็บไซต์จำนวนหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกัน คือ เสนอช่องทางให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมาใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โจรไซเบอร์ได้เลือกใช้โดเมนเนมที่คล้ายกับเว็บไซต์ของจริง หลังจากที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์แล้ว ก็จะได้รับ archive ที่บรรจุโปรแกรมขุดมาด้วย

ตัว archive การติดตั้งจะประกอบด้วยไฟล์ข้อความที่มีข้อมูลการติดตั้ง คือแอดเดรสของวอลเล็ต (wallet) และไมนิ่งพูล (mining pool) ไมนิ่งพูลคือเซิร์ฟเวอร์ที่รวมผู้เข้าร่วม (participant) ทั้งหลายไว้ที่เดียวกันและแบ่งงานขุดในคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ผู้เข้าร่วมจะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินดิจิทัลซึ่งจะไวกว่าการขุดผ่านคอมพิวเตอร์ของตัวเองเพียงเครื่องเดียว การขุดเงินบิตคอยน์และเงินดิจิทัลอื่นๆ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและทรัพยากรมาก ดังนั้น การขุดผ่านพูลจึงเพิ่มผลผลิตและความรวดเร็วการในผลิตเงินดิจิทัล

 

หลังจากติดตั้งโปรแกรมแล้ว นักขุดเงินก็เริ่มงานผลิตเงินดิจิทัลให้โจรไซเบอร์ที่เครื่องของเหยื่ออย่างเงียบๆ จากรายงานของแคสเปอร์สกี้ แลป เคสที่พบทุกเคสใช้ซอฟต์แวร์โปรเจ็ก NiceHash ซึ่งเพิ่งถูกเจาะความปลอดภัยครั้งใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการโจรกรรมเงินดิจิทัลมูลค่าหลายล้านดอลล่าร์ เหยื่อบางรายก็เกี่ยวข้องกับไมนิ่งพูลเดียวกันด้วย

 

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังพบว่านักขุดบางรายมีฟีเจอร์พิเศษที่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนเลขวอลเล็ตหรือเปลี่ยนพูลได้จากระยะไกล ซึ่งหมายความว่า โจรไซเบอร์จะสามารถตั้งจุดหมายการขุดเงินดิจิทัลใหม่ได้ตามต้องการ และสามารถบริหารจัดการรายได้ด้วยการกระจายการขุดระหว่างวอลเล็ต หรือตั้งค่าให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อเป็นพูลอีกแห่งก็ยังได้

 

อเล็กซานเดอร์ โคเลสนิคอฟ นักวิเคราะห์มัลแวร์ของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ถึงจะไม่นับเป็นโปรแกรมมุ่งร้าย แต่ไมนิ่งซอฟต์แวร์ก็ลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แน่นอน รวมถึงค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักของการตกเป็นเหยื่อ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่น่าพิสมัย ผู้ใช้บางรายอาจจะรู้สึกดีที่เห็นคนอื่นรวยขึ้น แต่เราขอแนะนำให้ผู้ใช้ต่อต้านกลโกงนี้ เพราะถึงแม้จะไม่ได้เกิดจากมัลแวร์ แต่ก็นับเป็นการโกงอยู่ดี”

 

แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำวิธีป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ให้ตกอยู่ในเครือข่ายการขุดเงินดิจิทัล ดังนี้

  • ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
  • ติดตั้งโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย เช่น Kaspersky Internet Securityหรือ Kaspersky Free ที่จะช่วยปกป้องจากภัยคุกคามต่างๆ รวมถึงไมนิ่งซอฟต์แวร์ด้วย

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ข้อมูลโครงการนักขุดที่เพิ่งค้นพบ

https://securelist.com/nhash-petty-pranks-with-big-finances/83506/

  • ข้อมูลการพัฒนาเงินดิจิทัลในแง่ความปลอดภัยไซเบอร์

https://securelist.com/ksb-threat-predictions-for-cryptocurrencies-in-2018/83188/

https://www.brighttalk.com/webcast/15591/289993

แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย เปิดตัว Kaspersky 2018 แล้ววันนี้! โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ตามบ้าน มาพร้อมการปกป้องแบบมัลติดีไวซ์

ในยุค Household 2.0คือยุคที่ในบ้านประกอบด้วยอุปกรณ์ต่ออินเทอร์เน็ตเฉลี่ยจำนวน 6.3 ชิ้น

มีผู้พักอาศัย 2.4 คน และสัตว์เลี้ยงอีก 0.3 ตัวต่อครอบครัว!!

