เป็นที่ทราบกันดีว่า การใช้พลังงานเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศในภูมิภาคนี้ ความต้องการพลังงานสูงสุดมาพร้อมจากการก่อสร้างอาคาร การคมนาคม และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องพึ่งแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ภาครัฐนั้นนับเป็นหน่วยงานสำคัญในการวางกฎระเบียบและเครื่องมือทางการเงินเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ภาคธุรกิจเป็นฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างการดำเนินงาน หากเรามุ่งหวังให้เกิดมาตรการจำเป็นในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เราจำเป็นจะต้องกระตุ้นให้อาเซียนก้าวกระโดดไปสู่การผสมผสานการใช้พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
การรักษาอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นให้ต่ำกว่าระดับที่กำหนด 2 องศาเซลเซียส ในทางเทคนิคแล้วนั้นสามารถทำได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แต่ การคมนาคม การก่อสร้าง อุตสาหกรรม และพลังงาน ในการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจและใช้แนวปฏิบัติที่ได้ผลดีที่สุด
ในงานสัมมนาเพื่อความยั่งยืน งาน “Multi-Chamber Sustainability For Business Forum 2019 (SBF19)” ที่จัดโดยหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย (FTCC) ร่วมมือกับหอการค้าเนเธอร์แลนด์-ไทย และหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ องค์การมหาชน (สสปน.) ผู้เข้าร่วมงานจะได้พบกับผู้ประกอบการธุรกิจหลากหลายสาขาที่ประสบความสำเร็จและทรงอิทธิพลในการสร้างแรงบันดาลใจ ที่จะมานำเสนอและแบ่งปันข้อมูล นวัตกรรม กลยุทธ์ทางธุรกิจ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่น่าสนใจ และเทรนด์ล่าสุดด้านการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ โดยวิทยากรและผู้บรรยายทุกท่านจะร่วมกันส่งต่อแนวคิดอันเฉียบคมในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน เพื่อผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในองค์กร อีกทั้งสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้กับบริษัท ไปจนถึงเพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจ
หนึ่งในหัวข้อการอภิปรายที่น่าสนใจและเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของงานนี้ คือ “Green Energy Transition” ซึ่งมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายอูโก ซีกฟรีด เบอร์นาล (Mr. Ugo Siegfried Bernal) Senior Business Manager บริษัท Symbior Solar ผู้ออกแบบและให้บริการเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการใช้ก๊าซและถ่านหิน นายไฮน์ โอมอง (Mr. Hein Oomen) Head of Asia-Pacific บริษัท ENGIE Solar ผู้ผลิตพลังงานใหญ่ที่สุดในโลก มีอัตราการผลิตเต็มกำลังการผลิตติดตั้งที่ 103 กิกะวัตต์ และนางสาวอนุลักษณ์ จั่นยาว EHS supervisor บริษัท บริษัทเอสไอจี คอมบิบล็อค ประเทศไทย เจ้าของเกียรติบัตรฉลากทองลดโลกร้อน ในฐานะผู้ประกอบการแบบอย่างที่ดีจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยเนื้อหาจะมุ่งเน้นที่การนำเสนอและแบ่งปันกลยุทธ์และวิธีดำเนินการในการปรับเปลี่ยนเป็นบริษัทพลังงานสีเขียวในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อหลักอีก 4 หัวข้อที่นำมาอภิปรายภายในงาน คือ มลภาวะและของเสีย (Pollution& Waste) การศึกษาในที่ทำงาน (Education at the Workplace) สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Health & Well Being) และการทำการตลาดจากจัดงานอย่างยั่งยืน (Marketing)
นายอองรี เดอเรอบุล ประธานคณะทำงานร่วมระหว่างหอการค้าต่างประเทศด้านความยั่งยืน (Multi-Chamber Sustainability Committee) กล่าวว่า “ปัจจุบันในภูมิภาคอาเซียนนั้นมีโครงการล้ำหน้ามากมายที่พยายามพัฒนานวัตกรรม ระบบ และเทคโนโลยีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อการใช้พลังงานที่ไม่ผลิตคาร์บอน การกระจายข้อมูล และการปรับระบบทำงานของตลาดพลังงานสู่ระบบดิจิทัล (Decarbonize, Decentralize and Digitalize) ซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เราขอเชิญชวนองค์กรที่มีบทบาทหลักในวงการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยกันพัฒนาระบบการจัดเก็บแบตเตอรี่ พลังงานทางเลือก การผลิตพลังงานหมุนเวียน ระบบการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน และเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เป็นต้น”
หลากหลายคำถามที่ท่านต้องการคำตอบ โซลูชั่นสำหรับตลาดพลังงานคืออะไร สามารถนำมาใช้ในภูมิภาคอาเซียนเพื่อผลักดันการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานได้อย่างไร เราจะเร่งให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียวได้อย่างไร ภาคธุรกิจหลักจะมีส่วนในการปรับเปลี่ยนและสังคมคาร์บอนต่ำอย่างไร ท่านสามารถพบคำตอบได้ที่งาน “Multi-Chamber Sustainability for Business Forum 2019” จะจัดขึ้นวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมเมอเว่นพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพฯ ถนนวิทยุ
ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่