เพิ่มพูนความรู้ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน เรียนภาษาอังกฤษแบบสนุก ๆ ฟรีกับแอป Cake

ในช่วงนี้ที่สถานการณ์วิกฤตจากพิษโควิด-19 ถ้าเบื่อจากการกักตัวอยู่บ้าน เรามาหากิจกรรมน่าสนใจทำ อย่างการเรียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชันกันดีกว่า เพราะนอกจากเป็นการใช้เวลาไม่ให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังทำได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา แถมสนุกอีกด้วย !

 

แอปพลิเคชัน Cake ที่เปิดตัวเวอร์ชันภาษาไทยไปเมื่อปีที่แล้ว เป็นแอปเรียนภาษาอังกฤษฟรีจากวิดีโอสนุก ๆ ที่มีเนื้อหาอัปเดตใหม่ทุกวัน ทำให้รู้สึกไม่ซ้ำซากจำเจ ซึ่งการเรียนผ่านคลิปวิดีโอบน Youtube เราจะได้เรียนรู้ทั้งการใช้ประโยค  สำนวนและวลีต่าง ๆ จากสถานการณ์จริง! 

Cake มีหลายโหมดให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นโหมดเรียนภาษาอังกฤษจากวิดีโอสั้น ๆ  โหมดพูดที่จะได้เรียนไวยากรณ์ คำศัพท์และบทสนทนาต่าง ๆ และล่าสุด Cake เพิ่งเปิดตัวเนื้อหาใหม่ – บทสนทนาประจำวัน ที่คัดสรรประโยคเด็ด ๆ ให้นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยอัปเดตเนื้อหาใหม่ ๆ ทุกวันให้เรียนกันได้อย่างไม่มีเบื่อ แถมผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบสำเนียงของตัวเองกับ AI เพื่อจะได้ไว้ฝึกออกเสียงให้เป๊ะราวกับเจ้าของภาษากันเลยทีเดียว

 

และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาแอป Cake ได้จัดกิจกรรมดี ๆ อย่าง Cake – Weekly Challenge ให้ผู้ใช้บริการได้ร่วมสนุกและลุ้นชิงรางวัลเงินสดสัปดาห์ละ 1,000 ดอลลาร์ โดยมีผู้เล่นจากทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นจำนวนมาก

แอป Cake ยังมีเนื้อหาดี ๆ ภาษาอังกฤษสนุก ๆ อีกมากมายที่จะแบ่งปันกับผู้ใช้ รวมถึงกิจกรรมดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตรอทุกคนอยู่ คุณสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ Cake ได้ที่ https://www.facebook.com/cakeapp.global/ หรือสามารถค้นหาคำว่า “Cake English” บน Play Store หรือ App Store และดาวน์โหลดได้เลย ฟรี 100% หรือดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้ https://mycake.me/?locale=en

Mellanox Technologies นำเสนอโซลูชั่นระบบความปลอดภัยอนาคต และการเร่งประสิทธิภาพคลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์

เปิดตัวเวิร์กช้อปการอบรมความรู้ใหม่ภายใต้ชื่อ “What Just happened” ในการช่วยผู้ดูแลระบบสามารถตรวจพบปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่ายได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาใหญ่จนส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานในระบบ

 

Mellanox Technologies เมลลาน็อกซ์ เทคโนโลยีส์ผู้นำด้านโซลูชั่นอัจฉริยะประสิทธิภาพสูงแบบ End-to-End สำหรับการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ ประกาศเปิดตัวหลักสูตรการเรียนรู้ในประเทศไทยภายใต้ชื่อ “What Just Happened” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและจัดการระบบเครือข่ายในประเทศไทยได้มีความเข้าใจ และสามารถระบุชี้ปัญหาในการทำงานของระบบเครือข่าย หรือแอพพลิเคชั่นได้ก่อนส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานในองค์กร ทั้งนี้ เมลลาน็อกซ์ เทคโนโลยีส์ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้นที่โรงแรมไอบิสสไตล์บางกอกรัชดา โดยร่วมมือกับ Agile Distribution (Thailand) ผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (VAR) ของเมลลาน็อกซ์ในประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากตัวแทนจากหลายภาคส่วนอุตสาหกรรมในประเทศไทยเข้าร่วมสัมมนา