แคสเปอร์สกี้ แลป จึงขอนำเสนอโซลูชั่นเรือธงชั้นนำล้ำยุคสู่ตลาดไทย เพื่อปกป้องผู้บริโภค

 

โลกยุคที่รูปแบบความทันสมัยในครัวเรือนนั้นกำลังเปลี่ยนโฉมไปอีกครั้ง สู่รูปแบบที่เรียกว่า “บ้านพักอาศัย 2.0” ประกอบตัวเลขเฉลี่ยของผู้พักอาศัย 2.4 คน[1] มีสัตว์เลี้ยง 0.3 ตัว[2] และมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย 6.3 ชิ้น[3] ต่อครอบครัว แถมอุปกรณ์เหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อในชีวิตประจำวัน แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย ร่วมกับบริษัท ไอคอม เทค ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป อย่างเป็นทางการ จึงได้เปิดตัว Kaspersky Total Security 2018 และ Kaspersky Internet Security 2018 รวมถึงโซลูชั่นพื้นฐานอย่าง Kaspersky Anti-Virus 2018 ที่ได้รับการปรับยกสมรรถนะประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลอุปกรณ์ส่วนตัวในครัวเรือนเหล่านั้นได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 

จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2560 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่เกิดจากมัลแวร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้ถึง 2,947,918 เหตุการณ์ โดยรวมแล้ว มีผู้ใช้งานในประเทศไทยจำนวน 17.6% ที่ถูกโจมตีในช่วงเวลาดังกล่าว

คุณสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ตัวเลขสถิติของ KSN ข้างต้นนั้น ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นขณะท่องเว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ 33 ของโลก จากรูปแบบครัวเรือนในปัจจุบันนี้ พบว่ามีจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากกว่าสมาชิกครอบครัวและสัตว์เลี้ยงรวมกันเสียอีก และอุปกรณ์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในชีวิตประจำวันในบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้งานเพื่อรองรับทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อจับจ่ายซื้อของ หรือแชร์วิดีโอสมาชิกตัวน้อยในบ้าน การเชื่อมต่อเหล่านี้ย่อมพ่วงมากับความกังวลด้านความปลอดภัย แต่อัตราเสี่ยงในทุกวันนี้กลับเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ใช้ทั่วไปยังใช้อุปกรณ์โดยไม่มีการป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์กันเลย ไม่ว่าจะเป็นการเจาะระบบ มัลแวร์ การหลอกลวงการการเงิน และรูปแบบอื่นๆ”

 

คุณสเตฟาน กล่าวเสริมว่า ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security และ Kaspersky Internet Security รุ่นล่าสุด ได้รับการออกแบบให้ปกป้องการใช้งานภายในบ้านสมัยใหม่ ช่วยให้ผู้พักอาศัยสมาชิกในครัวเรือนมีศักยภาพที่จะดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และดูแลจังหวะการใช้ชีวิตดิจิทัลให้แก่ทุกคนในครอบครัว ให้เหมือนกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 


 

ยุคของบ้านพักอาศัย 2.0 คือยุคที่ทุกย่างก้าวคือชีวิตออนไลน์

ปัจจุบันพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในบ้านหนึ่งหลังมีอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นเชื่อมต่อออนไลน์ เกิดเป็นชั่วโมงออนไลน์จำนวนมาก และว่าผู้พักอาศัยในบ้านก็ใช้งานเว็บเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของโปรแกรมและเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย ในรายงานวิจัยประจำปีของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 63% ต่างกังวลใจกับอีเมลฟิชชิ่งและเว็บไซต์ปลอม และเพื่อตอบโจทย์ความกังวลนี้ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security มีเทคโนโลยีต่อต้านฟิชชิ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการตรวจจับและป้องกันผู้ใช้จากอีเมล์หลอกลวง และสแปมรวมถึงเว็บไซต์ปลอมและลวงข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงระบบ URL Advisor ในการดูแลการค้นหา URL ให้กับผู้ใช้เพื่อรู้ว่าเว็บไซต์ที่ค้นหานั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ มีพิรุธหรืออันตรายหรือว่าเป็นเว็บไซต์หลอกลวงหรืออาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับคอมพิวเตอร์อย่างไรหรือไม่ โดยจะแสดงให้เห็นได้ชัดในแต่ละลิ้งก์

