แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศแต่งตั้ง ‘เยีย เซียง เทียง’ ผจก.ทั่วไปคนใหม่ คุมอาเซียน

แคสเปอร์สกี้ แลป บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ประกาศแต่งตั้งนายเยีย เซียง เทียง (Yeo Siang Tiong) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ของแคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูแลครอบคลุมประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2018 เป็นต้นไป

 

นายเยียมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำธุรกิจของบริษัทในภูมิภาคนี้ มีหน้าที่รับผิดชอบการนำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทสำหรับตลาดเอ็นเทอร์ไพรซ์รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และเร่งการเติบโตของโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยสำหรับภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทในภูมิภาค นายเยียทำงานขึ้นตรงต่อนายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

นายเยียกล่าวว่า “ผมตื่นเต้นยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ แลป โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ความปลอดภัยไซเบอร์เป็นประเด็นสำคัญยิ่งสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผมเชื่อมั่นว่า แคสเปอร์สกี้ แลป มีความเชื่อและค่านิยมการทำงานที่ถูกต้องเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย”

 

นายเยียมีความเชี่ยวชาญด้านช่องทางการขายมายาวนานกว่า 20 ปี ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิก ตลอด 25 ปีในการทำงาน นายเยียรับผิดชอบงานผู้นำสำคัญๆ ด้านการขยายกลยุทธ์ การพัฒนาธุรกิจ การพัฒนาช่องทางการขาย การขายตรง และงานบริหารทางเทคนิคต่างๆ ที่ประเทศสิงคโปร์และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับแคสเปอร์สกี้ แลป นายเยียเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กและช่องทางการขาย ที่บริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบการสร้างแชนแนลอีโคซิสเต็มส์ และการขายในตลาดกลาง รวมถึงตลาดธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และเอ็นเทอร์ไพรซ์

 

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่สำคัญมากของเอเชียแปซิฟิก ในปี 2017 ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตมากถึง 12% เมื่อเทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่เติบโต 11% ในปีนี้เราตั้งเป้าสูงขึ้นและผมมั่นใจว่านายเยียจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีก”

 

นายเยียสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์

 

นายเยีย เซียง เทียง เข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป แทนที่นางสาวซิลเวีย อึง ที่ดูแลการเติบโตของบริษัทในส่วนธุรกิจ B2B และเอ็นเทอร์ไพรซ์เป็นอย่างดีมาตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมา

 

แคสเปอร์สกี้ แลป เผย โจรไซเบอร์ล่อผู้ใช้ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย เพื่อใช้เป็นแหล่งขุดเงินคริปโต

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้เปิดเผยกลโกงโดยการแพร่กระจายไมน์นิ่งซอฟต์แวร์และติดตั้งในเครื่องพีซีของผู้ใช้ผ่านซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายที่ใช้กันทั่วไปในการทำงานและเพื่อความบันเทิง เช่น ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพและข้อความ เป็นต้น เครื่องพีซีจะถูกใช้เป็นตัวสร้างเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี่ (cryptocurrency) เพื่อสร้างกำไรให้กับโจรไซเบอร์

 

ปัจจุบัน ตลาดเงินดิจิทัลได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนและมูลค่าการลงทุน โจรไซเบอร์ก็ได้จับตามองการเติบโตนี้อย่างใกล้ชิด ความตื่นตัวต่อเงินดิจิทัลทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเริ่มเล่นรวมถึงผู้ใช้ที่ขาดความรู้ความชำนาญด้านไอที จึงกลายเป็นเหยื่อกลโกงได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น เทรนด์นักขุดเงินดิจิทัล (cryptocurrency miner) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์สำคัญของปี 2017 จากข้อมูลในรายงาน Kaspersky Security Bulletin นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ทำนายเทรนด์นี้ไว้เมื่อปี 2016 ตอนที่พบการกลับมาของไมน์นิ่งซอฟต์แวร์ขณะที่เงินดิจิทัล Zcash กำลังเป็นที่นิยม หนึ่งปีหลังจากนั้น ก็พบไมเนอร์หรือนักขุดเงินเกิดขึ้นจำนวนมาก โจรไซเบอร์เองก็ใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ เช่น แคมเปญโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง และการแพร่กระจายซอฟต์แวร์ที่แคร็กไว้เพื่อเพิ่มจำนวนเครื่องพีซีติดเชื้อให้มากที่สุด