 

โซลูชั่นการเชื่อมต่ออัจฉริยะของเมลลาน็อกซ์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูลด้วยการรองรับปริมาณงานสูงสุด ลดความหน่วงแฝง เพิ่มความเร็วการส่งข้อมูลสื่อสารกับแอพพลิเคชั่น  ปลดล็อคประสิทธิภาพให้ระบบ และยกระดับความปลอดภัย  ทั้งนี้เมลลาน็อกซ์เสนอทางเลือกที่ครอบคลุมการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นนระบบเครือข่าย  ระบบประมวลผลหลายแกน  เน็ตเวิร์ดอะแดปเตอร์  อุปกรณ์สวิตช์  สายเคเบิ้ล  ไปจนถึงซอฟท์แวร์และระบบซิลิคอน เพื่อช่วยเร่งการทำงานของแอพพลิเคชั่นและผลลัพธ์ธุรกิจที่แตกต่างกัน  รวมถึงคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (HPC) ศูนย์ข้อมูล  ระบบคลาวด์  ระบบสตอเรจ  ระบบความปลอดภัยไซเบอร์  ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และบริการการเงิน

 

อีกทั้ง ภายใต้สถานการณ์ที่ระบบเครือข่ายล่ม หรือทำงานช้าลง  เมลลาน็อกซ์มีโซลูชั่นให้ผู้ดูแลและผู้จัดการระบบเครือข่ายตรวจสอบกิจกรรมเครือข่าย และวัดการตอบสนองของแอพพลิเคชั่น เพื่อระบุจุดและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาต่อระบบเครือข่ายหรือแอพพลิเคชั่นได้ก่อนส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานทั้งองค์กร โซลูชันที่ทำงานเฝ้าระวังและสอดส่องระบบเครือข่ายแบบเรียลไทม์จะสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายในการวิเคราะห์ว่า “เกิดอะไรขึ้นกับเครือข่าย” และสามารถอธิบายต่อผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลกระทบได้ทันที ไม่เสียเวลาในการตรวจสอบเหมือนในอดีต

 

สำหรับหลักสูตรการอบรมในครั้งนี้ นอกจากฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการระบุปัญหาเครือข่ายหรือการทำงานแอพพลิเคชั่นแล้ว ยังนำเสนอทิศทางแนวโน้มของการใช้งานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความทันสมัย  และแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ จากลูกค้า รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบระยะไกล (telemetry) ในการจัดการระบบเครือข่ายอัตโนมัติยุคใหม่ และยังได้นำเสนอเทคโนโลยีระดับผู้นำของเมลลาน็อกซ์ในอุปกรณ์ที่เรียกว่า SmartNIC (NIC คือ การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งทำหน้าที่ลดภาระการทำงานของระบบประมวลผลหลัก) และนำเสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบเครือข่าย

 

“ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับเมลลาน็อกซ์  นับเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในระดับภูมิภาคและระดับโลกของบริษัท  ดังจะสะท้อนให้เห็นในความมุ่งมั่นตั้งใจของบริษัทที่จะเพิ่มการลงทุนที่นี่ ซึ่งเมลลาน็อกซ์ตื่นเต้นอย่างยิ่งที่จะได้เป็นส่วนหนึ่ง และนำความเชี่ยวชาญและความรู้ของเรามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ศูนย์ข้อมูลของลูกค้า และยังทำให้คู่ค้าในประเทศไทยของเมลลาน็อกซ์เติบโตไปพร้อมกัน” มร. ชาร์ลี ฟู รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เมลลาน็อกซ์กล่าวและได้เสริมว่า “การถือกำเนิดของนวัตกรรมใหม่ เช่น 5G, ระบบออโตเมชั่น, การเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์  (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ล้วนเป็นความท้าทายในการออกแบบระบบเครือข่ายและประสิทธิภาพการทำงานของระบบคลาวด์อย่างไม่ต้องสงสัย เมลลาน็อกซ์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าในไทยเพื่อให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลรุ่นต่อไป เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน และปลดล็อกเพื่อก้าวออกสู่โอกาสใหม่ๆ ไปกับลูกค้าของพวกเขา”

