แคสเปอร์สกี้ แลป เตือนภัยช่วงเทศกาล โจรไซเบอร์อาศัยช่องโหว่ DDoS และ POS ฉกเงินร้านค้า

จากรายงานของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง IT Security Economics Report พบว่า บริษัทมากกว่า 77% ได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา การโจมตีระบบ DDoS และ POS ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ยิ่งเสียหายหนักขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในช่วงสินค้าลดราคาสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่มีผู้คนออกมาเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกมากกว่าปกติ และยอดขายร้านที่สูงขึ้น ทำให้ตกเป็นเป้าล่อตาล่อใจของโจรไซเบอร์เลยทีเดียว

 

การค้นคว้าวิจัยแสดงผลว่าในปีที่ผ่านมามีการโจมตี DDoS และช่องโหว่ของระบบขายหน้าร้าน (POS system) ที่ระบาดหนักเพิ่มสูงถึง 16% ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นว่าโจรไซเบอร์วางแผนรอช่วงเทศกาลนี้โดยเฉพาะ

 

ในปี 2017 นี้ มีการรายงานการรุกล้ำระบบความปลอดภัยไซเบอร์ระดับสูงในระบบการจ่ายเงินของแบรนด์ใหญ่ๆ มากมาย ได้แก่ Chipotle, Hyatt Hotels และ Forever 21 และจากรายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง DDoS Intelligence Report ก็พบการโจมตี Botnet DDoS ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่ระบาดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งมีเป้าหมายการโจมตีประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวนมากถึง 98 ประเทศ (เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 มี 82 ประเทศ)

 

รูปการณ์นี้มีความเกี่ยวโยงกับร้านค้าปลีกและบริษัทอีคอมเมิร์ซอย่างมากในช่วงเทศกาลลดราคาสินค้าคริสต์มาสและปีใหม่ โดยร้านค้าจะมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นเพราะนักช้อปออกมาเลือกซื้อของมากนั่นเอง สิ่งที่โจรไซเบอร์ทำได้จากการโจมตี DDos อาจเป็นการเรียกค่าไถ่ การใช้ระบบขายหน้าร้านเพื่อเลือกเหยื่อโจมตี รวมถึงการขโมยเงินและข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าด้วย

 

อาเลซซิโอ เอซติ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “แคสเปอร์สกี้ แลป พบจำนวนการโจมตีลักษณะนี้เพิ่มขึ้นสูงมาก เราขอแนะนำให้ธุรกิจและร้านค้าปลีกตื่นตัวอยู่เสมอในช่วงเทศกาล เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่โจรไซเบอร์จะขโมยเงินผ่านการเอ็กพลอต์ในระบบจ่ายเงินหรือจากการโจมตีโดยใช้ DDoS นอกจากนี้อาจเรียกค่าไถ่หรือขัดขวางการซื้อขาย ทำให้บริษัทสูญเสียรายได้และเสียลูกค้าได้ นอกจากเหตุผลเพื่อป้องกันภัยที่กำลังระบาดนี้ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยไซเบอร์ก็เป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทต้องลงทุนอย่างสม่ำเสมอ”

 

ร้านค้าปลีกและบริษัทอีคอมเมิร์ซสามารถป้องกันตัวเองได้โดยใช้โซลูชั่นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้ในช่วงเทศกาล แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำร้านค้าปลีกเพิ่มเติมดังนี้

  • อัพเดทแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างสม่ำเสมอ เพราะในการอัพเดทแต่ละครั้งอาจมีแพทช์ที่สำคัญเพื่ออุดช่องโหว่ของระบบให้ปลอดภัยจากโจรไซเบอร์
  • เครื่อง POS ควรใช้งานซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นล่าสุด และไม่ใช้พาสเวิร์ดที่ตั้งค่ามาตั้งแต่เริ่มต้น
  • ใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ อย่างเช่น Kaspersky Embedded Systems Security เพื่อปกป้องเครื่อง POS จากมัลแวร์
  • เตรียมรับมือต่อการโจมตี DDoS โดยเลือกเซอร์วิสโพรไวเดอร์ที่น่าเชื่อถือ มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ การป้องกันทางไซเบอร์ไม่สามารถใช้แค่ทรัพยากรภายในองค์กรหรือบริการของอินเทอร์เน็ตโพรไวเดอร์ได้ทุกครั้ง
  • ให้ข้อมูลความรู้แก่ลูกค้าเรื่องภัยคุกคามไซเบอร์ที่อาจพบได้เมื่อช้อปปิ้งหน้าร้านและออนไลน์ รวมถึงแนะนำขั้นตอนการลดความเสี่ยงต่างๆ

 

ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  • รายงานของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง IT Security Economics Report

https://calculator.kaspersky.com/en/?utm_medium=pr_press

  • ข้อมูล Kaspersky DDoS Protection สำหรับธุรกิจ SMBs และเอ็นเทอร์ไพรซ์

https://retail.kaspersky.com/?utm_medium=pr_press

 