 

เร็วๆ นี้ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ค้นพบเว็บไซต์จำนวนหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกัน คือ เสนอช่องทางให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมาใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โจรไซเบอร์ได้เลือกใช้โดเมนเนมที่คล้ายกับเว็บไซต์ของจริง หลังจากที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์แล้ว ก็จะได้รับ archive ที่บรรจุโปรแกรมขุดมาด้วย

ตัว archive การติดตั้งจะประกอบด้วยไฟล์ข้อความที่มีข้อมูลการติดตั้ง คือแอดเดรสของวอลเล็ต (wallet) และไมนิ่งพูล (mining pool) ไมนิ่งพูลคือเซิร์ฟเวอร์ที่รวมผู้เข้าร่วม (participant) ทั้งหลายไว้ที่เดียวกันและแบ่งงานขุดในคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ผู้เข้าร่วมจะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินดิจิทัลซึ่งจะไวกว่าการขุดผ่านคอมพิวเตอร์ของตัวเองเพียงเครื่องเดียว การขุดเงินบิตคอยน์และเงินดิจิทัลอื่นๆ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและทรัพยากรมาก ดังนั้น การขุดผ่านพูลจึงเพิ่มผลผลิตและความรวดเร็วการในผลิตเงินดิจิทัล

 

หลังจากติดตั้งโปรแกรมแล้ว นักขุดเงินก็เริ่มงานผลิตเงินดิจิทัลให้โจรไซเบอร์ที่เครื่องของเหยื่ออย่างเงียบๆ จากรายงานของแคสเปอร์สกี้ แลป เคสที่พบทุกเคสใช้ซอฟต์แวร์โปรเจ็ก NiceHash ซึ่งเพิ่งถูกเจาะความปลอดภัยครั้งใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการโจรกรรมเงินดิจิทัลมูลค่าหลายล้านดอลล่าร์ เหยื่อบางรายก็เกี่ยวข้องกับไมนิ่งพูลเดียวกันด้วย

 

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังพบว่านักขุดบางรายมีฟีเจอร์พิเศษที่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนเลขวอลเล็ตหรือเปลี่ยนพูลได้จากระยะไกล ซึ่งหมายความว่า โจรไซเบอร์จะสามารถตั้งจุดหมายการขุดเงินดิจิทัลใหม่ได้ตามต้องการ และสามารถบริหารจัดการรายได้ด้วยการกระจายการขุดระหว่างวอลเล็ต หรือตั้งค่าให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อเป็นพูลอีกแห่งก็ยังได้

 

อเล็กซานเดอร์ โคเลสนิคอฟ นักวิเคราะห์มัลแวร์ของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ถึงจะไม่นับเป็นโปรแกรมมุ่งร้าย แต่ไมนิ่งซอฟต์แวร์ก็ลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แน่นอน รวมถึงค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักของการตกเป็นเหยื่อ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่น่าพิสมัย ผู้ใช้บางรายอาจจะรู้สึกดีที่เห็นคนอื่นรวยขึ้น แต่เราขอแนะนำให้ผู้ใช้ต่อต้านกลโกงนี้ เพราะถึงแม้จะไม่ได้เกิดจากมัลแวร์ แต่ก็นับเป็นการโกงอยู่ดี”

 

แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำวิธีป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ให้ตกอยู่ในเครือข่ายการขุดเงินดิจิทัล ดังนี้

  • ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
  • ติดตั้งโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย เช่น Kaspersky Internet Securityหรือ Kaspersky Free ที่จะช่วยปกป้องจากภัยคุกคามต่างๆ รวมถึงไมนิ่งซอฟต์แวร์ด้วย

