Kaspersky เผยครี่งปีแรกตรวจจับฟิชชิ่งใน SEA ได้มากกว่า 14 ล้านครั้ง

พบพยายามโจมตีผู้ใช้ในไทย 1.5 ล้านครั้ง

โจรไซเบอร์ใช้วิธีเก่าแต่ยังเก๋า พร้อมแนะยูสเซอร์รุ่นใหม่ให้เพิ่มความระแวดระวัง

Kaspersky เผยสถิติล่าสุดพบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ในการแพร่กระจายไปยังเน็ตเวิร์กและดีไวซ์ต่างๆ ผ่านวิธีที่ง่ายที่สุดแต่ก็ยังเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ “ฟิชชิ่ง” Kaspersky สามารถตรวจจับความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งในภูมิภาคนี้ได้มากถึง 14 ล้านครั้ง ในระยะเวลาเพียงครึ่งปีที่ผ่านมาเท่านั้น

 

Kaspersky เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกพบความพยายามในการดึงผู้ใช้ตรงไปยังเว็บไซต์ฟิชชิ่งปริมาณสูงสุดที่ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มากกว่า 11 ล้านครั้งรวมกัน สำหรับประเทศไทยพบความพยายามโจมตีมากถึง 1.5 ล้านครั้ง ฟิลิปปินส์มากกว่า 1 ล้าน และสิงคโปร์เพียง 351,510 ครั้งเท่านั้น

 

เมื่อพิจารณาจำนวนของผู้ใช้ที่ถูกโจมตีด้วยฟิชชิ่ง พบว่า ฟิลิปปินส์มีจำนวนเหยื่อฟิชชิ่งมากที่สุด คือ 17.3% สูงกว่าปีที่แล้วที่มีจำนวนเหยื่อ 10.449% ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง 65.56% เลยทีเดียว

 

โดยมาเลเซียตามมาเป็นอันดับสองคือ 15.829% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 11.253%) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ 14.316% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.719%) ไทย 11.972% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.9%) เวียดนาม 11.703% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 9.481%) และสุดท้ายสิงคโปร์ 5% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 4.142%)

 

ความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งแสดงถึงความถี่ที่อาชญากรไซเบอร์พยายามล่อหลอกให้ผู้ใช้ Kaspersky เข้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อขโมยข้อมูล ขณะที่จำนวนของผู้ใช้ที่ถูกโจมตีแสดงถึงสัดส่วนของผู้ใช้ Kaspersky ที่เป็นเป้าหมายของการพยายามโจมตีในช่วงเวลาหนึ่งๆ

 

นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป Kaspersky ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ภัยคุกคามที่เก่าแต่เก๋าตัวนี้มีอยู่จริงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ และไม่มีทีท่าจะหมดไปในเร็วๆ นี้ ภูมิภาคของเราประกอบด้วยประชากรรุ่นใหม่ที่มีความคล่องตัวสูง ที่เรายังจำเป็นต้องให้ความรู้เรื่องความเสี่ยงของฟิชชิ่งซึ่งเป็นการโจมตีไซเบอร์ทั่วไป ผู้ใช้รุ่นใหม่จะซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่และจะคำนึงเรื่องความปลอดภัยเฉพาะที่ตัวเครื่องไม่ใช่เวอร์ชวล ตราบใดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตลดการป้องกันลง ก็แน่นอนว่าจะมีเหยื่อฟิชชิ่งเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ อย่างแน่นอน”

 

ประสิทธิภาพของกลลวงฟิชชิ่งนั้นพิสูจน์ได้จากการที่อาชญากรไซเบอร์สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลมาขายต่อได้ง่ายๆ ในตลาดมืด พวกนักต้มตุ๋นมักมองหาข้อมูลอย่างหมายเลขบัตรเครดิต รวมถึงพาสเวิร์ดบัญชีธนาคารและแอปพลิเคชันการเงินต่างๆ

 

ทั้งๆ ที่หน่วยงานรัฐและภาคเอกชนต่างประกาศเตือนผู้ใช้อยู่เสมอไม่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต แต่จำนวนเหยื่อก็ยังเพิ่มสูงขึ้น และถึงแม้จะมีความตระหนักรู้จักกลโกงออนไลน์มากขึ้น แต่ผู้ใช้ก็ยังระแวดระวังลดลง

 

นายโย เซียง เทียง กล่าวเสริมว่า “นี่เป็นสัญญาณเตือนอันตรายว่าฟิชชิ่งยังคงมีประสิทธิภาพมากในการหลอกลวงผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาชญากรไซเบอร์ยังใช้วิธีส่งเมลแบบเดิมเป็นปีๆ แต่ก็ยังหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือคลิกลิ้งก์ปลอมได้ สถิติล่าสุดของเรายืนยันว่า เราจำเป็นต้องเร่งเปลี่ยนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคนี้ให้เป็นผู้ใช้ที่รู้เท่าทันและสามารถแยกแยะกลโกงต่างๆ ได้”