 

บ้านคือสถานที่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลอันมีค่า

จากความหวาดกลัวเว็บไซต์ปลอมก่อให้เกิดความกังวลว่าการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจจะเป็นช่องทางให้สูญเสียข้อมูลที่อยู่ในบรรดาอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นในบ้านหลังหนึ่งๆ ได้ โดยข้อมูลที่สุดหวงแหนแห่งยุคคือ รูปภาพ ซึ่งในความจริงแล้ว จากการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า การสูญเสียภาพถ่ายดิจิทัลของหลายๆ คนทำให้เกิดความเครียดมากกว่าการเลิกคบเพื่อนหรือความเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงด้วยซ้ำไป

 

จากการที่ข้อมูลกลายเป็นของรักของทุกคนไปแล้ว พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าครึ่ง (56%) ต่างกังวลว่าข้อมูลของพวกเขานั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะโดนเรียกค่าไถ่ ซึ่งความกังวลนี้เกิดมากขึ้นหลังจากการโจมตีครั้งล่าสุดของ WannaCry และเพื่อช่วยให้ผู้พักอาศัยตามบ้านสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านยุค 2.0 ได้อย่างสงบสุข Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ได้เพิ่มความสามารถในการตรวจจับและป้องกันโปรแกรมเรียกค่าไถ่ ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อต่อกรได้แม้กระทั่งแรนซัมแวร์ที่ซับซ้อนมากที่สุด

 

ทุกครอบครัวต้องการเก็บความลับไว้กับตัวเอง แต่ในยุค “บ้านพักอาศัย 2.0” นั้น ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มักถูกคุกคามทางออนไลน์ ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะกังวลว่าข้อมูลอาจจะตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลบางส่วนที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน มีผู้ใช้ถึง 44% ไม่ต้องการให้คนอื่นเห็น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้จะมั่นคงปลอดภัยอยู่กับตัวเอง ด้วยความสามารถใหม่ในการล็อกการทำงานแอพพลิเคชั่นบนมือถือระบบแอนดรอยด์ จึงมีการเพิ่มระดับชั้นของการปกป้องด้วยรหัสลับให้กับผู้ใช้ได้กำหนดในแต่ละแอพพลิเคชั่น เช่น บริการรับส่งข้อความ เครือข่ายสังคม อีเมล หรือข้อมูลลับอื่นๆ ไม่ให้บุคคลอื่นเรียกใช้เข้าถึงได้ โดยที่ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติ Kaspersky Secure Connection service ที่มีอยู่ทั้งใน Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ที่จะช่วยในการเข้ารหัสข้อมูลที่รับและส่งบนเครือข่ายไร้สายที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยหรือบนเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงอีกชั้นหนึ่งด้วย

 

การใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็กๆ คือหัวใจที่ต้องดูแลป้องกันภายในครัวเรือน

แม้ว่าจะมีความกังวลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ “บ้านพักอาศัย 2.0” ยังนำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อสมาชิกในครอบครัวที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยผู้ใช้ 60% กังวลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน ว่าอาจเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ แคสเปอร์สกี้ แลป นำเอาระบบควบคุมการใช้งานโดยผู้ปกครอง (parental controls) ของแคสเปอร์สกี้ แลป มาบรรจุไว้ใน Kaspersky Total Security ล่าสุดนี้ด้วย ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตั้งช่วงเวลาใช้งานสำหรับอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่มีอยู่ในบ้าน รวมถึงกำหนดแอพพลิเคชั่นให้เด็กๆ ได้ใช้งาน รวมถึงป้องกันการเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ภาษาลามกอนาจาร หรือข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและอื่นๆ ทั้งหมดรวมอยู่แล้วในคุณสมบัติของบริการ Kaspersky Safe Kids