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ข้อมูลโครงการนักขุดที่เพิ่งค้นพบ

https://securelist.com/nhash-petty-pranks-with-big-finances/83506/

  • ข้อมูลการพัฒนาเงินดิจิทัลในแง่ความปลอดภัยไซเบอร์

https://securelist.com/ksb-threat-predictions-for-cryptocurrencies-in-2018/83188/

https://www.brighttalk.com/webcast/15591/289993

แคสเปอร์สกี้ แลป เตือนภัยช่วงเทศกาล โจรไซเบอร์อาศัยช่องโหว่ DDoS และ POS ฉกเงินร้านค้า

จากรายงานของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง IT Security Economics Report พบว่า บริษัทมากกว่า 77% ได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา การโจมตีระบบ DDoS และ POS ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ยิ่งเสียหายหนักขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในช่วงสินค้าลดราคาสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่มีผู้คนออกมาเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกมากกว่าปกติ และยอดขายร้านที่สูงขึ้น ทำให้ตกเป็นเป้าล่อตาล่อใจของโจรไซเบอร์เลยทีเดียว

 

การค้นคว้าวิจัยแสดงผลว่าในปีที่ผ่านมามีการโจมตี DDoS และช่องโหว่ของระบบขายหน้าร้าน (POS system) ที่ระบาดหนักเพิ่มสูงถึง 16% ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นว่าโจรไซเบอร์วางแผนรอช่วงเทศกาลนี้โดยเฉพาะ

 

ในปี 2017 นี้ มีการรายงานการรุกล้ำระบบความปลอดภัยไซเบอร์ระดับสูงในระบบการจ่ายเงินของแบรนด์ใหญ่ๆ มากมาย ได้แก่ Chipotle, Hyatt Hotels และ Forever 21 และจากรายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง DDoS Intelligence Report ก็พบการโจมตี Botnet DDoS ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่ระบาดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งมีเป้าหมายการโจมตีประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวนมากถึง 98 ประเทศ (เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 มี 82 ประเทศ)

 

รูปการณ์นี้มีความเกี่ยวโยงกับร้านค้าปลีกและบริษัทอีคอมเมิร์ซอย่างมากในช่วงเทศกาลลดราคาสินค้าคริสต์มาสและปีใหม่ โดยร้านค้าจะมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นเพราะนักช้อปออกมาเลือกซื้อของมากนั่นเอง สิ่งที่โจรไซเบอร์ทำได้จากการโจมตี DDos อาจเป็นการเรียกค่าไถ่ การใช้ระบบขายหน้าร้านเพื่อเลือกเหยื่อโจมตี รวมถึงการขโมยเงินและข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าด้วย

 

อาเลซซิโอ เอซติ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “แคสเปอร์สกี้ แลป พบจำนวนการโจมตีลักษณะนี้เพิ่มขึ้นสูงมาก เราขอแนะนำให้ธุรกิจและร้านค้าปลีกตื่นตัวอยู่เสมอในช่วงเทศกาล เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่โจรไซเบอร์จะขโมยเงินผ่านการเอ็กพลอต์ในระบบจ่ายเงินหรือจากการโจมตีโดยใช้ DDoS นอกจากนี้อาจเรียกค่าไถ่หรือขัดขวางการซื้อขาย ทำให้บริษัทสูญเสียรายได้และเสียลูกค้าได้ นอกจากเหตุผลเพื่อป้องกันภัยที่กำลังระบาดนี้ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยไซเบอร์ก็เป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทต้องลงทุนอย่างสม่ำเสมอ”

 

ร้านค้าปลีกและบริษัทอีคอมเมิร์ซสามารถป้องกันตัวเองได้โดยใช้โซลูชั่นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้ในช่วงเทศกาล แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำร้านค้าปลีกเพิ่มเติมดังนี้

  • อัพเดทแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างสม่ำเสมอ เพราะในการอัพเดทแต่ละครั้งอาจมีแพทช์ที่สำคัญเพื่ออุดช่องโหว่ของระบบให้ปลอดภัยจากโจรไซเบอร์
  • เครื่อง POS ควรใช้งานซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นล่าสุด และไม่ใช้พาสเวิร์ดที่ตั้งค่ามาตั้งแต่เริ่มต้น
  • ใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ อย่างเช่น Kaspersky Embedded Systems Security เพื่อปกป้องเครื่อง POS จากมัลแวร์
  • เตรียมรับมือต่อการโจมตี DDoS โดยเลือกเซอร์วิสโพรไวเดอร์ที่น่าเชื่อถือ มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ การป้องกันทางไซเบอร์ไม่สามารถใช้แค่ทรัพยากรภายในองค์กรหรือบริการของอินเทอร์เน็ตโพรไวเดอร์ได้ทุกครั้ง
  • ให้ข้อมูลความรู้แก่ลูกค้าเรื่องภัยคุกคามไซเบอร์ที่อาจพบได้เมื่อช้อปปิ้งหน้าร้านและออนไลน์ รวมถึงแนะนำขั้นตอนการลดความเสี่ยงต่างๆ

 

ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  • รายงานของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง IT Security Economics Report

https://calculator.kaspersky.com/en/?utm_medium=pr_press

  • ข้อมูล Kaspersky DDoS Protection สำหรับธุรกิจ SMBs และเอ็นเทอร์ไพรซ์

https://retail.kaspersky.com/?utm_medium=pr_press

 

แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย เปิดตัว Kaspersky 2018 แล้ววันนี้! โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ตามบ้าน มาพร้อมการปกป้องแบบมัลติดีไวซ์

ในยุค Household 2.0คือยุคที่ในบ้านประกอบด้วยอุปกรณ์ต่ออินเทอร์เน็ตเฉลี่ยจำนวน 6.3 ชิ้น

มีผู้พักอาศัย 2.4 คน และสัตว์เลี้ยงอีก 0.3 ตัวต่อครอบครัว!!

แคสเปอร์สกี้ แลป จึงขอนำเสนอโซลูชั่นเรือธงชั้นนำล้ำยุคสู่ตลาดไทย เพื่อปกป้องผู้บริโภค

 

โลกยุคที่รูปแบบความทันสมัยในครัวเรือนนั้นกำลังเปลี่ยนโฉมไปอีกครั้ง สู่รูปแบบที่เรียกว่า “บ้านพักอาศัย 2.0” ประกอบตัวเลขเฉลี่ยของผู้พักอาศัย 2.4 คน[1] มีสัตว์เลี้ยง 0.3 ตัว[2] และมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย 6.3 ชิ้น[3] ต่อครอบครัว แถมอุปกรณ์เหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อในชีวิตประจำวัน แคสเปอร์สกี้ แลป ประเทศไทย ร่วมกับบริษัท ไอคอม เทค ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป อย่างเป็นทางการ จึงได้เปิดตัว Kaspersky Total Security 2018 และ Kaspersky Internet Security 2018 รวมถึงโซลูชั่นพื้นฐานอย่าง Kaspersky Anti-Virus 2018 ที่ได้รับการปรับยกสมรรถนะประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลอุปกรณ์ส่วนตัวในครัวเรือนเหล่านั้นได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 

จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2560 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่เกิดจากมัลแวร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้ถึง 2,947,918 เหตุการณ์ โดยรวมแล้ว มีผู้ใช้งานในประเทศไทยจำนวน 17.6% ที่ถูกโจมตีในช่วงเวลาดังกล่าว

คุณสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ตัวเลขสถิติของ KSN ข้างต้นนั้น ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นขณะท่องเว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ 33 ของโลก จากรูปแบบครัวเรือนในปัจจุบันนี้ พบว่ามีจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากกว่าสมาชิกครอบครัวและสัตว์เลี้ยงรวมกันเสียอีก และอุปกรณ์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในชีวิตประจำวันในบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้งานเพื่อรองรับทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อจับจ่ายซื้อของ หรือแชร์วิดีโอสมาชิกตัวน้อยในบ้าน การเชื่อมต่อเหล่านี้ย่อมพ่วงมากับความกังวลด้านความปลอดภัย แต่อัตราเสี่ยงในทุกวันนี้กลับเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ใช้ทั่วไปยังใช้อุปกรณ์โดยไม่มีการป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์กันเลย ไม่ว่าจะเป็นการเจาะระบบ มัลแวร์ การหลอกลวงการการเงิน และรูปแบบอื่นๆ”