แคสเปอร์สกี้ แลป ชวนคนไทยประกวด Goondus Awards กระตุ้นความปลอดภัยในโลกอินเทอร์เน็ต

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวแคมเปญชื่อ “กูนดูส์ อวอร์ดส์” (Goondus Awards) สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ความรู้และกระจายความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต โดย “กูนดูส์ อวอร์ดส์” เปิดเชิญชวนให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่งเรื่องราวข้อผิดพลาดและการประพฤติตัวแบบผิดๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงหรือทรัพย์สินเงินทอง โดยจะไม่เปิดเผยชื่อจริงเมื่อแบ่งปันประสบการณ์แก่สาธารณชน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราต้องการให้ความรู้แก่ผู้ใช้เรื่องพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหาย บางเรื่องอาจฟังแล้วตลกขบขัน ฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริง และในหลายๆ เคสก็สร้างความเสียหายได้มาก เราหวังว่าการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อจะช่วยกระตุ้นเตือนและสร้างแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต”

“กูนดูส์ อวอร์ดส์” จะเผยแพร่เรื่องราวหลากหลายแง่มุมที่มีผู้ใช้พบเจอมาแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นความตระหนักรู้เรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ระหว่างเพื่อนสองคนที่ใช้บัตรเติมเงิน iTune ที่ตกเป็นเหยื่อกลโกงโจรขโมยตัวตนหลอกให้เพื่อนเติมเงินให้โดยที่เจ้าของบัตรตัวจริงไม่เคยขอให้ทำ ซึ่งเหตุการณ์นี้ จะช่วยทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ได้รู้ว่า โจรขโมยตัวตนไม่ใช่เรื่องไกลตัว และอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินทองอีกด้วย

 

ผู้สนใจสามารถส่งเรื่องเข้าประกวดได้ที่เว็บไซต์ http://goondusawards.com เพียงกรอกข้อมูลชื่อ อีเมลแอดเดรส หมายเลขโทรศัพท์ ประเภทของเรื่อง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดของเหตุการณ์

หลักเกณฑ์การส่งเรื่องเข้าประกวดคือ ต้องเป็นเหตุการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจริงและทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเป็น 1) iPad 3 Mini 2) Samsung Tablet 3) Jays earphones พร้อมด้วยรางวัลพิเศษในแต่ละเดือนเป็นกระเช้าของพรีเมี่ยมจากแคสเปอร์สกี้ แลป

 

นอกจากการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อผู้ใช้แล้ว ในเว็บไซต์ยังมีข้อมูลเกร็ดความรู้เรื่องกลโกงประเภทต่างๆ เพื่อแนะนำผู้ใช้ว่าควรป้องกันตัวเองจากเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไรอีกด้วย

 

จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่า ผู้ใช้ทุกช่วงวัยประสบภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2558 ในส่วนของปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าผู้ใช้พบปัญหาอีเมลสแปมหรืออีเมลขยะ 13% (10.8% ในปี 2558) ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร 12.1% (8.4%) ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ 8.9% (8.8%) ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว 3.2% (2.0%) และถูกหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ต 1.5% (1.2%) และแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล นั่นคือ ความล่าช้าในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (70.3%) และโฆษณาที่มารบกวน (50.7%) แต่สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ผู้ใช้ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร1

 

###

 

1รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2016-th.html

 

###

 

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

เปิดตัว Kaspersky IoT Scanner โซลูชั่นปกป้องไอโอทีดีไวซ์ ดาวน์โหลดฟรี เชื่อมต่อปลอดภัย

 

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวเบต้าเวอร์ชั่นของโซลูชั่นเพื่อป้องกัน สมาร์ทโฮม” หรือบ้านอัจฉริยะ และ Internet of Things ในชื่อ “Kaspersky IoT Scanner” แอพพลิเคชั่นนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทำงานบนแอนดรอยด์แพลตฟอร์ม สามารถสแกนระบบไวไฟที่ใช้งานที่บ้าน แจ้งเตือนเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาเชื่อมต่อกับไวไฟ และระดับของความปลอดภัย

 

ขณะที่ Internet of Things กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาชญากรไซเบอร์ก็กำลังมองหาวิธีการช่องทางหาประโยชน์จากเทรนด์ที่เติบโตนี้ด้วยเหมือนกัน แทนที่จะทำให้ชีวิตของผู้บริโภคสมาร์ทดีไวซ์ง่ายขึ้น กลับกลายมาเป็นช่องโหว่ในด้านซีเคียวริตี้ที่น่าเป็นห่วงขึ้นทุกวัน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราได้พบเห็นดีไวซ์มากมายหลายประเภทที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แล้วก็กลายเป็นเหยื่อโดนแฮ็ก ช่องโหว่ที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุดมาจากซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการต่อกับเว็บนี่เอง ทั้งๆ ที่ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่แล้ว จุดที่เป็นช่องโหว่ได้นั้นมีตั้งแต่ baby monitors ไปจนกระทั่ง เครื่องปรับอากาศ หรือรถยนต์ น่าเศร้าว่า เมื่อมีสิ่งใดเชื่อมต่อกับเว็บได้ ก็เป็นอันว่ามีโอกาสตกเป็นเหยื่อโดนแฮ็กได้เสมอ แถมยังมี IoT search engines มาคอยเปิดโอกาสให้เป็นเหยื่อเพลี่ยงพล้ำได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก”