 

ข้อมูลของไอดีซีระบุว่าภายในปีพ.ศ. 2565 ร้อยละ 61 ของ GDP ของประเทศไทยจะถูกทำให้เป็นดิจิทัล ทุกอุตสาหกรรมจะมีการเติบโตอันมาจากแรงขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับการส่งเสริมทางดิจิทัล การดำเนินการและปฎิสัมพันธ์ สร้างให้เกิดตัวเลขการใช้จ่ายสินค้ากลุ่มที่เกี่ยวข้องกับไอทีถึง 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปีพ.ศ. 2562-2565  โดยคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2565 นั้น ร้อยละ 60 ของรายจ่ายด้านไอทีจะถูกใช้จ่ายไปกับเทคโนโลยีที่อยู่บนแพลตฟอร์มยุคที่ 3 นี้ โดยที่มากกว่าร้อยละ 30 ขององค์กรทั้งหมดจะเดินหน้าสร้างสิ่งที่เรียกว่า “Digital-native” ให้กับระบบไอทีให้พร้อมรับการระบบเศรษฐกิจยุคดิจิทัล และในบริบทที่สอดคล้องกันจะมีองค์กรในไทยอีกราวร้อยละ 20 ที่ยังคงมีการใช้งานระบบคลาวด์จะรวมเทคโนโลยีอย่าง Edge Computing เข้าไว้ด้วย อีกร้อยละ 25 ที่ใช้งานอุปกรณ์ปลายทาง (endpoint devices) และระบบจะต้องหันมารองรับการนำเอาระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้งาน

แคสเปอร์สกี้ เผยภัยร้ายไซเบอร์เริ่มคุกคามวงการแพทย์ใน APAC

ในงานประชุมประจำปี Cybersecurity Weekend ครั้งที่ 5 ที่รวมนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารระดับสูงจาก 12 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้เปิดเผยว่า บริษัทกำลังจับตามองภัยไซเบอร์ที่คุกคามวงการแพทย์พร้อมเผยสถานการณ์ภัยไซเบอร์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

นายสเตฟาน นิวไมเยอร์ กรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ดาต้ากำลังป่วย บันทึกความลับทางการแพทย์กำลังถูกรุกล้ำ ดีไวซ์ขั้นสูงกำลังเปลี่ยนมนุษย์ให้มีส่วนของร่างกายที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ แนวคิดต่างๆ นี้ได้ก้าวข้ามเส้นแบ่งระหว่างนิยายและความจริงไปเสียแล้ว ตอนนี้มันคือความจริง เกิดขึ้นจริงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก กระแส digitalisation ที่มาถึงภาคสาธารณสุขอย่างรวดเร็ว ทำให้อาชญากรไซเบอร์กำลังมองหาช่องทางเพิ่มเพื่อเข้าโจมตี ซึ่งต้องยอมรับว่า หน่วยงานทางการแพทย์ยังไม่พร้อมรับมือกับภัยออนไลน์รูปแบบนี้”

 

การโจมตีโรงพยาบาลและอุปกรณ์การแพทย์เกิดขึ้นแล้วทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่ก้าวหน้าในฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีหลังๆ มานี้พบภัยคุกคามที่รุกล้ำมายังฝั่งเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น มีรายงานคาดการณ์ว่า วงการแพทย์ในภูมิภาคนี้สามารถประสบเหตุโจมตีทางไซเบอร์และสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 23.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