 

คุณสเตฟาน กล่าวเสริมว่า ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security และ Kaspersky Internet Security รุ่นล่าสุด ได้รับการออกแบบให้ปกป้องการใช้งานภายในบ้านสมัยใหม่ ช่วยให้ผู้พักอาศัยสมาชิกในครัวเรือนมีศักยภาพที่จะดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และดูแลจังหวะการใช้ชีวิตดิจิทัลให้แก่ทุกคนในครอบครัว ให้เหมือนกับที่เราใส่ใจให้การดูแลสมาชิกและสัตว์เลี้ยงในบ้านของเรา

 


 

ยุคของบ้านพักอาศัย 2.0 คือยุคที่ทุกย่างก้าวคือชีวิตออนไลน์

ปัจจุบันพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในบ้านหนึ่งหลังมีอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นเชื่อมต่อออนไลน์ เกิดเป็นชั่วโมงออนไลน์จำนวนมาก และว่าผู้พักอาศัยในบ้านก็ใช้งานเว็บเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของโปรแกรมและเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย ในรายงานวิจัยประจำปีของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 63% ต่างกังวลใจกับอีเมลฟิชชิ่งและเว็บไซต์ปลอม และเพื่อตอบโจทย์ความกังวลนี้ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security มีเทคโนโลยีต่อต้านฟิชชิ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการตรวจจับและป้องกันผู้ใช้จากอีเมล์หลอกลวง และสแปมรวมถึงเว็บไซต์ปลอมและลวงข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงระบบ URL Advisor ในการดูแลการค้นหา URL ให้กับผู้ใช้เพื่อรู้ว่าเว็บไซต์ที่ค้นหานั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ มีพิรุธหรืออันตรายหรือว่าเป็นเว็บไซต์หลอกลวงหรืออาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับคอมพิวเตอร์อย่างไรหรือไม่ โดยจะแสดงให้เห็นได้ชัดในแต่ละลิ้งก์

 

บ้านคือสถานที่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลอันมีค่า

จากความหวาดกลัวเว็บไซต์ปลอมก่อให้เกิดความกังวลว่าการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจจะเป็นช่องทางให้สูญเสียข้อมูลที่อยู่ในบรรดาอุปกรณ์ 6.3 ชิ้นในบ้านหลังหนึ่งๆ ได้ โดยข้อมูลที่สุดหวงแหนแห่งยุคคือ รูปภาพ ซึ่งในความจริงแล้ว จากการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า การสูญเสียภาพถ่ายดิจิทัลของหลายๆ คนทำให้เกิดความเครียดมากกว่าการเลิกคบเพื่อนหรือความเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงด้วยซ้ำไป

 

จากการที่ข้อมูลกลายเป็นของรักของทุกคนไปแล้ว พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าครึ่ง (56%) ต่างกังวลว่าข้อมูลของพวกเขานั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะโดนเรียกค่าไถ่ ซึ่งความกังวลนี้เกิดมากขึ้นหลังจากการโจมตีครั้งล่าสุดของ WannaCry และเพื่อช่วยให้ผู้พักอาศัยตามบ้านสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านยุค 2.0 ได้อย่างสงบสุข Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ได้เพิ่มความสามารถในการตรวจจับและป้องกันโปรแกรมเรียกค่าไถ่ ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อต่อกรได้แม้กระทั่งแรนซัมแวร์ที่ซับซ้อนมากที่สุด

 

ทุกครอบครัวต้องการเก็บความลับไว้กับตัวเอง แต่ในยุค “บ้านพักอาศัย 2.0” นั้น ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มักถูกคุกคามทางออนไลน์ ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะกังวลว่าข้อมูลอาจจะตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลบางส่วนที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน มีผู้ใช้ถึง 44% ไม่ต้องการให้คนอื่นเห็น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้จะมั่นคงปลอดภัยอยู่กับตัวเอง ด้วยความสามารถใหม่ในการล็อกการทำงานแอพพลิเคชั่นบนมือถือระบบแอนดรอยด์ จึงมีการเพิ่มระดับชั้นของการปกป้องด้วยรหัสลับให้กับผู้ใช้ได้กำหนดในแต่ละแอพพลิเคชั่น เช่น บริการรับส่งข้อความ เครือข่ายสังคม อีเมล หรือข้อมูลลับอื่นๆ ไม่ให้บุคคลอื่นเรียกใช้เข้าถึงได้ โดยที่ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติ Kaspersky Secure Connection service ที่มีอยู่ทั้งใน Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ที่จะช่วยในการเข้ารหัสข้อมูลที่รับและส่งบนเครือข่ายไร้สายที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยหรือบนเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงอีกชั้นหนึ่งด้วย