 

Kaspersky แนะนำขั้นตอนหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อฟิชชิ่งดังนี้

  • ระแวดระวังอีเมลน่าสงสัยอยู่เสมอ ถ้าอีเมลมีเนื้อหาที่ดีเกินกว่าจะเป็นเรื่องจริง ให้เช็คซ้ำๆ ถ้าเป็นอีเมลที่อ้างว่ามาจากธนาคาร ควรโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับธนาคารทันที โดยปกติแล้ว ธนาคารจะไม่สอบถามพาสเวิร์ดทางอีเมล แต่มักจะพูดคุยสอบถามข้อมูลหรือให้กรอกแบบฟอร์มที่ธนาคาร
  • หากใช้อีเมลฟรี ควรมีอีเมล 2 บัญชี บัญชีแรกสำหรับใช้งานหลักและอีกบัญชีสำหรับใช้งานเว็บไซต์ที่ต้องล็อกอินเพื่ออ่านข่าวหรือแจ้งข้อมูลต่างๆ
  • สมาร์ทโฟนทุกเครื่องไม่ได้ปลอดภัย จึงควรระวังข้อความที่จะพาไปยังเว็บไซต์ต่างๆ มีซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายมากมายที่สามารถดึงข้อมูลจากแอปในเครื่องได้
  • ใชโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ที่มีฟีเจอร์แอนตี้ฟิชชิ่งและปกป้องการใช้จ่ายออนไลน์ เช่น like Kaspersky Internet Security, Kaspersky Total Security, และ Kaspersky Security for Cloud
  • และวิธีป้องกันตัวจากฟิชชิ่งที่ดีที่สุดคือการพิจารณาอีเมลและข้อความที่ได้รับอย่างละเอียดรอบคอบ ในยุคดิจิทัลนี้ การระมัดระวังมากเกินไปไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

 

เกี่ยวกับ Kaspersky

 

Kaspersky เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตระดับโลกที่ก่อตั้งในปี 1997 ด้วยความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโซลูชั่นความปลอดภัยยุคใหม่ ที่ให้บริการในการป้องกันสำหรับธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลและลูกค้าทั่วโลก การให้บริการของบริษัทประกอบด้วย การป้องกันปลายทาง โซลูชั่นการป้องกันความปลอดภัยแบบพิเศษจำนวนมาก และบริการเพื่อป้องกันภัยคุกคามดิจิทัล ซึ่ง Kaspersky ได้ป้องกันความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้กว่า 400 ล้านคน และอีกกว่า 270,000 องค์กร ที่ป้องกันความปลอดภัยให้กับทุกส่วนที่สำคัญสำหรับลูกค้า ศึกษาข้อมูลเพี่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

ดีจริงหรือ? เมื่อพ่อแม่สวมบท ‘ตำรวจคุมเข้ม’ หวังให้ลูกหลานพ้นอันตรายเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต

ความเสี่ยงในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่จะก่อความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่บรรดาผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเวลาที่บุตรหลานใช้ไปกับการออนไลน์ก็น่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงพบว่าผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย (หนึ่งในสาม) เลือกที่จะจำกัดเวลาใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันอันตรายจากการท่องโลกออนไลน์ แต่ก็ยังมีวิธีอื่นที่ผู้ปกครองอีกไม่น้อยเลือกที่จะนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยง และยังเป็นการเปิดทางให้เด็กๆ ได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากสิ่งดีๆ ที่โลกดิจิทัลมีให้เลือกสรรได้

 

การที่คนรุ่นใหม่พึ่งพาการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากนั้นทำให้หนึ่งในสามของผู้ปกครอง (33%) ที่เข้าร่วมการสำรวจข้อมูลกังวลใจอย่างมากว่าลูกหลานของตนจะเป็นคนติดเน็ต ซึ่งสอดประสานกับตัวเลขที่แคสเปอร์สกี้ แลปร่วมกับบีทูบีอินเตอร์เนชั่นแนลได้ทำการสำรวจข้อมูลไว้ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวนหนึ่งในสิบ (12%) ติดการใช้อินเทอร์เน็ต และผู้ปกครอง (36%) กังวลการดูเนื้อหาไม่เหมาะสม และ (32%) กังวลเรื่องการติดต่อกับคนแปลกหน้า ดูเหมือนว่าการที่เยาวชนติดโลกออนไลน์ได้กลายมาเป็นข้อกังวลอันใหญ่หลวงของผู้ปกครองยุคนี้ไปเสียแล้ว

ผู้ปกครองจำนวนเกินครึ่ง (51%) ที่รู้สึกถึงการคุกคามของภัยทางออนไลน์ต่อบุตรหลานของพวกเขา เด็กๆ มักใช้เวลาส่วนมากในโลกออนไลน์ จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องสร้างเกราะป้องกันคุ้มภัยให้แก่เด็กๆ เวลาที่พวกเขาออนไลน์ ทำให้ผู้ปกครอง 33% เลือกที่จะใช้วิธีตั้งกฎเกณฑ์เรื่องเวลาที่เด็กๆ สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้