 

คุณเอเลน่า คาร์เชงโก้ หัวหน้าฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “อุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเราและครอบครัว ขยายขอบเขตการใช้งานทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ การสื่อสาร และได้เปิดช่องทางให้เกิดธุรกรรมได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ แถมยังช่วยให้ทุกคนดำเนินชีวิตได้ต่อเนื่อง และไม่น่าแปลกใจเลยว่าในยุคบ้านพักอาศัย 2.0 จะมีอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่าคนและสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในบ้านเสียอีก”

 

“แต่สิ่งที่เราพบจากการสำรวจนั้นชี้ว่า การเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาของเรานำมาซึ่งความกังวลโดยธรรมชาติในเรื่องความปลอดภัยออนไลน์ จากความกลัวที่จะตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง รวมถึงความกังวลในเรื่องการใช้งานออนไลน์ของเด็กๆ ที่อยู่ในบ้าน ซึ่งความกังวลเหล่านี้ได้ถูกตอบโจทย์ทั้งหมดอยู่แล้วในผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดของ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ซึ่งถือว่าเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่นำเสนอแนวทางที่ฉลาดที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลการใช้งานของทั้งครอบครัวในโลกของดิจิทัลโดยที่ไม่ขัดขวางการเปิดประสบการณ์บนโลกออนไลน์”

 

คุณสเตฟาน กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากที่สุดตลาดหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ แลป ติดอันดับหนึ่งในสามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและทรัพยากรบุคคลที่มีการศึกษา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจึงเป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้งานออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ขณะที่จำนวนผู้ใช้เพิ่มสูงขึ้น แต่ความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์กลับไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย”

 

ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security 2018, Kaspersky Internet Security 2018 และ Kaspersky Anti-Virus 2018 มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ทั่วประเทศ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าไอทีชั้นนำในราคาต่อไปนี้:-

  • Kaspersky Total Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 990 บาท
  • Kaspersky Total Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,780 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 690 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,380 บาท

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้การบริการด้านเทคนิค สามารถติดต่อศูนย์การบริการแคสเปอร์สกี้ไทย (iCom Tech Co. Ltd.) ได้ที่ 02-203-7500 หรือที่เว็บไซต์ www.thaikaspersky.com

###

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

ติดต่อข้อมูลประชาสัมพันธ์

ซานจีฟ แนร์

ฝ่ายการสื่อสารองค์กร แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

sanjeev.nair@kaspersky.com

Tel: +60 3 7962 5914

บูรณี จันทรปรรณิก, ณิชานันท์ ตู้จินดา

พิตอน คอมมิวนิเคชั่น

buranii@PITONbiz.com , nichanan@PITONbiz.com

Tel: 099-419-6324, 0-2954-2602-4

แคสเปอร์สกี้ แลป ชวนคนไทยประกวด Goondus Awards กระตุ้นความปลอดภัยในโลกอินเทอร์เน็ต

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวแคมเปญชื่อ “กูนดูส์ อวอร์ดส์” (Goondus Awards) สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ความรู้และกระจายความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต โดย “กูนดูส์ อวอร์ดส์” เปิดเชิญชวนให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่งเรื่องราวข้อผิดพลาดและการประพฤติตัวแบบผิดๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงหรือทรัพย์สินเงินทอง โดยจะไม่เปิดเผยชื่อจริงเมื่อแบ่งปันประสบการณ์แก่สาธารณชน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราต้องการให้ความรู้แก่ผู้ใช้เรื่องพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหาย บางเรื่องอาจฟังแล้วตลกขบขัน ฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริง และในหลายๆ เคสก็สร้างความเสียหายได้มาก เราหวังว่าการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อจะช่วยกระตุ้นเตือนและสร้างแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต”