ประเทศสิงคโปร์ซึ่งถูกจัดให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจและภูมิภาคของเอเชียได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์องค์กรทางการแพทย์ถูกรุกล้ำข้อมูลรวม 4 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน เหตุการณ์หนึ่งในนั้นเกี่ยวข้องกับข้อมูลการแพทย์ของนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมีแรนซัมแวร์วอนนาคราย (Wannacry) ที่โจมตีหน่วยงานการแพทย์หลายแห่งในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะที่จีน ฮ่องกง และเวียดนาม

 

ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์จากทีมวิเคราะห์และวิจัยของแคสเปอร์สกี้ หรือทีม GReAT (Global Research and Analysis Team) กำลังเร่งตรวจสอบเพื่อเปิดโปงแคมเปญใหม่ที่คืบคลานเข้าโจมตีอุปกรณ์การแพทย์และสถานพยาบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่นๆ

 

นายวิทาลี คัมลัก หัวหน้าทีม GReAT ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้นำทีมนักวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า “สถานการณ์ฝุ่นกัมมันตรังสีหลังระเบิดนิวเคลียร์เชอร์โนบิลมีแง่มุมที่เหมือนกับภัยคุกคามไซเบอร์ ด้วยตาเปล่าไม่สามารถมองเห็นรังสีจากเหตุการณ์ที่ผ่านมานานนับทศวรรษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์จนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับภาคการแพทย์ที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยการแพร่ระบาดของภัยไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายต่อวงการแพทย์และมีความเป็นไปได้ที่จะกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ลักษณะของภัยคุกคามไซเบอร์นั้นยากที่จะมองเห็นก็จริง แต่คำถามสำคัญคือ เราได้พยายามมากพอหรือยังถึงจะเห็นว่าภัยคุกคามนั้นกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของเรา”

 

นายสเตฟานกล่าวเสริมว่า “วงการการแพทย์นั้นเป็นวงการที่สำคัญยิ่งยวดและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าขณะนี้วงการแพทย์จะยังไม่ได้ตกเป็นเป้าหมายใหญ่อย่างธนาคาร แต่ก็มีเอกสารสำคัญรวมถึงบันทึกงานวิจัยขั้นสูงที่อาจเป็นเป้าหมายการโจมตีของอาญชกรไซเบอร์ได้”

ควันหลง Wannacry แคสเปอร์สกี้ เผยจำนวนดีไวซ์การแพทย์ทั่วโลกถูกโจมตีลดลง แต่ APAC บางประเทศยังสูง

นานกว่าสองปีแล้วที่แรนซัมแวร์ Wannacry ชื่อกระฉ่อนได้โจมตีหน่วยงานการแพทย์และองค์กรอื่นๆ ทั่วโลก หน่วยงานทางการแพทย์ดูจะเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้และแก้ไขระมัดระวังมากขึ้นด้วยตัวเลขในปี 2019 ระบุว่าจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ที่ถูกโจมตีมีจำนวนลดลง

 

สถิติจากแคสเปอร์สกี้แสดงว่า อุปกรณ์โรงพยาบาล 30% ที่ถูกโจมตีในปี 2017 ลดลงเหลือ 28% ในปี 2018 และเหลือแค่ไม่ถึงหนึ่งในสามหรือ 19% ในปี 2019 นี้

 

อย่างไรก็ตาม แคสเปอร์สกี้ก็แจ้งเตือนว่า จำนวนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีลดลงนั้นเป็นตัวเลขโดยรวมทั่วโลก แต่บางประเทศยังมีตัวเลขการโจมตีที่สูง อุปกรณฺการแพทย์จำนวนมากกว่าเจ็ดในสิบเครื่องในประเทศเวเนซูเอล่า (77%) ฟิลิปปินส์ (76%) ลิเบีย (75%) และอาร์เจนติน่า (73%) ยังถูกโจมตีผ่านเว็บอยู่ อีกสองประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ติดโผ 15 ประเทศที่มีจำนวนการถูกโจมตีสูงสุดของโลก คือ บังกลาเทศ (58%) และไทย (44%)