จากการวิเคราะห์ของ การ์ตเนอร์ พบว่ามีอุปกรณ์ IoT มากกว่าหกพันล้านเครื่องที่กำลังใช้งานอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ และหลายเครื่องก็ได้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรไซเบอร์ไปเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่าง เมื่อปีที่แล้ว ทั้งโลกสั่นคลอนกับคลื่นการโจมตี DDoS attacks ที่มาจากฝีมือ Mirai botnet ที่ใช้ช้องโหว่ยอดนิยมในอุปกรณ์ IoT ในการแพร่กระจายเชื้อ และจับเหยื่อมาเป็นหุ่นเชิดของตน แคสเปอร์สกี้ แลป ได้พัฒนาโซลูชั่นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงเช่นนี้ลง ตอนนี้ยังเป็นเบต้าเวอร์ชั่น แต่ก็ขอแนะนำให้บรรดาผู้ใช้ IoT ทั้งหลายนำมาใช้เพื่อเป็นการป้องกันอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านสมาร์ทโฮมของตน และแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับศักยภาพ ความสามารถ สมรรถนะในการใช้งานโซลูชั่นที่เรียกว่า Kaspersky IoT Scanner นี่ด้วย

 

Kaspersky IoT Scanner จะระบุสมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกับไวไฟเร้าเตอร์โดยอัตโนมัติ รวมไปถึง ไอพีคาเมร่า (IP cameras) สมาร์ททีวี เครื่องพิมพ์ต่อผ่านไวไฟ อุปกรณ์เก็บข้อมูลบน NAS มีเดียเซิร์ฟเวอร์ และเกมคอนโซล รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ที่อยู่ในวงเครือข่ายในบ้านของเรา โซลูชั่นจะ “จดจำ” อุปกรณ์เหล่านี้ไว้ และแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เมื่อใดก็ตามที่มีอุปกรณ์ใหม่หรือที่ใช้ปกติมาต่อเชื่อม หรือปลดการต่อเชื่อม ทำให้ผู้ใช้งานล่วงรู้อยู่เสมอถึงสถานะความเป็นไปว่ามีใคร อะไรมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายบ้านของตนบ้าง

 

โซลูชั่นสแกนอุปกรณ์หาช่องโหว่ ตัวอย่าง หากพอร์ตต่อเชื่อมถูกเปิดอยู่ (ย่อมหมายถึงใครก็ตามที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะต่อเข้ามาได้) โซลูชั่นแจ้งเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับสถานะนั้น และแนะนำให้ทำการปิดพอร์ตในทันที นอกจากนี้ Kaspersky IoT Scanner แจ้งผู้ใช้เกี่ยวกับปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพาสเวิร์ดรหัสผ่านของตัวไวไฟเร้าเตอร์ Telnet หรือ SSH ด้วย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกัน การเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะผ่านทางอุปกรณ์ IoT ที่ต่ออยู่ชิ้นใดก็ตาม ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการตั้งพาสเวิร์ดรหัสผ่านที่ไม่แข็งแกร่งนั่นเอง

อังเดรย์ โมโกล่า หัวหน้าฝ่ายธุรกิจผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า ปรัชญาความมุ่งมั่นของแคสเปอร์สกี้ แลป คือปกป้องโลกใบนี้ให้พ้นจากภัยไซเบอร์ และนี่มิใช่เป็นเพียงลมปากเท่านั้น เพราะเราทำงานหนักทุกวันเพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่ที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานของเรา คลังอาวุธของเรานั้นประกอบด้วยโซลูชั่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานหลากหลายตัว รองรับการทำงานหลากหลายรูปแบบและหลากหลายแพลตฟอร์ม และ โซลูชั่น Kaspersky IoT Scanner นี้ก็เป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นที่จะช่วยให้ประชากรเน็ตจำนวนหนึ่ง หรือเรียกว่า ผู้ใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ทั้งหลาย สามารถใช้งานได้อย่างมีเกราะป้องกันตัว

 

สามารถดาวน์โหลด Kaspersky IoT Scanner เวอร์ชั่นเบต้าสำหรับการทดสอบได้จาก Google Play ในภาษาอังกฤษและรัสเซีย ได้ที่ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.kaspersky.iot.scanner