“กูนดูส์ อวอร์ดส์” จะเผยแพร่เรื่องราวหลากหลายแง่มุมที่มีผู้ใช้พบเจอมาแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นความตระหนักรู้เรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ระหว่างเพื่อนสองคนที่ใช้บัตรเติมเงิน iTune ที่ตกเป็นเหยื่อกลโกงโจรขโมยตัวตนหลอกให้เพื่อนเติมเงินให้โดยที่เจ้าของบัตรตัวจริงไม่เคยขอให้ทำ ซึ่งเหตุการณ์นี้ จะช่วยทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ได้รู้ว่า โจรขโมยตัวตนไม่ใช่เรื่องไกลตัว และอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินทองอีกด้วย

 

ผู้สนใจสามารถส่งเรื่องเข้าประกวดได้ที่เว็บไซต์ http://goondusawards.com เพียงกรอกข้อมูลชื่อ อีเมลแอดเดรส หมายเลขโทรศัพท์ ประเภทของเรื่อง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดของเหตุการณ์

หลักเกณฑ์การส่งเรื่องเข้าประกวดคือ ต้องเป็นเหตุการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจริงและทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเป็น 1) iPad 3 Mini 2) Samsung Tablet 3) Jays earphones พร้อมด้วยรางวัลพิเศษในแต่ละเดือนเป็นกระเช้าของพรีเมี่ยมจากแคสเปอร์สกี้ แลป

 

นอกจากการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อผู้ใช้แล้ว ในเว็บไซต์ยังมีข้อมูลเกร็ดความรู้เรื่องกลโกงประเภทต่างๆ เพื่อแนะนำผู้ใช้ว่าควรป้องกันตัวเองจากเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไรอีกด้วย

 

จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่า ผู้ใช้ทุกช่วงวัยประสบภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2558 ในส่วนของปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าผู้ใช้พบปัญหาอีเมลสแปมหรืออีเมลขยะ 13% (10.8% ในปี 2558) ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร 12.1% (8.4%) ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ 8.9% (8.8%) ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว 3.2% (2.0%) และถูกหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ต 1.5% (1.2%) และแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล นั่นคือ ความล่าช้าในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (70.3%) และโฆษณาที่มารบกวน (50.7%) แต่สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ผู้ใช้ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร1

 

###

 

1รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2016-th.html

 

###

 

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

เปิดตัว Kaspersky IoT Scanner โซลูชั่นปกป้องไอโอทีดีไวซ์ ดาวน์โหลดฟรี เชื่อมต่อปลอดภัย

 

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวเบต้าเวอร์ชั่นของโซลูชั่นเพื่อป้องกัน สมาร์ทโฮม” หรือบ้านอัจฉริยะ และ Internet of Things ในชื่อ “Kaspersky IoT Scanner” แอพพลิเคชั่นนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทำงานบนแอนดรอยด์แพลตฟอร์ม สามารถสแกนระบบไวไฟที่ใช้งานที่บ้าน แจ้งเตือนเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาเชื่อมต่อกับไวไฟ และระดับของความปลอดภัย

 

ขณะที่ Internet of Things กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาชญากรไซเบอร์ก็กำลังมองหาวิธีการช่องทางหาประโยชน์จากเทรนด์ที่เติบโตนี้ด้วยเหมือนกัน แทนที่จะทำให้ชีวิตของผู้บริโภคสมาร์ทดีไวซ์ง่ายขึ้น กลับกลายมาเป็นช่องโหว่ในด้านซีเคียวริตี้ที่น่าเป็นห่วงขึ้นทุกวัน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราได้พบเห็นดีไวซ์มากมายหลายประเภทที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แล้วก็กลายเป็นเหยื่อโดนแฮ็ก ช่องโหว่ที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุดมาจากซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการต่อกับเว็บนี่เอง ทั้งๆ ที่ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่แล้ว จุดที่เป็นช่องโหว่ได้นั้นมีตั้งแต่ baby monitors ไปจนกระทั่ง เครื่องปรับอากาศ หรือรถยนต์ น่าเศร้าว่า เมื่อมีสิ่งใดเชื่อมต่อกับเว็บได้ ก็เป็นอันว่ามีโอกาสตกเป็นเหยื่อโดนแฮ็กได้เสมอ แถมยังมี IoT search engines มาคอยเปิดโอกาสให้เป็นเหยื่อเพลี่ยงพล้ำได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก”