 

ตัวเลขข้างต้นเป็นตัวเลขที่นักวิจัยตรวจพบผ่านโซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ในอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โมบาย แท็บเล็ต อุปกรณ์ไอโอที และเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

 

ยูริ นาเมสนิคอฟ หัวหน้าทีม GReAT หรือทีมวิเคราะห์และวิจัยของรัสเซีย บริษัท แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “แม้ว่าเราอยากจะเชื่อว่า ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายผ่านเหตุการณ์ Wannacry มาแล้ว แต่ความจริงคือยังมีอีกหลายประเทศที่ยังดำเนินการล่าช้าในการป้องกันภัยไซเบอร์ต่ออุปกรณ์การแพทย์ ปัจจัยหนึ่งที่เราสังเกตได้คือ โอกาสที่จะถูกโจมตีนั้นขึ้นอยู่กับงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ อีกปัจจัยคือความตระหนักถึงภัยไซเบอร์ในสถานพยาบาล”

 

แคสเปอร์สกี้ ขอแนะนำสถานพยาบาลดังนี้

  • ต้องมองว่าความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องสำคัญ
    • การโจมตีทางไซเบอร์ต่อสถานพยาบาลเป็นเรื่องที่ควรปฎิบัติอย่างมืออาชีพ เพราะมีความเสี่ยงต่อชีวิตได้
    • บุคลากรในสถานพยาบาลควรเข้าใจถึงภัยคุกคามไซเบอร์และดำเนินการป้องกันระบบงานต่างๆ
    • เซอร์วิสด้านข้อมูลภัยคุกคามและรายงานต่างๆ สามารถช่วยให้สถานพยาบาลเข้าใจและป้องกันการโจมตีไซเบอร์ที่อาจะเกิดขึ้นได้
  • ตรวจสอบความสามารถด้านความปลอดภัยของซัพพลายเออร์ที่ใช้
    • เครื่องมือทางการแพทย์มักมีราคาค่อนข้างสูงและรับประกันนานกว่าสิบปี ผู้ผลิตจึงควรพิจารณาการใช้งานฮาร์ดแวร์ที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันช่องโหว่ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
    • ผู้ขายควรพิจารณาการตั้งทีมรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น
  • ตรวจสอบการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์
    • โรงพยาบาลและสถานพยาบาลมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทุกวัน จึงควรตรวจสอบว่าบุคลากรใดได้สิทธิ์เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์และดาต้าบ้าง
    • โรงพยาบาลเป็นสถานที่สาธารณะ พนักงานเก่าที่มีปัญหากับโรงพยาบาลสามารถก่อความเสียหายได้ เช่น ลบข้อมูลต่างๆ ออกจากระบบ
  • การกำหนดกฏระเบียบความปลอดภัยไอทีเป็นเรื่องจำเป็น
    • เช่นเดียวกับหน่วยงานด้านการเงิน ภาคสาธารณสุขก็ควรมีการร่างกฎหมายกฏระเบียบต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ต่อสถานพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น
  • การอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์แก่พนักงานในโรงพยาบาล คลินิก และสถานพยาบาลอื่นๆ เป็นเรื่องจำเป็นมาก

 

Kaspersky เผยครี่งปีแรกตรวจจับฟิชชิ่งใน SEA ได้มากกว่า 14 ล้านครั้ง

พบพยายามโจมตีผู้ใช้ในไทย 1.5 ล้านครั้ง

โจรไซเบอร์ใช้วิธีเก่าแต่ยังเก๋า พร้อมแนะยูสเซอร์รุ่นใหม่ให้เพิ่มความระแวดระวัง

Kaspersky เผยสถิติล่าสุดพบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ในการแพร่กระจายไปยังเน็ตเวิร์กและดีไวซ์ต่างๆ ผ่านวิธีที่ง่ายที่สุดแต่ก็ยังเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ “ฟิชชิ่ง” Kaspersky สามารถตรวจจับความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งในภูมิภาคนี้ได้มากถึง 14 ล้านครั้ง ในระยะเวลาเพียงครึ่งปีที่ผ่านมาเท่านั้น