 

อย่างไรก็ตาม การจำกัดเวลาก็มิใช่เงื่อนไขด้านความปลอดภัยของเด็กๆ เสียทีเดียว ในช่วงเวลา 12 เดือน เยาวชน 44% เผชิญภัยคุกคามทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง และเด็กจำนวนหนึ่งในสิบ (12%) ดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับวัย และ (10%) ได้เข้าถึงซอฟต์แวร์ไวรัสอันตราย

 

ดังนั้น ทางเลือกสำหรับผู้ปกครองคือ ควรสนับสนุนบุตรหลานของตนให้มีทางเลือกอื่นๆ เช่น การศึกษา การเรียนรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น พบว่า ผู้ปกครองจำนวนกว่าหนึ่งในสาม (37%) ใช้วิธีพูดคุยกับเด็กๆ เป็นประจำ เพื่อจะได้สอนความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่มาทางออนไลน์ และผู้ปกครอง 31% พยายามที่จะอยู่กับเด็กๆ ด้วยในเวลาที่พวกเขาออนไลน์ เพื่อจะได้มีโอกาสชี้ให้เห็นถึงรูปแบบข้อมูลอันตราย สิ่งล่อแหลมยั่วยุต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมา

 

พ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องการปกป้องลูกหลายให้ปลอดภัย แต่การกีดกันการเข้าสู่โลกออนไลน์นั้นก็ไม่น่าที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในทางกลับกัน การให้การศึกษา สร้างความเข้าใจ สื่อสารข้อมูลต่างๆ น่าที่จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าเด็กๆ ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทันและปลอดภัยในระดับหนึ่งดมิทรี อะเลชิน รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ แคสเปอร์สกี้ แลป ให้ความเห็น การลงซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยเพื่อการป้องกันอีกชั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่พึงกระทำเช่นกัน การจำกัดการท่องโลกออนไลน์เป็นส่วนสำคัญ หากคุณอยู่กับพวกเขาตลอดเวลา แต่วิธีจะใช้ไม่ได้เลยถ้าเด็กๆ อยู่คนเดียว แต่เทคโนโลยีสามารถเป็นผู้ช่วยผู้ปกครองในการลดความเสี่ยงได้ เด็กๆ ยังได้ท่องโลกออนไลน์ สรรหาข้อมูล ความรู้ต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย และมีพัฒนาการทักษะดิจิทัลโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภัยคุกคามทางออนไลน์

 

Kaspersky Safe Kids ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นผู้ช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองในการเป็นเกราะป้องกันบุตรหลานจากอันตรายทางโลกออนไลน์ โซลูชั่นนี้มีฟีเจอร์ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกแอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ให้บุตรหลานของตนได้ หรือเตือนให้เด็กๆ รู้ว่าสิ่งใดไม่ปลอดภัยได้ด้วยตัวเอง ผ่านการเตือนว่าแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ที่เด็กๆ กำลังจะเข้าไปนั้นมีความเสี่ยงหรือตอนเท้นท์ที่ไม่ดีงาม เป็นต้น โซลูชั่น Safe Kids มีฟีเจอร์รองรับได้ตั้งแต่การกำหนดหรือจำกัดช่วงเวลา ไปจนกระทั่งติดตามเก็บข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เด็กๆ ดำเนินการเมื่อออนไลน์ และโซลูชั่น Safe Kids ยังสามารถจัดการดูแลป้องกันได้อีกหลายระดับขั้นตามความต้องการของผู้ปกครองเพื่อให้ความคุ้มครองบุตรหลานให้พ้นจากภัยคุกคามออนไลน์ที่มีอยู่ดาษดื่นและที่มาใหม่อีกมากมาย

 

  • ข้อมูลเกี่ยวกับโซลูชั่น Kaspersky Safe Kids เวอร์ชั่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายได้

https://www.kaspersky.com/safe-kids?redef=1&reseller=gl_acq-freekasp_leg_ona_oth__onl_b2c__lp-button_kl______

  • อ่านรายงานฉบับเต็ม การสำรวจความเสี่ยงของผู้บริโภคด้านความปลอดภัยปี 2017 : “Not logging on, but living on”

https://cdn.press.kaspersky.com/files/2017/11/4114_B2C_Report_2017_WEB.pdf?_ga=2.19715388.587194899.1517308386-525507166.1447406956

แคสเปอร์สกี้ แลป สุดปลื้ม หลังผู้นำกลุ่มโจรไซเบอร์ด้านการเงิน “Carbanak” ถูกจับ

เร็วๆ นี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้ร่วมมือกันจนสามารถจับกุมหัวหน้ากลุ่ม Carbanak ซึ่งใช้มัลแวร์ถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็ม ทำให้เกิดความเสียหายหลายพันล้านมาแล้วทั่วโลก