 

การใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็กๆ คือหัวใจที่ต้องดูแลป้องกันภายในครัวเรือน

แม้ว่าจะมีความกังวลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ “บ้านพักอาศัย 2.0” ยังนำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อสมาชิกในครอบครัวที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยผู้ใช้ 60% กังวลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน ว่าอาจเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ แคสเปอร์สกี้ แลป นำเอาระบบควบคุมการใช้งานโดยผู้ปกครอง (parental controls) ของแคสเปอร์สกี้ แลป มาบรรจุไว้ใน Kaspersky Total Security ล่าสุดนี้ด้วย ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตั้งช่วงเวลาใช้งานสำหรับอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่มีอยู่ในบ้าน รวมถึงกำหนดแอพพลิเคชั่นให้เด็กๆ ได้ใช้งาน รวมถึงป้องกันการเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ภาษาลามกอนาจาร หรือข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและอื่นๆ ทั้งหมดรวมอยู่แล้วในคุณสมบัติของบริการ Kaspersky Safe Kids

 

คุณเอเลน่า คาร์เชงโก้ หัวหน้าฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “อุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเราและครอบครัว ขยายขอบเขตการใช้งานทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ การสื่อสาร และได้เปิดช่องทางให้เกิดธุรกรรมได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ แถมยังช่วยให้ทุกคนดำเนินชีวิตได้ต่อเนื่อง และไม่น่าแปลกใจเลยว่าในยุคบ้านพักอาศัย 2.0 จะมีอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่าคนและสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในบ้านเสียอีก”

 

“แต่สิ่งที่เราพบจากการสำรวจนั้นชี้ว่า การเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาของเรานำมาซึ่งความกังวลโดยธรรมชาติในเรื่องความปลอดภัยออนไลน์ จากความกลัวที่จะตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง รวมถึงความกังวลในเรื่องการใช้งานออนไลน์ของเด็กๆ ที่อยู่ในบ้าน ซึ่งความกังวลเหล่านี้ได้ถูกตอบโจทย์ทั้งหมดอยู่แล้วในผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดของ Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Total Security ซึ่งถือว่าเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่นำเสนอแนวทางที่ฉลาดที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลการใช้งานของทั้งครอบครัวในโลกของดิจิทัลโดยที่ไม่ขัดขวางการเปิดประสบการณ์บนโลกออนไลน์”

 

คุณสเตฟาน กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากที่สุดตลาดหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ แลป ติดอันดับหนึ่งในสามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและทรัพยากรบุคคลที่มีการศึกษา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจึงเป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้งานออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ขณะที่จำนวนผู้ใช้เพิ่มสูงขึ้น แต่ความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์กลับไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย”

 

ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security 2018, Kaspersky Internet Security 2018 และ Kaspersky Anti-Virus 2018 มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ทั่วประเทศ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าไอทีชั้นนำในราคาต่อไปนี้:-

  • Kaspersky Total Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 990 บาท
  • Kaspersky Total Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 890 บาท
  • Kaspersky Internet Security 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,780 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (1 ดีไวซ์ 1 ปี): 690 บาท
  • Kaspersky Anti-Virus 2018 (3 ดีไวซ์ 1 ปี): 1,380 บาท

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้การบริการด้านเทคนิค สามารถติดต่อศูนย์การบริการแคสเปอร์สกี้ไทย (iCom Tech Co. Ltd.) ได้ที่ 02-203-7500 หรือที่เว็บไซต์ www.thaikaspersky.com