 

Kaspersky เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกพบความพยายามในการดึงผู้ใช้ตรงไปยังเว็บไซต์ฟิชชิ่งปริมาณสูงสุดที่ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มากกว่า 11 ล้านครั้งรวมกัน สำหรับประเทศไทยพบความพยายามโจมตีมากถึง 1.5 ล้านครั้ง ฟิลิปปินส์มากกว่า 1 ล้าน และสิงคโปร์เพียง 351,510 ครั้งเท่านั้น

 

เมื่อพิจารณาจำนวนของผู้ใช้ที่ถูกโจมตีด้วยฟิชชิ่ง พบว่า ฟิลิปปินส์มีจำนวนเหยื่อฟิชชิ่งมากที่สุด คือ 17.3% สูงกว่าปีที่แล้วที่มีจำนวนเหยื่อ 10.449% ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง 65.56% เลยทีเดียว

 

โดยมาเลเซียตามมาเป็นอันดับสองคือ 15.829% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 11.253%) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ 14.316% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.719%) ไทย 11.972% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 10.9%) เวียดนาม 11.703% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 9.481%) และสุดท้ายสิงคโปร์ 5% (ครึ่งปีแรก 2018 อยู่ที่ 4.142%)

 

ความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งแสดงถึงความถี่ที่อาชญากรไซเบอร์พยายามล่อหลอกให้ผู้ใช้ Kaspersky เข้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อขโมยข้อมูล ขณะที่จำนวนของผู้ใช้ที่ถูกโจมตีแสดงถึงสัดส่วนของผู้ใช้ Kaspersky ที่เป็นเป้าหมายของการพยายามโจมตีในช่วงเวลาหนึ่งๆ

 

นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป Kaspersky ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ภัยคุกคามที่เก่าแต่เก๋าตัวนี้มีอยู่จริงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ และไม่มีทีท่าจะหมดไปในเร็วๆ นี้ ภูมิภาคของเราประกอบด้วยประชากรรุ่นใหม่ที่มีความคล่องตัวสูง ที่เรายังจำเป็นต้องให้ความรู้เรื่องความเสี่ยงของฟิชชิ่งซึ่งเป็นการโจมตีไซเบอร์ทั่วไป ผู้ใช้รุ่นใหม่จะซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่และจะคำนึงเรื่องความปลอดภัยเฉพาะที่ตัวเครื่องไม่ใช่เวอร์ชวล ตราบใดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตลดการป้องกันลง ก็แน่นอนว่าจะมีเหยื่อฟิชชิ่งเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ อย่างแน่นอน”

 

ประสิทธิภาพของกลลวงฟิชชิ่งนั้นพิสูจน์ได้จากการที่อาชญากรไซเบอร์สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลมาขายต่อได้ง่ายๆ ในตลาดมืด พวกนักต้มตุ๋นมักมองหาข้อมูลอย่างหมายเลขบัตรเครดิต รวมถึงพาสเวิร์ดบัญชีธนาคารและแอปพลิเคชันการเงินต่างๆ

 

ทั้งๆ ที่หน่วยงานรัฐและภาคเอกชนต่างประกาศเตือนผู้ใช้อยู่เสมอไม่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต แต่จำนวนเหยื่อก็ยังเพิ่มสูงขึ้น และถึงแม้จะมีความตระหนักรู้จักกลโกงออนไลน์มากขึ้น แต่ผู้ใช้ก็ยังระแวดระวังลดลง

 