“ความสำเร็จล่าสุดในการต่อสู้กับกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ Carbanak นับเป็นข่าวที่ดีมากของวงการ และชี้ให้เห็นว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยให้ต่อกรกับภัยไซเบอร์ได้” เซอร์เจย์ โกโลวานอฟ นักวิจัยด้านความปลอดภัย ทีมวิเคราะห์และวิจัย แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว

Carbanak เป็นภัยคุกคามที่โจมตีแบบ APT (Advanced Persistent Threat) ใช้ทูลเล็งเป้าโจมตีเหยื่อที่เป็นสถาบันการเงินทั่วโลกโดยเฉพาะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการขโมยเงิน

 

Carbanak ถูกเปิดโปงขึ้นในปี 2015 โดยแคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับตำรวจสากล (INTERPOL) ตำรวจยุโรป (Europol) และหน่วยงานบังคับกฎหมายอื่นๆ ที่สืบสวนเหตุการณ์ในปี 2013 ร่วมกัน ในครั้งนั้น กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ใช้ทูลหลายอย่าง รวมถึงโปรแกรมที่ชื่อ Carbanak ในปี 2015 หลังจากที่แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศเรื่องการค้นพบนี้ กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ก็ได้ปรับเปลี่ยนทูลและใช้มัลแวร์ Cobalt-strike รวมถึงเปลี่ยนชื่อเซิร์ฟเวอร์และปรับปรุงโครงสร้างไอทีอีกด้วย

 

กลุ่มนี้ใช้เทคนิคโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง เช่น การส่งอีเมลฟิชชิ่งที่มีไฟล์แนบอันตรายไปยังพนักงานสถาบันการเงิน เมื่อคอมพิวเตอร์เหยื่อติดมัลแวร์แล้ว ผู้โจมตีจึงติดตั้งแบ็กดอร์ที่ออกแบบสำหรับการจารกรรม การขโมยข้อมูล และการจัดการระบบระยะไกล เพื่อสอดส่องดูธุรกรรมการเงิน

 

ในตอนที่ค้นพบกลุ่มนี้ นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ประเมินไว้ว่า กลุ่ม Carbanak น่าจะขโมยเงินไปแล้วมากถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยกลุ่มนี้ได้โจมตีธนาคาร ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ และสถาบันการเงินต่างๆ ไปมากกว่า 100 แห่ง ใน 30 ประเทศในทวีปยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือและใต้ และภูมิภาคอื่นๆ

 

ในปี 2016 แคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า มีกลุ่มอาชญากรไซเบอร์อีก 2 กลุ่ม ที่ทำงานคล้ายกับ Carbanak นั่นคือ Metel และ GCMAN ซึ่งโจมตีสถาบันการเงินโดยใช้มัลแวร์และแผนการร้ายสุดล้ำเพื่อขโมยเงินออกมา นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ใช้เทคนิคคล้ายกัน นั่นคือ Lazarus และ Silence

แคสเปอร์สกี้ แลป ชี้ผลวิจัย คู่รัก 21% สอดส่องผ่านช่องทางออนไลน์ หวังแก้แค้นอีกฝ่ายยามรักคุด

แนะทำข้อตกลงก่อนใช้บัญชีออนไลน์ร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคล

 

ดูจะเป็นการยากยิ่งขึ้นทุกวันๆ สำหรับบรรดาคู่รักทั้งหลายที่จะขีดเส้นความเป็นเธอกับฉัน และความเป็นส่วนตัว ในโลกที่เต็มไปด้วยออนไลน์แอ็คเคาท์และอุปกรณ์สื่อสารเชื่อมโยงกันได้เกือบทุกรูปแบบ เรื่องยุ่งยากจึงมาอยู่ที่ว่า หากคู่รักเหล่านี้เกิดรักคุด รักไม่เวิร์ก จนถึงขั้นเลิกรากัน แล้วจะทำอย่างไร? จากรายงานการวิจัยโดยแคสเปอร์สกี้ แลปร่วมกับบริษัทโทลูนา (Toluna) พบว่าผู้ใช้ 21% มักใช้ช่องทางสอดส่องติดตามความเคลื่อนไหวผ่านแอ็คเคาท์ที่เคยใช้ร่วมกัน แต่แฝงเจตนาหวังแก้แค้นหรือหาข้อมูลมาไว้กระแนะกระแหนคนรักใหม่ของอีกฝ่าย และนี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดจากความเสี่ยงของความเป็นส่วนตัวที่คู่รักสมัยใหม่ทั้งหลายควรต้องตระหนักไว้ให้ดี

 