###

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

ติดต่อข้อมูลประชาสัมพันธ์

ซานจีฟ แนร์

ฝ่ายการสื่อสารองค์กร แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

sanjeev.nair@kaspersky.com

Tel: +60 3 7962 5914

บูรณี จันทรปรรณิก, ณิชานันท์ ตู้จินดา

พิตอน คอมมิวนิเคชั่น

buranii@PITONbiz.com , nichanan@PITONbiz.com

Tel: 099-419-6324, 0-2954-2602-4

แคสเปอร์สกี้ แลป ชวนคนไทยประกวด Goondus Awards กระตุ้นความปลอดภัยในโลกอินเทอร์เน็ต

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดตัวแคมเปญชื่อ “กูนดูส์ อวอร์ดส์” (Goondus Awards) สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ความรู้และกระจายความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต โดย “กูนดูส์ อวอร์ดส์” เปิดเชิญชวนให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่งเรื่องราวข้อผิดพลาดและการประพฤติตัวแบบผิดๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงหรือทรัพย์สินเงินทอง โดยจะไม่เปิดเผยชื่อจริงเมื่อแบ่งปันประสบการณ์แก่สาธารณชน

 

ซิลเวีย อึง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราต้องการให้ความรู้แก่ผู้ใช้เรื่องพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหาย บางเรื่องอาจฟังแล้วตลกขบขัน ฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริง และในหลายๆ เคสก็สร้างความเสียหายได้มาก เราหวังว่าการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อจะช่วยกระตุ้นเตือนและสร้างแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต”

“กูนดูส์ อวอร์ดส์” จะเผยแพร่เรื่องราวหลากหลายแง่มุมที่มีผู้ใช้พบเจอมาแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นความตระหนักรู้เรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ระหว่างเพื่อนสองคนที่ใช้บัตรเติมเงิน iTune ที่ตกเป็นเหยื่อกลโกงโจรขโมยตัวตนหลอกให้เพื่อนเติมเงินให้โดยที่เจ้าของบัตรตัวจริงไม่เคยขอให้ทำ ซึ่งเหตุการณ์นี้ จะช่วยทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ได้รู้ว่า โจรขโมยตัวตนไม่ใช่เรื่องไกลตัว และอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินทองอีกด้วย

 

ผู้สนใจสามารถส่งเรื่องเข้าประกวดได้ที่เว็บไซต์ http://goondusawards.com เพียงกรอกข้อมูลชื่อ อีเมลแอดเดรส หมายเลขโทรศัพท์ ประเภทของเรื่อง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดของเหตุการณ์

หลักเกณฑ์การส่งเรื่องเข้าประกวดคือ ต้องเป็นเหตุการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจริงและทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเป็น 1) iPad 3 Mini 2) Samsung Tablet 3) Jays earphones พร้อมด้วยรางวัลพิเศษในแต่ละเดือนเป็นกระเช้าของพรีเมี่ยมจากแคสเปอร์สกี้ แลป

 

นอกจากการแบ่งปันเรื่องราวโดยไม่ระบุชื่อผู้ใช้แล้ว ในเว็บไซต์ยังมีข้อมูลเกร็ดความรู้เรื่องกลโกงประเภทต่างๆ เพื่อแนะนำผู้ใช้ว่าควรป้องกันตัวเองจากเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไรอีกด้วย

 

จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่า ผู้ใช้ทุกช่วงวัยประสบภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2558 ในส่วนของปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าผู้ใช้พบปัญหาอีเมลสแปมหรืออีเมลขยะ 13% (10.8% ในปี 2558) ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร 12.1% (8.4%) ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ 8.9% (8.8%) ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว 3.2% (2.0%) และถูกหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ต 1.5% (1.2%) และแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล นั่นคือ ความล่าช้าในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (70.3%) และโฆษณาที่มารบกวน (50.7%) แต่สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ผู้ใช้ถูกรบกวนด้วยสื่อลามกอนาจาร1

 

###

 

1รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2016-th.html

 

###

 

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งได้เฉลิมฉลองการก่อตั้งครบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2560 นี้ ความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com