นายโย เซียง เทียง กล่าวเสริมว่า “นี่เป็นสัญญาณเตือนอันตรายว่าฟิชชิ่งยังคงมีประสิทธิภาพมากในการหลอกลวงผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาชญากรไซเบอร์ยังใช้วิธีส่งเมลแบบเดิมเป็นปีๆ แต่ก็ยังหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือคลิกลิ้งก์ปลอมได้ สถิติล่าสุดของเรายืนยันว่า เราจำเป็นต้องเร่งเปลี่ยนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคนี้ให้เป็นผู้ใช้ที่รู้เท่าทันและสามารถแยกแยะกลโกงต่างๆ ได้”

 

Kaspersky แนะนำขั้นตอนหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อฟิชชิ่งดังนี้

  • ระแวดระวังอีเมลน่าสงสัยอยู่เสมอ ถ้าอีเมลมีเนื้อหาที่ดีเกินกว่าจะเป็นเรื่องจริง ให้เช็คซ้ำๆ ถ้าเป็นอีเมลที่อ้างว่ามาจากธนาคาร ควรโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับธนาคารทันที โดยปกติแล้ว ธนาคารจะไม่สอบถามพาสเวิร์ดทางอีเมล แต่มักจะพูดคุยสอบถามข้อมูลหรือให้กรอกแบบฟอร์มที่ธนาคาร
  • หากใช้อีเมลฟรี ควรมีอีเมล 2 บัญชี บัญชีแรกสำหรับใช้งานหลักและอีกบัญชีสำหรับใช้งานเว็บไซต์ที่ต้องล็อกอินเพื่ออ่านข่าวหรือแจ้งข้อมูลต่างๆ
  • สมาร์ทโฟนทุกเครื่องไม่ได้ปลอดภัย จึงควรระวังข้อความที่จะพาไปยังเว็บไซต์ต่างๆ มีซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายมากมายที่สามารถดึงข้อมูลจากแอปในเครื่องได้
  • ใชโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ที่มีฟีเจอร์แอนตี้ฟิชชิ่งและปกป้องการใช้จ่ายออนไลน์ เช่น like Kaspersky Internet Security, Kaspersky Total Security, และ Kaspersky Security for Cloud
  • และวิธีป้องกันตัวจากฟิชชิ่งที่ดีที่สุดคือการพิจารณาอีเมลและข้อความที่ได้รับอย่างละเอียดรอบคอบ ในยุคดิจิทัลนี้ การระมัดระวังมากเกินไปไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

 

เกี่ยวกับ Kaspersky

 

Kaspersky เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตระดับโลกที่ก่อตั้งในปี 1997 ด้วยความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโซลูชั่นความปลอดภัยยุคใหม่ ที่ให้บริการในการป้องกันสำหรับธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลและลูกค้าทั่วโลก การให้บริการของบริษัทประกอบด้วย การป้องกันปลายทาง โซลูชั่นการป้องกันความปลอดภัยแบบพิเศษจำนวนมาก และบริการเพื่อป้องกันภัยคุกคามดิจิทัล ซึ่ง Kaspersky ได้ป้องกันความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้กว่า 400 ล้านคน และอีกกว่า 270,000 องค์กร ที่ป้องกันความปลอดภัยให้กับทุกส่วนที่สำคัญสำหรับลูกค้า ศึกษาข้อมูลเพี่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

ไอซีดีแอล จับมือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) อบรมพัฒนาทักษะดิจิทัลของวิศวกรไทยสู่มาตรฐานสากล

ICDL Thailand และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ลงนามในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านดิจิทัล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และระดับทักษะดิจิทัลขั้นสูง (Professional Skills) ให้กับวิศวกรไทยทุกสาขาอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ พร้อมทั้งวิศวกรไทยมีขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีโอกาสที่จะได้วุฒิบัตรรับรองความรู้และทักษะดิจิทัลระดับมาตรฐานสากล (ICDL – International Computer Driving License) รวมถึงการจัดตั้งศูนย์สอบด้านดิจิทัลของ วสท. ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลต่อไป