ความเป็นส่วนตัวนั้นกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในโลกการใช้ชีวิตดิจิทัล และความสัมพันธ์ต่างๆ ของคนเราก็รวมอยู่ในนี้ด้วย เช่น 70% ของบรรดาคู่รักมักใช้พาสเวิร์ด เลขรหัสผ่าน หรือรอยพิมพ์นิ้วมือร่วมกันเพื่อเป็นรหัสในการใช้อุปกรณ์สื่อสารส่วนตัว และ 26% เก็บข้อมูลลับสุดส่วนตัวบางอย่างไว้บนอุปกรณ์ของคู่รักของตน เช่น ข้อความส่วนตัวบางอย่างที่สื่อสารหากันเฉพาะเราสองคน เป็นต้น และ (14%) ก็มักเก็บรูปภาพที่เฉพาะตัวสุดๆ (12%) หรือคลิปวิดีโอ (11%) นอกจากนี้ โดยทั่วไปก็จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแอ็คเคาท์ออนไลน์ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลด้านการเงิน (11%) หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการงาน (11%) เป็นต้น

 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คงไม่ใช่ประเด็นปัญหาเลยหากสัมพันธภาพความรักยังแน่นแฟ้นดีอยู่ และก็ถือได้ว่าข้อมูลอยู่ในมือของคนที่ไว้ใจได้ แต่ทั้งหมดนี้กลับเป็นประเด็นขึ้นมาเมื่อเลิกร้างกันนั่นเอง เมื่อสัมพันธภาพดูจะคลอนแคลนง่อนแง่น การแชร์ความทรงจำสุดส่วนตัวบนเครื่องที่ใช้ร่วมกันหรือข้อมูลออนไลน์แอ็คเคาท์ จากที่เป็นเรื่องธรรมดาของคนรักกันต้องแชร์กัน ก็เริ่มดำดิ่งสู่ฝันร้ายของความเป็นส่วนตัวของคุณนั่นเอง

 

สำหรับคนที่เคยผ่านประสบการณ์ฝันร้ายของการเลิกราเหล่านี้มาแล้ว พบว่า 12% ได้แชร์หรือต้องการที่จะแชร์ (เปิดโปง) ข้อมูลส่วนตัวของคนรักเก่าให้โลกได้รับรู้เป็นการแก้แค้น ส่วน 12% ได้ทำลายหรือต้องการทำลายอุปกรณ์ที่เคยร่วมกันนั้นให้สิ้นไป และ 21% แอบส่องคนรักเก่าผ่านทางแอ็คเคาท์ที่เคยเข้าได้ นอกจากนี้ ก็ยังอาจจะมีผลกระทบไปถึงด้านเงินๆ ทองๆ อีกด้วย การศึกษาข้อมูลชี้ว่า หนึ่งในสิบ (10%) ของคนที่เลิกรากันไปยอมรับว่าได้แอบใช้จ่ายเงินของคู่รักเก่าทางออนไลน์ด้วย

 

เป็นที่น่าสนใจไม่น้อยว่า มีความแตกต่างทางพฤติกรรมระหว่างหญิงชาย เพราะฝ่ายชายดูจะเป็นฝ่ายที่ปล่อยข้อมูลเพื่อแก้แค้นฝ่ายหญิงมากกว่า (17% vs 7%) และหาประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น (17% vs 8%) ในขณะที่ฝ่ายหญิงมีแนวโน้มที่จะเลือกทำในสิ่งที่ชอบธรรมมากกว่าด้วยการลบข้อมูลทิ้งจากเครื่องที่เคยใช้ร่วมกันไปเลย (55% vs 49%) รวมทั้งรูปภาพ คลิปวิดิโอหลังเลิกกันไป (56% vs 48%)

 

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายหญิงก็มักจะเป็นฝ่ายที่จะมีกลเม็ดลูกเล่นต่างๆ อยู่ไม่น้อย เช่น 33% ยอมรับว่าอาศัยโซเชียลเน็ตเวิร์ก คอยแอบส่องความเป็นไปของคนรักเก่า เทียบกับฝ่ายชายที่มีเพียง 28% ที่ทำแบบนี้

 

ทั้งนี้ การยุติความสัมพันธ์ต่อกันก็ไม่ควรที่ต้องกลายมาเป็นความเสี่ยงต่อข้อมูลลับส่วนบุคคลทั้งหลาย เราควรหมั่นเปลี่ยนพาสเวิร์ดเข้าแอ็คเคาท์ที่เคยแชร์กับคนรักเก่าอยู่เสมอ การใช้ Kaspersky Password Manager เพื่อช่วยจัดการพาสเวิร์ด ไม่ว่าจะเป็นสร้างพาสเวิร์ดที่ยากต่อการแกะและเก็บในที่ปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้น Kaspersky Total Security มีฟีเจอร์ File Shredder ซึ่งทำการลบไฟล์อย่างถาวร เช่น ไฟล์ที่คุณไม่ต้องการให้ใครเห็นอีกต่อไป ขณะที่ข้อความสุดส่วนตัวต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องแอนดรอยด์ก็สามารถอาศัยฟีเจอร์ Privacy Protection เพื่อซ่อนข้อความเหล่านั้นได้

 

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรดักส์ของแคสเปอร์สกี้ แลปว่าจะเข้ามาช่วยท่านได้อย่างไรแม้ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวของท่านให้อยู่ในร่องในรอย ได้ที่: https://www.kaspersky.com/home-security

แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย เปิดตัว Kaspersky 2018 แล้ววันนี้! โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ตามบ้าน มาพร้อมการปกป้องแบบมัลติดีไวซ์

ในยุค Household 2.0คือยุคที่ในบ้านประกอบด้วยอุปกรณ์ต่ออินเทอร์เน็ตเฉลี่ยจำนวน 6.3 ชิ้น

มีผู้พักอาศัย 2.4 คน และสัตว์เลี้ยงอีก 0.3 ตัวต่อครอบครัว!!