จากการวิเคราะห์ของ การ์ตเนอร์ พบว่ามีอุปกรณ์ IoT มากกว่าหกพันล้านเครื่องที่กำลังใช้งานอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ และหลายเครื่องก็ได้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรไซเบอร์ไปเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่าง เมื่อปีที่แล้ว ทั้งโลกสั่นคลอนกับคลื่นการโจมตี DDoS attacks ที่มาจากฝีมือ Mirai botnet ที่ใช้ช้องโหว่ยอดนิยมในอุปกรณ์ IoT ในการแพร่กระจายเชื้อ และจับเหยื่อมาเป็นหุ่นเชิดของตน แคสเปอร์สกี้ แลป ได้พัฒนาโซลูชั่นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงเช่นนี้ลง ตอนนี้ยังเป็นเบต้าเวอร์ชั่น แต่ก็ขอแนะนำให้บรรดาผู้ใช้ IoT ทั้งหลายนำมาใช้เพื่อเป็นการป้องกันอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านสมาร์ทโฮมของตน และแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับศักยภาพ ความสามารถ สมรรถนะในการใช้งานโซลูชั่นที่เรียกว่า Kaspersky IoT Scanner นี่ด้วย

 

Kaspersky IoT Scanner จะระบุสมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกับไวไฟเร้าเตอร์โดยอัตโนมัติ รวมไปถึง ไอพีคาเมร่า (IP cameras) สมาร์ททีวี เครื่องพิมพ์ต่อผ่านไวไฟ อุปกรณ์เก็บข้อมูลบน NAS มีเดียเซิร์ฟเวอร์ และเกมคอนโซล รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ที่อยู่ในวงเครือข่ายในบ้านของเรา โซลูชั่นจะ “จดจำ” อุปกรณ์เหล่านี้ไว้ และแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เมื่อใดก็ตามที่มีอุปกรณ์ใหม่หรือที่ใช้ปกติมาต่อเชื่อม หรือปลดการต่อเชื่อม ทำให้ผู้ใช้งานล่วงรู้อยู่เสมอถึงสถานะความเป็นไปว่ามีใคร อะไรมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายบ้านของตนบ้าง

 

โซลูชั่นสแกนอุปกรณ์หาช่องโหว่ ตัวอย่าง หากพอร์ตต่อเชื่อมถูกเปิดอยู่ (ย่อมหมายถึงใครก็ตามที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะต่อเข้ามาได้) โซลูชั่นแจ้งเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับสถานะนั้น และแนะนำให้ทำการปิดพอร์ตในทันที นอกจากนี้ Kaspersky IoT Scanner แจ้งผู้ใช้เกี่ยวกับปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพาสเวิร์ดรหัสผ่านของตัวไวไฟเร้าเตอร์ Telnet หรือ SSH ด้วย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกัน การเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะผ่านทางอุปกรณ์ IoT ที่ต่ออยู่ชิ้นใดก็ตาม ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการตั้งพาสเวิร์ดรหัสผ่านที่ไม่แข็งแกร่งนั่นเอง

อังเดรย์ โมโกล่า หัวหน้าฝ่ายธุรกิจผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า ปรัชญาความมุ่งมั่นของแคสเปอร์สกี้ แลป คือปกป้องโลกใบนี้ให้พ้นจากภัยไซเบอร์ และนี่มิใช่เป็นเพียงลมปากเท่านั้น เพราะเราทำงานหนักทุกวันเพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่ที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานของเรา คลังอาวุธของเรานั้นประกอบด้วยโซลูชั่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานหลากหลายตัว รองรับการทำงานหลากหลายรูปแบบและหลากหลายแพลตฟอร์ม และ โซลูชั่น Kaspersky IoT Scanner นี้ก็เป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นที่จะช่วยให้ประชากรเน็ตจำนวนหนึ่ง หรือเรียกว่า ผู้ใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ทั้งหลาย สามารถใช้งานได้อย่างมีเกราะป้องกันตัว

 

สามารถดาวน์โหลด Kaspersky IoT Scanner เวอร์ชั่นเบต้าสำหรับการทดสอบได้จาก Google Play ในภาษาอังกฤษและรัสเซีย ได้ที่ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.kaspersky.iot.scanner