แคสเปอร์สกี้ แลป จึงขอนำเสนอโซลูชั่นเรือธงชั้นนำล้ำยุคสู่ตลาดไทย เพื่อปกป้องผู้บริโภค

 

โลกยุคที่รูปแบบความทันสมัยในครัวเรือนนั้นกำลังเปลี่ยนโฉมไปอีกครั้ง สู่รูปแบบที่เรียกว่า “บ้านพักอาศัย 2.0” ประกอบตัวเลขเฉลี่ยของผู้พักอาศัย 2.4 คน[1] มีสัตว์เลี้ยง 0.3 ตัว[2] และมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย 6.3 ชิ้น[3] ต่อครอบครัว แถมอุปกรณ์เหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อในชีวิตประจำวัน แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย ร่วมกับบริษัท ไอคอม เทค ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป อย่างเป็นทางการ จึงได้เปิดตัว Kaspersky Total Security 2018 และ Kaspersky Internet Security 2018 รวมถึงโซลูชั่นพื้นฐานอย่าง Kaspersky Anti-Virus 2018 ที่ได้รับการปรับยกสมรรถนะประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลอุปกรณ์ส่วนตัวในครัวเรือนเหล่านั้นได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 

จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2560 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่เกิดจากมัลแวร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้ถึง 2,947,918 เหตุการณ์ โดยรวมแล้ว มีผู้ใช้งานในประเทศไทยจำนวน 17.6% ที่ถูกโจมตีในช่วงเวลาดังกล่าว

คุณสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ตัวเลขสถิติของ KSN ข้างต้นนั้น ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นขณะท่องเว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ 33 ของโลก จากรูปแบบครัวเรือนในปัจจุบันนี้ พบว่ามีจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากกว่าสมาชิกครอบครัวและสัตว์เลี้ยงรวมกันเสียอีก และอุปกรณ์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในชีวิตประจำวันในบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้งานเพื่อรองรับทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อจับจ่ายซื้อของ หรือแชร์วิดีโอสมาชิกตัวน้อยในบ้าน การเชื่อมต่อเหล่านี้ย่อมพ่วงมากับความกังวลด้านความปลอดภัย แต่อัตราเสี่ยงในทุกวันนี้กลับเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ใช้ทั่วไปยังใช้อุปกรณ์โดยไม่มีการป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์กันเลย ไม่ว่าจะเป็นการเจาะระบบ มัลแวร์ การหลอกลวงการการเงิน และรูปแบบอื่นๆ”

 

คุณสเตฟาน กล่าวเสริมว่า ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security และ Kaspersky Internet Security รุ่นล่าสุด ได้รับการออกแบบให้ปกป้องการใช้งานภายในบ้านสมัยใหม่ ช่วยให้ผู้พักอาศัยสมาชิกในครัวเรือนมีศักยภาพที่จะดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และดูแลจังหวะการใช้ชีวิตดิจิทัลให้แก่ทุกคนในครอบครัว ให้เหมือนกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 


 

ยุคของบ้านพักอาศัย 2.0 คือยุคที่ทุกย่างก้าวคือชีวิตออนไลน์

ปัจจุบันพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในบ้านหนึ่งหลังมีอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นเชื่อมต่อออนไลน์ เกิดเป็นชั่วโมงออนไลน์จำนวนมาก และว่าผู้พักอาศัยในบ้านก็ใช้งานเว็บเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของโปรแกรมและเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย ในรายงานวิจัยประจำปีของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 63% ต่างกังวลใจกับอีเมลฟิชชิ่งและเว็บไซต์ปลอม และเพื่อตอบโจทย์ความกังวลนี้ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security มีเทคโนโลยีต่อต้านฟิชชิ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการตรวจจับและป้องกันผู้ใช้จากอีเมล์หลอกลวง และสแปมรวมถึงเว็บไซต์ปลอมและลวงข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงระบบ URL Advisor ในการดูแลการค้นหา URL ให้กับผู้ใช้เพื่อรู้ว่าเว็บไซต์ที่ค้นหานั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ มีพิรุธหรืออันตรายหรือว่าเป็นเว็บไซต์หลอกลวงหรืออาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับคอมพิวเตอร์อย่างไรหรือไม่ โดยจะแสดงให้เห็นได้ชัดในแต่ละลิ้งก์

 

บ้านคือสถานที่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลอันมีค่า

จากความหวาดกลัวเว็บไซต์ปลอมก่อให้เกิดความกังวลว่าการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจจะเป็นช่องทางให้สูญเสียข้อมูลที่อยู่ในบรรดาอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นในบ้านหลังหนึ่งๆ ได้ โดยข้อมูลที่สุดหวงแหนแห่งยุคคือ รูปภาพ ซึ่งในความจริงแล้ว จากการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า การสูญเสียภาพถ่ายดิจิทัลของหลายๆ คนทำให้เกิดความเครียดมากกว่าการเลิกคบเพื่อนหรือความเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงด้วยซ้ำไป

 

จากการที่ข้อมูลกลายเป็นของรักของทุกคนไปแล้ว พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าครึ่ง (56%) ต่างกังวลว่าข้อมูลของพวกเขานั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะโดนเรียกค่าไถ่ ซึ่งความกังวลนี้เกิดมากขึ้นหลังจากการโจมตีครั้งล่าสุดของ WannaCry และเพื่อช่วยให้ผู้พักอาศัยตามบ้านสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านยุค 2.0 ได้อย่างสงบสุข Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ได้เพิ่มความสามารถในการตรวจจับและป้องกันโปรแกรมเรียกค่าไถ่ ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อต่อกรได้แม้กระทั่งแรนซัมแวร์ที่ซับซ้อนมากที่สุด

 

ทุกครอบครัวต้องการเก็บความลับไว้กับตัวเอง แต่ในยุค “บ้านพักอาศัย 2.0” นั้น ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มักถูกคุกคามทางออนไลน์ ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะกังวลว่าข้อมูลอาจจะตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลบางส่วนที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน มีผู้ใช้ถึง 44% ไม่ต้องการให้คนอื่นเห็น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้จะมั่นคงปลอดภัยอยู่กับตัวเอง ด้วยความสามารถใหม่ในการล็อกการทำงานแอพพลิเคชั่นบนมือถือระบบแอนดรอยด์ จึงมีการเพิ่มระดับชั้นของการปกป้องด้วยรหัสลับให้กับผู้ใช้ได้กำหนดในแต่ละแอพพลิเคชั่น เช่น บริการรับส่งข้อความ เครือข่ายสังคม อีเมล หรือข้อมูลลับอื่นๆ ไม่ให้บุคคลอื่นเรียกใช้เข้าถึงได้ โดยที่ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติ Kaspersky Secure Connection service ที่มีอยู่ทั้งใน Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ที่จะช่วยในการเข้ารหัสข้อมูลที่รับและส่งบนเครือข่ายไร้สายที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยหรือบนเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงอีกชั้นหนึ่งด้วย

 

การใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็กๆ คือหัวใจที่ต้องดูแลป้องกันภายในครัวเรือน

แม้ว่าจะมีความกังวลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ “บ้านพักอาศัย 2.0” ยังนำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อสมาชิกในครอบครัวที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยผู้ใช้ 60% กังวลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน ว่าอาจเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ แคสเปอร์สกี้ แลป นำเอาระบบควบคุมการใช้งานโดยผู้ปกครอง (parental controls) ของแคสเปอร์สกี้ แลป มาบรรจุไว้ใน Kaspersky Total Security ล่าสุดนี้ด้วย ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตั้งช่วงเวลาใช้งานสำหรับอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่มีอยู่ในบ้าน รวมถึงกำหนดแอพพลิเคชั่นให้เด็กๆ ได้ใช้งาน รวมถึงป้องกันการเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ภาษาลามกอนาจาร หรือข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและอื่นๆ ทั้งหมดรวมอยู่แล้วในคุณสมบัติของบริการ Kaspersky Safe Kids

 

คุณเอเลน่า คาร์เชงโก้ หัวหน้าฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “อุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเราและครอบครัว ขยายขอบเขตการใช้งานทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ การสื่อสาร และได้เปิดช่องทางให้เกิดธุรกรรมได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ แถมยังช่วยให้ทุกคนดำเนินชีวิตได้ต่อเนื่อง และไม่น่าแปลกใจเลยว่าในยุคบ้านพักอาศัย 2.0 จะมีอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่าคนและสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในบ้านเสียอีก”

 

“แต่สิ่งที่เราพบจากการสำรวจนั้นชี้ว่า การเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาของเรานำมาซึ่งความกังวลโดยธรรมชาติในเรื่องความปลอดภัยออนไลน์ จากความกลัวที่จะตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง รวมถึงความกังวลในเรื่องการใช้งานออนไลน์ของเด็กๆ ที่อยู่ในบ้าน ซึ่งความกังวลเหล่านี้ได้ถูกตอบโจทย์ทั้งหมดอยู่แล้วในผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดของ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ซึ่งถือว่าเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่นำเสนอแนวทางที่ฉลาดที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลการใช้งานของทั้งครอบครัวในโลกของดิจิทัลโดยที่ไม่ขัดขวางการเปิดประสบการณ์บนโลกออนไลน์”

 

คุณสเตฟาน กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากที่สุดตลาดหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ แลป ติดอันดับหนึ่งในสามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและทรัพยากรบุคคลที่มีการศึกษา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจึงเป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้งานออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ขณะที่จำนวนผู้ใช้เพิ่มสูงขึ้น แต่ความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์กลับไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย”

 

ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security 2018, Kaspersky Internet Security 2018 และ Kaspersky Anti-Virus 2018 มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ทั่วประเทศ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าไอทีชั้นนำในราคาต่อไปนี้:-

  • Kaspersky Total Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 990 บาท
  • Kaspersky Total Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,780 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 690 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,380 บาท

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้การบริการด้านเทคนิค สามารถติดต่อศูนย์การบริการแคสเปอร์สกี้ไทย (iCom Tech Co. Ltd.) ได้ที่ 02-203-7500 หรือที่เว็บไซต์ www.thaikaspersky.com

###

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

ติดต่อข้อมูลประชาสัมพันธ์

ซานจีฟ แนร์

ฝ่ายการสื่อสารองค์กร แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

sanjeev.nair@kaspersky.com

Tel: +60 3 7962 5914

บูรณี จันทรปรรณิก, ณิชานันท์ ตู้จินดา

พิตอน คอมมิวนิเคชั่น

buranii@PITONbiz.com , nichanan@PITONbiz.com

Tel: 099-419-6324, 0-2954-2602-4

แคสเปอร์สกี้ แลป ชวนคนไทยประกวด Goondus Awards กระตุ้นความปลอดภัยในโลกอินเทอร์เน็ต

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวแคมเปญชื่อ “กูนดูส์ อวอร์ดส์” (Goondus Awards) สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ความรู้และกระจายความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต โดย “กูนดูส์ อวอร์ดส์” เปิดเชิญชวนให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่งเรื่องราวข้อผิดพลาดและการประพฤติตัวแบบผิดๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงหรือทรัพย์สินเงินทอง โดยจะไม่เปิดเผยชื่อจริงเมื่อแบ่งปันประสบการณ์แก่สาธารณชน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราต้องการให้ความรู้แก่ผู้ใช้เรื่องพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหาย บางเรื่องอาจฟังแล้วตลกขบขัน ฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริง และในหลายๆ เคสก็สร้างความเสียหายได้มาก เราหวังว่าการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อจะช่วยกระตุ้นเตือนและสร้างแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต”

“กูนดูส์ อวอร์ดส์” จะเผยแพร่เรื่องราวหลากหลายแง่มุมที่มีผู้ใช้พบเจอมาแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นความตระหนักรู้เรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ระหว่างเพื่อนสองคนที่ใช้บัตรเติมเงิน iTune ที่ตกเป็นเหยื่อกลโกงโจรขโมยตัวตนหลอกให้เพื่อนเติมเงินให้โดยที่เจ้าของบัตรตัวจริงไม่เคยขอให้ทำ ซึ่งเหตุการณ์นี้ จะช่วยทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ได้รู้ว่า โจรขโมยตัวตนไม่ใช่เรื่องไกลตัว และอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินทองอีกด้วย

 

ผู้สนใจสามารถส่งเรื่องเข้าประกวดได้ที่เว็บไซต์ http://goondusawards.com เพียงกรอกข้อมูลชื่อ อีเมลแอดเดรส หมายเลขโทรศัพท์ ประเภทของเรื่อง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดของเหตุการณ์

หลักเกณฑ์การส่งเรื่องเข้าประกวดคือ ต้องเป็นเหตุการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจริงและทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเป็น 1) iPad 3 Mini 2) Samsung Tablet 3) Jays earphones พร้อมด้วยรางวัลพิเศษในแต่ละเดือนเป็นกระเช้าของพรีเมี่ยมจากแคสเปอร์สกี้ แลป

 

นอกจากการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อผู้ใช้แล้ว ในเว็บไซต์ยังมีข้อมูลเกร็ดความรู้เรื่องกลโกงประเภทต่างๆ เพื่อแนะนำผู้ใช้ว่าควรป้องกันตัวเองจากเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไรอีกด้วย

 

จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่า ผู้ใช้ทุกช่วงวัยประสบภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2558 ในส่วนของปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าผู้ใช้พบปัญหาอีเมลสแปมหรืออีเมลขยะ 13% (10.8% ในปี 2558) ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร 12.1% (8.4%) ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ 8.9% (8.8%) ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว 3.2% (2.0%) และถูกหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ต 1.5% (1.2%) และแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล นั่นคือ ความล่าช้าในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (70.3%) และโฆษณาที่มารบกวน (50.7%) แต่สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ผู้ใช้ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร1

 

###

 

1รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2016-th.html

 

###

 

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com